คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 ม. 5

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตก่อสร้างภายหลังกฎกระทรวงหมดอายุ: เจ้าของที่ดินมีสิทธิหากไม่มีกฎหมายห้าม
โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารภายหลังจากที่กฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่บริเวณที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเป็นเขตพื้นที่สีเขียวอ่อนสิ้นผลบังคับใช้ไปแล้ว จึงไม่มีกฎหมายใด ๆ กำหนดว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในเขตพื้นที่สีเขียวอ่อนซึ่งห้ามเจ้าของที่ดินก่อสร้างอาคาร ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขออนุญาตโดยถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารบนที่ดินของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินไม่เป็นโมฆะ แม้พื้นที่อยู่ในสีเขียว และไม่มีลักษณะเป็นนิติกรรมอำพราง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ก่อสร้างโรงงานและที่พักอาศัย เมื่อกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 116 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. การผังเมืองฯ ไม่ได้กำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างโรงงานเด็ดขาด ทั้งจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อกระทรวงอุตสาหกรรมจนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพราง ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้