พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2947/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากรกลางในการฟ้องเรียกทรัพย์สินจากผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ภาษี และการแก้ไขจำนวนเงินเพิ่ม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1และได้รับเงินอันเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนหลังจากจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกบริษัทแต่จำเลยที่ 1 ชำระภาษีไม่ถูกต้อง โจทก์จึงขอใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ในนามของตนเองแทนจำเลยที่ 1 เพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 แม้ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจะเป็นคดีแพ่ง แต่มิใช่คดีแพ่งที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต่อศาลภาษีอากรกลาง ประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสาม ให้คำนวณเงินเพิ่มได้แต่มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการรับผิดของผู้ชำระบัญชีต่อหนี้ภาษี
โจทก์แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1ทราบว่าจะต้องเสียภาษีจำนวนเท่าใด ถือว่ามีจำนวนหนี้ภาษีที่โต้แย้งกันแล้วเมื่อไม่ชำระโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลสิ้นสุดลงเสียก่อน ส่วนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2-8 ร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 2 นำไปแบ่งให้จำเลยที่ 2-8 ในฐานะผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 หาใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2649/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรหลังแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ และขอบเขตอำนาจศาลภาษีอากรในการพิจารณาความรับผิดของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น
เมื่อกรมสรรพากรซึ่งเป็นโจทก์ ได้แจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าจะต้องเสียภาษีเท่าใด ถือว่ามีจำนวนหนี้ภาษีที่โต้แย้งกันแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยให้ชำระภาษีจำนวนดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องรอให้กำหนดระยะเวลา 30 วัน ที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลสิ้นสุดลงเสียก่อน การฟ้องให้จำเลยที่ 2-8 ร่วมกันรับผิดในเงินที่จำเลยที่ 2ในฐานะผู้ชำระบัญชีและผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่นำเงินของจำเลยที่ 1 ไปจ่ายคืนค่าหุ้นให้แก่จำเลยที่ 2-8 หาใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษา ตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6467/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 2-10 ไม่เป็นคดีภาษีอากรโดยตรง
การที่กรมสรรพากร โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2-10 ที่ยังชำระค่าหุ้นไม่ครบจำนวนมูลค่าหุ้นให้ร่วมรับผิดชำระค่าภาษีที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่แก่โจทก์นั้นมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2-10 ต่อศาลภาษีอากรกลาง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีภาษีอากรอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ไม่ใช่ศาลแพ่ง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าฝ่ายจำเลยแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจำเลยตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยจำเลยเห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย โจทก์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนนั้น ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(2) ประกอบด้วยมาตรา 3 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาล คดีโจทก์มิใช่เป็นคดีแพ่งลักษณะละเมิดศาลแพ่งจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีโจทก์ ตามมาตรา 10วรรคแรก การที่ศาลแพ่งสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะสิทธิของโจทก์ถูกกำจัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาลจึงเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษานายเดียวย่อมมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 21(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัท ไม่ใช่คดีภาษี
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทจำเลยที่ 1 จะมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่มีต่อจำเลยที่ 2แต่ประการใด การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์โดยตรงคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของเจ้าหนี้ภาษีอากรกับกรรมการ
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทจำเลยที่ 1 จะมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่มีต่อจำเลยที่ 2 แต่ประการใด การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์โดยตรง คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่ทำให้บริษัทเสียหาย ไม่ใช่คดีภาษี
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทน มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 7(2).