คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 7 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรและสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษี – การใช้สิทธิเรียกร้องแทนลูกหนี้เพื่อชำระหนี้ค่าหุ้น
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรกลางหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ประกอบกับคู่ความไม่ได้โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องเขตอำนาจศาล ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษายกฟ้องมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานของโจทก์มีหนังสือไปยังกรรมการจำเลยที่ 1 เพื่อให้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 235 โจทก์ชอบจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 ได้ แต่การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 อันมีต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งยังส่งใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนพร้อมดอกเบี้ย แม้โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ในนามของตนเองตามมาตรา 233 ก็เป็นการใช้สิทธิแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ครบพร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลภาษีอากรกลาง: ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาอำนาจศาล การฟ้องเรียกค่าหุ้นค้างชำระเกี่ยวข้องภาษี
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าคดีในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไม่ ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 และพิพากษายกฟ้องจำเลยดังกล่าวมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคดีนี้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีประเด็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องเขตอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6817/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรที่ยุติและการไม่มีสิทธิคัดค้านเมื่อผู้นำเข้าไม่ยื่นอุทธรณ์
ตามมาตรา 112 ฉ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17)ฯ ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจประเมิน การประเมินนั้นก็เป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นการประเมินผิดพิกัดและอัตราอากร จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง แม้คดีนี้จะมิใช่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินนี้เป็นที่ยุติดังวินิจฉัยมาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3202/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การอุทธรณ์การประเมินภาษีไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย
การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีอากรตามที่ได้รับแจ้งการประเมิน หาเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะทำให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องในระหว่างที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองอันเป็นการที่จำเลยทั้งสองใช้สิทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางหนี้สินบริษัท หากไม่มีทรัพย์สินเพียงพอต้องขอศาลสั่งล้มละลาย ไม่ต้องรับผิดหนี้ส่วนตัว
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ มาตรา 1266 ที่จะต้องชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จสิ้นไปกับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัท ถ้าเห็นว่าเมื่อเงินค่าหุ้นได้ใช้เสร็จหมดแล้ว สินทรัพย์ยังไม่พอกับหนี้สิน ผู้ชำระบัญชีต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ออกคำสั่งว่าบริษัทล้มละลายทันที นอกจากนี้ ป.รัษฎากร มาตรา 72 ยังบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการบริษัทมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบการเลิกบริษัท อีกทั้งมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีตามแบบ แม้ไม่ปรากฏว่าผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลสั่งว่า บริษัทล้มละลาย แต่ความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวเป็นการยื่น รายการของบริษัทและนำเงินของบริษัทไปชำระค่าภาษี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากสิทธิเรียกร้องในเงินที่บริษัทฝากไว้แก่ธนาคารซึ่งโจทก์ได้อายัดและนำมาชำระค่าภาษีบางส่วนแล้ว บริษัทไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกและไม่มีการ แบ่งปันทรัพย์สินของบริษัท คืนแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ชำระบัญชีจึงหาต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีของบริษัทเป็นส่วนตัวไม่
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) เป็นการกำหนดว่า ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่ หาใช่บทบัญญัติว่า ผู้ใดจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากหนี้ภาษีอากรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: เจ้าหนี้ต้องแจ้งการประเมินให้ผู้รับผิดเสียภาษีทราบก่อน
กรมสรรพากรยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าว กรณีจึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินซึ่งจะต้องอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 30 แห่ง ป. รัษฎากร เสียก่อน ดังนั้น แม้ว่าบริษัท ร. ซึ่งโจทก์เป็นตัวแทนจะไม่ได้อุทธรณ์การประเมินรายนี้โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง และเป็นกรณีซึ่งจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าโจทก์จะต้องรับผิดในหนี้ภาษีอากรค้างรายนี้หรือไม่ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์คดีนี้ต่อศาลภาษีอากรกลาง
แม้ข้อเท็จจริงในคดีจะฟังได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการของบริษัท ร. ในประเทศไทย ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานประเมินยังมิได้เรียกโจทก์มาไต่สวนและแจ้งการประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังโจทก์ผู้ซึ่งต้องรับผิดเสียภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 , 20 คงประเมินภาษีอากรรายนี้ไปยังผู้จัดการบริษัท ร. เท่านั้น ทำให้โจทก์ไม่มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 76 ทวิ วรรคสาม แห่ง ป. รัษฎากร เมื่อยังมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ครบถ้วน จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจยึดทรัพย์สินของโจทก์ตามมาตรา 12 แห่ง ป. รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมจากหนี้ภาษีค้างชำระ: คดีพิพาทสิทธิเรียกร้องของรัฐ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมาเป็นมรดกของ น.ผู้ค้างชำระภาษีอากรแก่โจทก์ตามเดิม เนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของ น.ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งที่รู้อยู่ว่า น.เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ในคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่า น.เจ้ามรดกค้างชำระหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ หากว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรจริง ศาลจะต้องพิจารณาในประเด็นข้ออื่น ๆ ต่อไป หากไม่ได้ความเช่นนั้นศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญของคดี ถือได้ว่าเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 7(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่เป็นคดีภาษีอากรโดยตรง
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดสงขลา ได้มีการจัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่ง ซึ่งมีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง แต่คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. ที่ค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวศาลจังหวัดสงขลารับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่คดีภาษีโดยตรง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง ได้จัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่งซึ่งเปิดทำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 มีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งต่อมาเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2529 ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดตราจองกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. เจ้ามรดกที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีภาษีอากรที่ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณา เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับแบบคำขอรับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือที่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 และหรือให้จำเลยไม่มีสิทธินำยอดลูกค้าเช่าซื้อคงเหลือดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรว่าจำเลยได้นำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ และการที่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบคำขอดังกล่าวภายในกำหนดเวลาก็มิได้เกิดจากคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงาน แต่เป็นเพราะเชื่อตามคำแนะนำชี้แจงของเจ้าพนักงาน และโจทก์ไม่ได้ยืนยันที่จะยื่นในขณะที่ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่จะยื่นได้ เจ้าพนักงานตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรจึงยังมิได้มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1) คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากรกลาง
of 2