พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า และการจำหน่ายสินค้าปลอม โดยศาลฎีกาได้พิจารณาแก้ไขโทษและยกฟ้องบางข้อหา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2542 ซึ่งมาตรา 3 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2496 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 และฉบับที่ 5พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 หลังวันที่พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ใช้บังคับแล้ว 1 ปีเศษ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีเก็บไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไม่น่ากลัวอันตราย มีปริมาณเกินกว่า 10,000 ลิตร ไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474ซึ่งถูกยกเลิกไปก่อนแล้ว โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลัง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ยังมีผลใช้บังคับอยู่นั้นยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ส่วนการกระทำของจำเลยนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังและยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดและขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ซึ่งถูกยกเลิกไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยระหว่างวันเวลาดังกล่าวเป็นความผิดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ต้องยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้ามีเครื่องหมายการค้า การละเมิดสิทธิ และการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า
โจทก์ที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิตสินค้าปัตตะเลี่ยนโดยใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย คำว่า "WAHL" โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าปัตตะเลี่ยน ทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไปใช้โดยมิชอบ วัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าก็เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของผู้อื่นและเพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตนการที่มีผู้ซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบการค้า เมื่อผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่ายอีกต่อไป โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อจากตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาจำหน่ายในประเทศไทยได้
แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจำเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL"ของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
แม้กล่องบรรจุสินค้าปัตตะเลี่ยนซึ่งมีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" จะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันห่อหุ้มกล่องและมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของจำเลยว่าเป็นศูนย์บริการ ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่แสดงว่าสินค้าปัตตะเลี่ยนในกล่องหรือหีบห่อนั้นเป็นสินค้าของโจทก์ที่ 1 จำเลยเพียงแต่เป็นผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนให้เท่านั้น มิใช่แสดงว่าจำเลยเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL"ของโจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WAHL" ของโจทก์ที่ 1 จากประเทศสหรัฐอเมริกามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ตั้งให้โจทก์ที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้นำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากโจทก์ที่ 1 มาจำหน่ายในประเทศไทยผู้หนึ่งเท่านั้น จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยนำเข้าซึ่งสินค้าปัตตะเลี่ยนที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาเจตนาและสุจริตในการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์ได้ติดรูปเครื่องหมายการค้าที่อ้างว่าจำเลยใช้กับกางเกงยีนของกลางอันเป็นเครื่องหมายการค้าซึ่งเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมเข้ามาด้วยถึงแม้รูปเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ติดมาในฟ้องจะไม่ชัดเจนในรายละเอียด แต่ก็ยังเห็นได้ถึงลักษณะโครงสร้างที่เป็นสาระสำคัญได้ ซึ่งในชั้นพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมสามารถนำสืบโดยเสนอเครื่องหมายการค้าที่อ้างว่าจำเลยใช้กับกางเกงยีนซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบตามฟ้องได้ว่าคือเครื่องหมายการค้าตามภาพถ่ายกางเกงยีนของกลางเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าแบบเดียวกับเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.3 กรณีจึงไม่ใช่เรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวมาในฟ้อง
เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับกางเกงยีนของกลาง แม้ว่าพิจารณาโดยรวมแล้วมีส่วนที่แตกต่างจากอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมสาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขาน คำว่า CANTONAส่วนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้ติดกางเกงยีนก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA และออกเสียงเรียกขานว่า คันโตนา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม นอกจากนี้แถบผ้าแสดงขนาดของกางเกงยีนของจำเลยก็ปักอักษรโรมันคำว่า CANTONA แสดงว่าตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนเช่นกัน มิใช่เป็นเพียงส่วนประกอบ ทั้งตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONAเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยมีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญแล้วแม้ตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ซึ่งต่างจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ธรรมดาก็ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าประเภทกางเกงของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้ จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดตามมาตรา 110(1)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CANTONA มาตั้งแต่ปี 2538 โจทก์ร่วมจึงได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และมีสิทธิที่จะห้ามผู้ใดปลอม หรือเลียนเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 53 ซึ่งการที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการขอให้เพิกถอนหรือนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 63 แต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับโจทก์ร่วมได้ผลิตกางเกงยีนใช้ชื่อในการประกอบการว่า กิจเจริญ มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี แล้ว โดยโจทก์และโจทก์ร่วมได้อ้างส่งกางเกงยีนที่โจทก์ร่วมผลิตและใช้เครื่องหมายการค้า CANTONA เป็นวัตถุพยาน พฤติการณ์จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อประกอบกิจการของโจทก์ร่วมโดยสุจริต
เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับกางเกงยีนของกลาง แม้ว่าพิจารณาโดยรวมแล้วมีส่วนที่แตกต่างจากอันเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมสาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขาน คำว่า CANTONAส่วนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้ติดกางเกงยีนก็มีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA และออกเสียงเรียกขานว่า คันโตนา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม นอกจากนี้แถบผ้าแสดงขนาดของกางเกงยีนของจำเลยก็ปักอักษรโรมันคำว่า CANTONA แสดงว่าตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนเช่นกัน มิใช่เป็นเพียงส่วนประกอบ ทั้งตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONAเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายธรรมดาทั่ว ๆ ไป เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยมีตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญแล้วแม้ตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ซึ่งต่างจากตัวอักษรโรมันในเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของจำเลยซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ธรรมดาก็ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม
เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าประเภทกางเกงของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้ จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดตามมาตรา 110(1)
โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า CANTONA มาตั้งแต่ปี 2538 โจทก์ร่วมจึงได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และมีสิทธิที่จะห้ามผู้ใดปลอม หรือเลียนเครื่องหมายการค้า ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 53 ซึ่งการที่โจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก็ไม่ปรากฏว่าได้มีการขอให้เพิกถอนหรือนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตามมาตรา 63 แต่อย่างใด การที่โจทก์ร่วมขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงถือว่าเป็นการกระทำโดยสุจริตตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับโจทก์ร่วมได้ผลิตกางเกงยีนใช้ชื่อในการประกอบการว่า กิจเจริญ มาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี แล้ว โดยโจทก์และโจทก์ร่วมได้อ้างส่งกางเกงยีนที่โจทก์ร่วมผลิตและใช้เครื่องหมายการค้า CANTONA เป็นวัตถุพยาน พฤติการณ์จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อประกอบกิจการของโจทก์ร่วมโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6648/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้มีสิทธิใช้เครื่องหมายเดิม แต่เจตนาทำให้หลงเชื่อถือเป็นเครื่องหมายผู้เสียหาย ถือเป็นความผิด
แม้จำเลยที่ 2 จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องจักร กับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นรูปรวงข้าวอยู่ในวงกลมและมีภาษาไทยคำว่า "ตรารวงข้าว" อยู่ใต้รูปสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และยังคงจดทะเบียนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าข้างต้นต่อไปตามมาตรา 117 ก็ตาม แต่การที่จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ารูปรวงข้าวในวงกลมและคำว่า "InterNationalGroup" กับสินค้าจำพวกเครื่องไฟฟ้าโดยไม่มีคำว่า "ตรารวงข้าว" กำกับ ทั้งยังเน้นคำว่า "National" ซึ่งไม่ใช่เครื่องหมายการค้าของตนให้ใหญ่เป็นพิเศษยิ่งกว่าคำอื่น ย่อมแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหาย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองยังคงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตรารวงข้าวที่จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนไว้ตามกฎหมายเดิมต่อไปหรือไม่จึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมแต่อย่างใด เพราะข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเป็นคนละเรื่องกับการจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "National" ของผู้เสียหาย ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จำเลยคงมีความผิดตามฟ้อง