พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีความผิดต่อความมั่นคงฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่มาตรา 217 ถึงมาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้(อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติฯ แล้วเช่นนี้ หาใช่ว่าความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้(อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติฯ แล้วเช่นนี้ หาใช่ว่าความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษาพิพากษากลับศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีความผิดต่อประชาชนตามประกาศคณะปฏิวัติฯ อยู่ในอำนาจศาลทหาร แม้ศาลพลเรือนรับฟ้องแล้ว
ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่ มาตรา 217 ถึง มาตรา 239 นั้นมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 ซึ่งใช้บังคับระหว่างเกิดเหตุให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา ดังนั้น ที่ศาลจังหวัดปราจีนบุรีรับฟ้องคดีซึ่งมีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นบทหนักไว้ดำเนินการตลอดมาถึงชั้นศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบที่จะกระทำได้เกี่ยวกับอำนาจศาล
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติ ฯ แล้ว เช่นนี้หาใช่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา พิพากษากลับ ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์
ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มีความหมายเพียงว่า เมื่อศาลพลเรือนสั่งรับฟ้องไว้ความยังไม่ปรากฏโดยแจ้งชัดว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ เช่น ยังไม่แน่ว่าจำเลยเป็นทหารประจำการหรือไม่ ต่อเมื่อได้รับฟ้องแล้วความจึงปรากฏว่าจำเลยเป็นทหารประจำการดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ (อ้างนัยฎีกาที่ 463/2504) แต่เมื่อคดีปรากฏตั้งแต่แรกตามฟ้องว่า ความผิดที่กล่าวหาเป็นความผิดที่ต้องขึ้นอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติ ฯ แล้ว เช่นนี้หาใช่ความเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังว่า เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ (อ้างฎีกาที่ 1352/2506) ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาพิพากษา พิพากษากลับ ศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: โจทก์ฟ้องลักทรัพย์ แม้มีหลักฐานเป็นวิ่งราวทรัพย์ ศาลพลเรือนยังคงมีอำนาจพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลพลเรือนขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ตามมาตรา 334 นั้น แม้ทางพิจารณาโจทก์จะนำสืบข้อเท็จจริงเข้าลักษณะความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามมาตรา 336 ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารจะพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติก็ดี ก็เป็นบทนอกฟ้องนอกความประสงค์ของโจทก์ ศาลพลเรือนย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไปได้ เพราะไม่มีกฎหมายหรือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับใดห้ามการสละสิทธิที่จะฟ้องในข้อหาอันมีโทษหนักแล้วมาฟ้องในข้อหาอันมีโทษเบาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีอยู่ในอำนาจศาลทหารตั้งแต่แรก ศาลพลเรือนไม่มีอำนาจรับฟ้อง
การฟ้องคดีอาญานั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 157 บัญญัติให้ยื่นต่อศาลใดศาลหนึ่งที่มีอำนาจตามกฎหมายเมื่อคดีปรากฎว่าอยู่ในอำนาจศาลทหารตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16 พ.ศ.2504 แล้ว ศาลพลเรือนก็ไม่มีอำนาจรับประทับฟ้องและดำเนินคดีนั้น
ข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรค 2 นั้น ต้องปรากฎตามทางพิจารณาในภายหลังไม่ใช่ปรากฎว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารตั้งแต่ประทับฟ้องแล้ว
ข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรค 2 นั้น ต้องปรากฎตามทางพิจารณาในภายหลังไม่ใช่ปรากฎว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารตั้งแต่ประทับฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการโดยเจ้าพนักงาน: การกระทำที่เป็นการสร้างเอกสารใหม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นเอกสารเดิม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนายกเทศมนตรีออกหนังสืออนุญาตให้บุคคลหนึ่งปลูกสร้างอาคารประชิดที่ดินข้างเคียงได้แล้วต่อมาจำเลยขอหนังสือนั้นคืน และปลอมเอกสารราชการโดยอาศัยโอกาสที่จำเลยมีหน้าที่ขึ้นทั้งฉบับ เป็นไม่อนุญาตให้สร้างอาคารนำเข้าเก็บในเรื่องแทนสำเนาหนังสืออนุญาตตัวจริง ดังนี้ เป็นฟ้องที่แสดงอยู่ว่าจำเลยได้กระทำเอกสารขึ้นฉบับหนึ่งโดยมุ่งหมายให้เข้าใจว่าเป็นเอกสารอีกฉบับหนึ่งอันเป็นการปลอมเอกสาร อาจมีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ฟ้องหลายกระทง ศาลพิจารณาเฉพาะกระทงที่อยู่ในอำนาจตนได้ แม้ฟ้องรวมกระทงที่ต้องส่งไปศาลทหาร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 และ 285 แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์มีข้อเท็จจริงไม่เข้าลักษณะความผิดตาม มาตรา 285 ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารเลย แต่เข้าลักษณะการกระทำผิดตามมาตรา 276 ถึงแม้โจทก์จะอ้างมาตรา 285 มาด้วย ก็ไม่เป็นเหตุทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องขึ้นศาลทหาร และศาลชั้นต้นก็ไต่สวนประทับฟ้องเฉพาะในข้อกล่าวหาตาม มาตรา 276 ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาได้โดยไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: ฟ้องผิดฐาน, ศาลสั่งรับเฉพาะข้อกล่าวหาที่อยู่ในอำนาจ และไม่จำต้องแก้ฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276, 285 แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์มีข้อเท็จจริงไม่เข้าลักษณะความผิดตาม มาตรา 285 ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารเลย แต่เข้าลักษณะการกระทำผิดตามมาตรา 276 ถึงแม้โจทก์จะอ้างมาตรา 285 มาด้วย ก็ไม่เป็นเหตุทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องขึ้นศาลทหารและศาลชั้นต้นก็ได้ สั่งประทับฟ้องเฉพาะในข้อกล่าวหาตาม มาตรา 276 ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาได้ โดยไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายเลือกฟ้องอาญาฐานใดก็ได้ แม้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องต่อศาลพลเรือนขอให้ลงโทษตามมาตรา 391 แห่งประมวลกฎหมายอาญาถึงแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยทำผิดตามมาตรา 295 ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารจะพิจารณาพิพากษาตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16 ก็ดี ศาลพลเรือนก็ต้องรับฟ้องไว้พิจารณาเพราะไม่มีกฎหมายหรือประกาศคณะปฏิวัติฉบับใดห้ามไว้ และเป็นสิทธิของผู้เสียหายที่จะเลือกฟ้องฐานใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เสียหายเลือกฟ้องคดีอาญาได้ แม้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องต่อศาลพลเรือนขอให้ลงโทษตาม มาตรา 391 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ถึงแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยทำผิดตามมาตรา 295 ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารจะพิจารณาพิพากษาตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 16ก็ดี เพราะไม่มีกฎหมายหรือประกาศคณะปฏิวัติฉบับใดห้ามไว้ และเป็นสิทธิของผู้เสียหายที่จะเลือกฟ้องฐานใดก็ได้