พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิด พ.ร.บ.จราจร ต้องระบุเจตนา 'ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย' จึงจะลงโทษฐานขับรถประมาทได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความประมาทเลินเล่อและการขาดอายุความของคดีอาญา ส่งผลต่อการพิพากษา
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยขับรถด้วยความประมาท เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส และผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับอันตรายแก่กาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่นอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 43 (8) แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสาม ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ความผิดฐานปลอมเอกสาร: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการประนีประนอมยอมความในคดีก่อนหน้า
โจทก์ร่วมเคยร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินตามเช็คของโจทก์ร่วมไปจำนวน 3,000,000 บาทเศษ แล้วต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยและถอนคำร้องทุกข์ในคดีกังกล่าวไป ก็เพียงทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าเสียหายจากมูลละเมิดที่เกิดจากการปลอมเช็คและเบิกเงินตามเช็คไป ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเช็ค 53 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว และทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมก็สืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คจำนวน 5 ฉบับ และใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอมจึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเช็ค 53 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว และทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมก็สืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คจำนวน 5 ฉบับ และใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอมจึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8971/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, คำฟ้องเคลือบคลุม, และการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ประเด็นสำคัญในการพิจารณาคดี
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (2) ฟ้องต้องมีคดีระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย กรณีจำเลยเป็นนิติบุคคล ในคำฟ้องช่องคู่ความเพียงระบุชื่อนิติบุคคลซึ่งเป็นจำเลยและโดยผู้แทนนิติบุคคลจำเลยคนใดคนหนึ่งที่มีอำนาจทำการแทนได้ หาจำต้องระบุผู้แทนนิติบุคคลหรือกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนหมดทุกคนไม่ โจทก์ระบุในช่องคู่ความว่า ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดสกลนคร โจทก์ บริษัทสกลนคร เอ็ม.เจ. (1996) จำกัด โดย ก. กรรมการผู้จัดการ จำเลย ไม่จำต้องระบุ ว. กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกคนด้วยเพราะ ก. และ ว. คนใดคนหนึ่งมีอำนาจทำการแทนจำเลยได้โดยลำพัง ฟ้องโจทก์จึงมีผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลย ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (2) แล้ว
โจทก์ฟ้องโดยระบุวันกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ส่วนวันทราบคำสั่งแม้ไม่ระบุว่าเป็นวันใด แต่ก็ระบุว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว วันทราบคำสั่งไม่ใช่วันกระทำความผิดโดยตรง และเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ส่วนฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยดัดแปลงอาคาร เป็นการบรรยายการกระทำอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ฟ้อง แม้ไม่ตรงกับคำเบิกความของพยานและเอกสารของโจทก์ชั้นพิจารณาตามที่จำเลยฎีกา ก็เป็นเรื่องว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับฟ้องหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องโดยระบุวันกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว ส่วนวันทราบคำสั่งแม้ไม่ระบุว่าเป็นวันใด แต่ก็ระบุว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว วันทราบคำสั่งไม่ใช่วันกระทำความผิดโดยตรง และเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ส่วนฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยดัดแปลงอาคาร เป็นการบรรยายการกระทำอันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ฟ้อง แม้ไม่ตรงกับคำเบิกความของพยานและเอกสารของโจทก์ชั้นพิจารณาตามที่จำเลยฎีกา ก็เป็นเรื่องว่าข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับฟ้องหรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่มีเอกสารตรวจพิสูจน์หลักฐาน หากจำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) (6) แล้ว ซึ่งจำเลยก็เข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ดังนั้น แม้คำฟ้องของโจทก์จะไม่แนบเอกสารผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานมาท้ายฟ้อง ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการแยกความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่าย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยมีและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135ฯ เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิด พ.ร.บ.การเล่นแชร์ และความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ จำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทั้ง 5 วง มี 35 คน ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดแล้ว เพราะองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง หรือมีจำนวนสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน ส่วนบัญชีรายชื่อผู้เสียหายจำนวน 28 คน นั้น เป็นรายชื่อของสมาชิกวงแชร์ที่ถูกจำเลยฉ้อโกงในการเล่นแชร์ทั้ง 5 วง มิใช่จำนวนสมาชิกวงแชร์ทั้ง 5 วง รวมกัน ฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6 (1) (2) แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง 5 วง นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) (2) แล้ว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้ง 28 คน ด้วยการหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิกผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลางโดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิดด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยว่าได้กระทำการเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์ถึง 5 วง นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2541 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2542 โดยมีจำนวนสมาชิกวงแชร์รวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) (2) แล้ว และต่อมาจำเลยยังได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้เสียหายทั้ง 28 คน ด้วยการหลอกลวงว่ามีสมาชิกวงแชร์รายอื่นประมูลเงินทุนกองกลางโดยให้ดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายแต่ละคนที่เข้าร่วมประมูล จึงต้องรวบรวมเงินทุนกองกลางไปให้แก่สมาชิกผู้นั้น และบางงวดจำเลยก็แอบอ้างชื่อสมาชิกวงแชร์บางรายเข้าประมูลเงินทุนกองกลางโดยเสนอดอกเบี้ยตอบแทนสูงกว่าผู้เสียหายที่เข้าร่วมประมูล จนกระทั่งจำเลยได้เงินทุนกองกลางไปเสียเอง การกระทำของจำเลยในส่วนนี้แยกต่างหากจากการเป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ เป็นการหลอกลวงแอบอ้างสิทธิของสมาชิกวงแชร์คนอื่น เป็นการกระทำต่างฐานความผิดด้วยเจตนาที่ต่างกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดแต่ละฐานแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีจำหน่ายยาเสพติด แม้ไม่มีรายงานการตรวจพิสูจน์ และการลงโทษสถานเบา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 79 เม็ด น้ำหนัก 6.93 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 2.66 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำนวน 50 เม็ด น้ำหนัก 4.46 กรัม ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อคดีนี้จึงมิใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่จำต้องเสนอรายงานการตรวจพิสูจน์แนบมาท้ายฟ้อง
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้คำฟ้องไม่ปรากฏน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยจำหน่าย ฟ้องของโจทก์ก็ครบองค์ประกอบความผิดแล้วเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงสามารถรับฟังลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง
ความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้คำฟ้องไม่ปรากฏน้ำหนักสารบริสุทธิ์ของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยจำหน่าย ฟ้องของโจทก์ก็ครบองค์ประกอบความผิดแล้วเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ จึงสามารถรับฟังลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องมิได้เป็นทนายความ และการไม่อาจฎีกาลดโทษ
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และมี ธ. ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและเขียน โดย ธ. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ทนายความฯ การที่ ธ. เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องฐานฉ้อโกง: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากรายละเอียดชัดเจนขึ้นและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัทอีเกีย เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ตำแหน่งพนักงานฝ่ายจัดซื้อได้หลอกลวงโจทก์หลายครั้งว่า ถ้าโจทก์ต้องการขายสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าว โจทก์ต้องชำระค่าตอบแทน แก่ผู้บริหารของบริษัทนี้ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาสินค้าที่โจทก์ขายได้ในแต่ละงวด มิฉะนั้นบริษัทดังกล่าวจะไม่ตกลงซื้อสินค้าจากโจทก์ อันเป็นข้อความเท็จทำให้โจทก์หลงเชื่อ โจทก์จึงได้จ่ายเงินโดยนำเงินเข้าบัญชีของธนาคารตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์หลายครั้ง แม้คำฟ้องไม่มีข้อความว่า โดยทุจริต แต่จากคำบรรยายฟ้องมีความหมายบ่งบอกอยู่ในตัวว่าจำเลยกระทำโดยทุจริต คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เป็นคำฟ้อง ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวโดยเติมคำว่า โดยทุจริต ลงไป เป็นเพียงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งโจทก์ได้แสดงเหตุอันควรในคำร้องแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ยังมีข้อบกพร่อง และเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ย่อมไม่ทำให้จำเลย เสียเปรียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงเป็นคำสั่งโดยชอบ หาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวโดยเติมคำว่า โดยทุจริต ลงไป เป็นเพียงแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้น ซึ่งโจทก์ได้แสดงเหตุอันควรในคำร้องแล้วว่า คำฟ้องของโจทก์ยังมีข้อบกพร่อง และเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องในระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง ทั้งจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย ย่อมไม่ทำให้จำเลย เสียเปรียบ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องจึงเป็นคำสั่งโดยชอบ หาใช่คำสั่งที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงไม่