พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2413/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีซ้ำ จำเลยต้องรับโทษเดิมด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกมีกำหนด 12 เดือน ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1570/2544 ของศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2544 ซึ่งมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และจำเลยกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ขึ้นอีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ขอศาลได้เพิ่มโทษจำเลยตามกฎหมายด้วย คำขอท้ายคำฟ้องได้ระบุมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ไว้ด้วย ชั้นพิจารณาจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพตลอดข้อหาและศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์จำเลยลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าว ดังนั้น คำให้การจำเลยที่รับสารภาพจึงย่อมหมายรวมถึงการรับว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในคำฟ้องตลอดจนรับตามบทบัญญัติที่ขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับความผิดครั้งหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตไม่ได้: ขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เข้าข้อยกเว้นชนิดเจาะเกราะ/กระสุนเพลิง
แม้ผู้ชำนาญที่ตรวจพิสูจน์จะมีความเห็นว่า กระสุนปืนของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11ฯ ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ และอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นอาวุธปืนที่จำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม แต่เมื่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว ข้อ 3 กำหนดว่า "เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามมาตรา 7 หรือมาตรา 24 ต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาต แต่ต้องไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง" อันหมายความว่าเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นเป็นชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ซึ่งเมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาดเพียง .223 (5.56 มม.) ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ข้อ 2 (1) ที่กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม." และข้อ 2 (2) กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียว ดังต่อไปนี้ (ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข) ปืนบรรจุปาก ปืนลูกซองและปืนพลุสัญญาณ" แล้วจึงเห็นได้ในเบื้องต้นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น ถึงหากจะให้รับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกลดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 1 นัด ของกลาง เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: บุกรุกเพื่อข่มขู่เป็นกรรมเดียว
จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักของผู้เสียหายก็เพื่อข่มขู่ผู้เสียหายให้ตกใจกลัวโดยใช้อาวุธปืนจี้ผู้เสียหายที่ศีรษะและพูดขู่เข็ญผู้เสียหายว่าจะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยต่อเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวเพื่อข่มขู่ผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำเพียงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้โจทก์จะแยกบรรยายการกระทำผิดของจำเลยมาในฟ้องเป็น 2 ข้อ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และแม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ทำให้ไม่สามารถรอการลงโทษได้ แม้โจทก์มิได้บรรยายในฟ้อง
การที่จำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงไม่อาจรอการลงโทษให้จำเลยได้ตาม ป.อ. มาตรา 56 และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วจึงจะรอการลงโทษให้ไม่ได้ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วก็ตาม แต่ตามรายงานการสืบเสาะและพินิจซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งระบุว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้ว เช่นนี้ ก็ไม่สามารถรอการลงโทษให้จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์รายงานสืบเสาะและพิจารณาในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกามีอำนาจบวกโทษคดีที่รอการลงโทษตามกฎหมาย
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบ จำเลยไม่คัดค้านและลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา จำเลยจะมาโต้แย้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในชั้นฎีกาไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติระบุว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดนครนายกให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในคดีของศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนด 2 ปี ตามที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวน จำเลยกระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีทั้งสองสำนวนก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีทั้งสองสำนวนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎฆมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ทั้งเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากเด็กเพื่ออนาจาร, กระทำอนาจาร, หน่วงเหนี่ยว, และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายอายุ 13 ปีเศษขึ้นรถแล้วจำเลยที่ 2 พูดกับพวกของจำเลยว่าจะนำไปขายซ่อง ระหว่างอยู่บนรถจำเลยที่ 1 ใช้มือจับหน้าอก จำเลยที่ 3 ใช้มือจับอวัยวะเพศของผู้เสียหายส่วนจำเลยที่ 2 ใช้มือขวาจับพวงมาลัยรถและมือซ้ายลูบที่ขาของผู้เสียหายไปตลอดทาง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนากระทำอนาจารผู้เสียหายมาแต่ต้น และเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน ถือได้ว่าความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยที่ 2 เริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยที่ 2 กับพวกฉุดผู้เสียหายขึ้นไปบนรถระหว่างทางมีการกระทำอนาจารผู้เสียหายในวันเดียวกัน ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอนเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า ความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยขู่เข็ญและโดยการใช้กำลังประทุษร้ายกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นความผิดคนละกรรมจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ผู้มิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้ระบุวรรค แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ระบุแต่เพียงให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องระบุวรรคใดด้วย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดในวรรคใดก็พิพากษาว่ากระทำความผิดในวรรคนั้นได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
จำเลยที่ 2 กับพวกฉุดผู้เสียหายขึ้นไปบนรถระหว่างทางมีการกระทำอนาจารผู้เสียหายในวันเดียวกัน ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอนเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า ความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยขู่เข็ญและโดยการใช้กำลังประทุษร้ายกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นความผิดคนละกรรมจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ผู้มิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้ระบุวรรค แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ระบุแต่เพียงให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องระบุวรรคใดด้วย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดในวรรคใดก็พิพากษาว่ากระทำความผิดในวรรคนั้นได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจัดให้มีการเล่นพนันฟุตบอล และการพิจารณาโทษสำหรับเจ้ามือรายใหญ่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544 เวลากลางวัน จำเลยร่วมกับพวกที่หลบหนีเล่นการพนันทายผลฟุตบอล อันเป็นการพนันอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามบัญชี ก. และ ข. ท้าย พ.ร.บ.การพนันฯ พนันเอาทรัพย์สินกันโดยจำเลยเป็นฝ่ายเจ้ามือจัดให้มีการแทงพนันผลการแข่งขันฟุตบอลระหว่างเวลาดังกล่าวข้างต้นรวม 5 ครั้ง โดยทุกครั้งมีลูกค้านำเงินมาแทงพนันผลการแข่งขันฟุตบอลกับจำเลยตามจำนวนที่ระบุมาในฟ้อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นพนันตาม พ.ร.บ.การพนันฯ มาตรา 4 ทวิ, 12 (2) แล้ว
จำเลยเป็นเจ้ามือจัดให้มีการพนันทายผลการแข่งขันฟุตบอลขึ้น ซึ่งปัจจุบันการพนันชนิดนี้แพร่ระบาดทั่วไปโดยเฉพาะในหมู่นักเรียนนักศึกษา การจัดให้มีการเล่นการพนันชนิดนี้ จึงมีส่วนสำคัญในการมอมเมาเยาวชนของชาติให้ลุ่มหลงในอบายมุข มีผลกระทบกระเทือนโดยตรงต่อการศึกษาและบั่นทอนอนาคตของเยาวชน ถือว่าเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าอันเป็นความหวังของชาติ เป็นภัยร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม หากไม่มีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดปัญหานี้จะลุกลามมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในคดีนี้จำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่อเนื่องกันมีวงเงินที่แทงพนันกันเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นเจ้ามือการพนันรายใหญ่มีการเล่นได้เสียเป็นอาชีพ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรงที่จำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตร 2 คนและมารดาที่เจ็บป่วย หากจำเลยได้รับโทษจำคุกจะทำให้ครอบครัวได้รับความเดือดร้อนก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น ไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้
จำเลยเป็นเจ้ามือจัดให้มีการพนันทายผลการแข่งขันฟุตบอลขึ้น ซึ่งปัจจุบันการพนันชนิดนี้แพร่ระบาดทั่วไปโดยเฉพาะในหมู่นักเรียนนักศึกษา การจัดให้มีการเล่นการพนันชนิดนี้ จึงมีส่วนสำคัญในการมอมเมาเยาวชนของชาติให้ลุ่มหลงในอบายมุข มีผลกระทบกระเทือนโดยตรงต่อการศึกษาและบั่นทอนอนาคตของเยาวชน ถือว่าเป็นการทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าอันเป็นความหวังของชาติ เป็นภัยร้ายแรงต่อเศรษฐกิจและความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม หากไม่มีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดปัญหานี้จะลุกลามมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในคดีนี้จำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่อเนื่องกันมีวงเงินที่แทงพนันกันเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าจำเลยเป็นเจ้ามือการพนันรายใหญ่มีการเล่นได้เสียเป็นอาชีพ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนับว่าร้ายแรงที่จำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยมีภาระต้องเลี้ยงดูบุตร 2 คนและมารดาที่เจ็บป่วย หากจำเลยได้รับโทษจำคุกจะทำให้ครอบครัวได้รับความเดือดร้อนก็เป็นเพียงเหตุผลและความจำเป็นส่วนตัวของจำเลยเท่านั้น ไม่เป็นเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพ และประเด็นการคืนทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยให้การรับสารภาพว่าทรัพย์สินของกลางที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง เป็นอุปกรณ์และทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการเล่นพนันจริง ศาลรับฟังได้โดยโจทก์ไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบอีก ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ว่า เงินสดและเครื่องรับส่งเอกสารของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด ขอให้คืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสี่ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ เป็นการไม่ชอบและขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้นั้น จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ และมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาด้วย จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9296/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดียาเสพติด และการแก้ไขโทษ บทลงโทษที่ไม่เกิน 5 ปี
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 บัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ลำดับที่ 20 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อันเป็นการแสดงมาในฟ้องแล้วว่าประกาศดังกล่าวมีอยู่จริง แม้โจทก์จะไม่ได้แนบประกาศมาท้ายฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญอันจะทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยทราบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แล้วหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของจำเลยในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้ไขบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อย และต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง