คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตและการขายยาที่มิได้ขึ้นทะเบียน: การพิจารณาความเคลือบคลุมของฟ้องและกรรมต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ประกอบกิจการสถานพยาบาลไม่มีชื่อ ซึ่งจัดไว้เพื่อประกอบโรคศิลปะ โดยจำเลยกระทำเป็นปกติธุระได้รับผลประโยชน์ตอบแทนและไม่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายและจำเลยขายยาลูกกลอนอันเป็นยาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้กับกระทรวงสาธารณสุขให้แก่บุคคลทั่วไป ส่วนการที่จำเลยจะกระทำเป็นปกติธุระอย่างไร มีประชาชนหลงเชื่อเข้าไปให้จำเลยทำการรักษาพยาบาลกี่ราย จำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ใดบ้างกี่ครั้ง และจำเลยขายยาลูกกลอนให้แก่ผู้ใดบ้างนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ประกอบกับการดำเนินคดีในศาลแขวงต้องการความรวดเร็ว จึงเปิดโอกาสให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้ โจทก์หาจำต้องบรรยายฟ้องโดยละเอียดดังเช่นคดีอาญาทั่วไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลเพื่อประกอบโรคศิลปะและขายยาลูกกลอน จำเลยมีเจตนาที่ต่างกัน ย่อมเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตสินค้าโดยได้รับสิทธิบัตรจากต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิบัตรกรรมวิธีในประเทศ
โจทก์ที่ 1 ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ช. เป็นผู้มีอำนาจในการปกป้องรวมทั้งการฟ้องคดีในศาลไทยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 1 และตามคำฟ้องก็บรรยายว่า ช. กระทำการในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 และในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 ประกอบกับท้ายคำฟ้อง ช. ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 2 ระบุว่าโจทก์ทั้งสองและในใบแต่งทนายความก็ได้ระบุว่าลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 กับในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 ถือได้ว่า ช. ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 1 และในฐานะกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 2 แล้ว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7)
สิทธิบัตรไทยของโจทก์เป็นสิทธิบัตรกรรมวิธี จึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 เฉพาะกรรมวิธีการผลิตข้อต่อแบบเชิงกลของแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงสำหรับคอนกรีตตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรนั้นเท่านั้น กล่าวคือได้รับความคุ้มครองเฉพาะกรรมวิธีเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงเข้าด้วยกันด้วยการนำส่วนปลายสุดที่ทำเป็นเกลียวไว้มาต่อกับส่วนปลอกโดยมีลักษณะพิเศษคือก่อนการทำเส้นเกลียวดังกล่าวส่วนปลายสุดของแท่งเหล็กที่จะนำมาเชื่อมต่อนั้นจะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นด้วยวิธีแบบที่ไม่ใช้ความร้อนหรือวิธีแบบที่เย็น ไม่ได้รับความคุ้มครองสำหรับกรรมวิธีการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงเข้าด้วยกันด้วยวิธีขึ้นรูปโดยใช้ความร้อนหรือแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็น
จำเลยผลิตข้อต่อของแท่งเหล็กเส้นตามสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์สหรัฐอเมริกาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิบัตรให้ใช้ซึ่งเป็นสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ข้อต่อเหล็กเส้นเสริมแรงคอนกรีตโดยการขยายปลายเหล็กเส้นเสริมแรงให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้นโดยการตีขึ้นรูป จึงครอบคลุมถึงการเชื่อมต่อแท่งเหล็กเส้นเสริมแรงโดยมีการทำให้ปลายเหล็กเส้นเสริมแรงขยายใหญ่ขึ้นก่อนทำเกลียว ด้วยกรรมวิธีการตีขึ้นรูปทุกกรรมวิธี ไม่ว่าจะเป็นการตีขึ้นรูปแบบเย็น แบบร้อน หรือแบบกึ่งร้อนกึ่งเย็น แม้จะมีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกับกรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ ก็แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 85 ประกอบด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่ง (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงโดยไม่ต้องเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการพิจารณาเจตนาในการกระทำผิด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาโดยทั่ว ๆ ไปการพิจารณาคดีของศาลแขวงจึงแตกต่างจากคดีอาญาอื่น โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะสอบถามรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษ โดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษก็ตาม แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษหลายกรรมจากเช็คที่สั่งจ่ายต่างวัน แม้ไม่ได้อ้างมาตรา 91 ในคำฟ้อง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ก็มิได้ระบุให้โจทก์ต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ในท้ายคำฟ้องด้วย ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุมาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องแต่บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรม ศาลก็ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่สมบูรณ์เพราะขาดลายมือชื่อโจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ลงลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์ฟ้องแต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) และการที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่มีวิธีปฏิบัติเป็นประการอื่นนอกจากพิพากษายกฟ้องโจทก์ และมาตรา 161 หาได้เป็นบทบัญญัติซึ่งมิได้กำหนดระยะเวลาให้ศาลมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องเสียเมื่อใด ก็ได้ก่อนคดีถึงที่สุดไม่ ทั้งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยมิได้ยกขึ้นโต้แย้งคัดค้านศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา แม้ไม่ได้ระบุสถานที่เกิดเหตุ แต่มีข้อมูลในสำนวนคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิด แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า ระหว่างสอบสวนจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ตามหมายขังของศาลชั้นต้นซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้องโดยไม่คำนึงว่าคำร้องขอฝากขังเป็นเรื่องของพนักงานสอบสวนไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์ เมื่อปรากฏในสำนวนคำร้องขอฝากขังซึ่งติดอยู่ตอนหน้าของสำนวนระบุสถานที่เกิดเหตุไว้แล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญา: ความชอบด้วยกฎหมายและขอบเขตของข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางพิจารณา
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดที่โจทก์กล่าวหาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80,335,336 ทวิ พอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดข้อหาใดได้แล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ในตอนต่อมาบรรยายว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางที่จำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้ใช้เพื่อกระทำความผิดก็ไม่ ทำให้คำฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้อยู่แล้ว และหากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกระทำผิดกับพวกอีกหลายคน จำเลยก็คงได้รับโทษตามความผิดที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องเท่านั้น คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณารับฟังได้เพิ่มเติมจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยได้ร่วมกับพวกอีกหลายคนกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายนั้น ก็ไม่เป็นข้อสาระสำคัญที่จะให้ถือว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องอันจะทำให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเบิกความเท็จ: การบรรยายฟ้องไม่ครบถ้วนองค์ประกอบความผิด ทำให้ฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลแขวงพระนครเหนือ โดยเพียงแต่กล่าวว่าจำเลยได้เบิกความในคดีหมายเลขใด ระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และข้อความที่เบิกความกับว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าคดีที่เบิกความเป็นการพิจารณาคดีอาญา และโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าข้อความที่เบิกความเป็นข้อสำคัญในคดี แต่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคดีอาญานั้นมีข้อหาความผิดตามบทกฎหมายใด ประเด็นอันเป็นข้อสำคัญในคดีมีว่าอย่างใด และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญอย่างไร จึงถือว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดมาโดยครบถ้วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราในกฎหมายที่ขอให้ลงโทษจำเลยด้วย ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตามมาตรา 161 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาฐานลักทรัพย์/รับของโจร และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่รอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้เกิดเหตุคนร้ายหลายคนร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายต่อมาเจ้าพนักงานจับกุมจำเลยได้พร้อมทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักไปดังกล่าว ทั้งนี้จำเลยกับพวกร่วมกันเป็นคนร้ายลักทรัพย์หรือมิฉะนั้นจำเลยกับพวกร่วมกันรับของโจร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมิได้มีข้อความใดยืนยันหรือทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ทั้งมิได้มีความขัดแย้งกันแต่เป็นการบรรยายข้อเท็จจริงที่ปรากฏเพื่อให้ศาลวินิจฉัยเลือกลงโทษตามที่ศาลจะฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
การรอการลงโทษหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ว่า ศาลอุทธรณ์นำพฤติการณ์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมความประพฤติมาวินิจฉัยเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่รอการลงโทษให้จำเลยจึงไม่ชอบนั้นเป็นการบิดเบือนปัญหาข้อเท็จจริงให้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษคดีก่อนเข้ากับคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไม่จำกัดความผิดฐานเดียวกันหรืออายุผู้กระทำผิด
ฎีกาจำเลยที่ว่าการบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกันและขณะกระทำผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และตามคำขอท้ายฟ้องจะต้องระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ด้วยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้บังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกันจึงจะบวกโทษได้และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จะมีเหตุดังกล่าวศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 6 เดือน โทษจำคุกรอไว้ 2 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่าขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลย ศาลจึงมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่มาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
of 188