คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์หากไม่บรรยายข้อเท็จจริงว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยก่อสร้างอาคารไม่เว้นระยะห่างจากที่ดินข้างเคียงโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติท้องถิ่นของเทศบาลเมืองขอนแก่น จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา 40 และ 42 มีบทลงโทษตามมาตรา 66 ทวิ แต่การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 66 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตามบทบัญญัติมาตรา 42เสียก่อน คือ กรณีแรกอาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 41 กรณีที่สองอาคารที่จำเลยก่อสร้างไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารจำเลยไม่ปฏิบัติตามความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงเกิดขึ้น เมื่อโจทก์ไม่บรรยายฟ้องจึงรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารตามเงื่อนไขแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นก็ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นแต่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า และการจำหน่ายสินค้าปลอม โดยศาลฎีกาได้พิจารณาแก้ไขโทษและยกฟ้องบางข้อหา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2542 ซึ่งมาตรา 3 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2496 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 และฉบับที่ 5พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 หลังวันที่พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ใช้บังคับแล้ว 1 ปีเศษ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีเก็บไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไม่น่ากลัวอันตราย มีปริมาณเกินกว่า 10,000 ลิตร ไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474ซึ่งถูกยกเลิกไปก่อนแล้ว โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลัง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ยังมีผลใช้บังคับอยู่นั้นยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ส่วนการกระทำของจำเลยนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังและยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดและขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ซึ่งถูกยกเลิกไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยระหว่างวันเวลาดังกล่าวเป็นความผิดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ต้องยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฐานความผิดและลดโทษคดีพนันออนไลน์: ศาลฎีกายกข้อผิดพลาดเรื่องบทมาตราและให้รอการลงโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยเล่นการพนันทายผลฟุตบอลพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าการเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการพนันฯ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิด และความผิดมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นการลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 มีนาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงจนถึงวันที่ 8 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์สร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล่าปะการังและครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครอง: ความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า จำเลยกับพวกได้บังอาจร่วมกันล่าปะการังแข็งทุกชนิดในอันดับ Scleractinia และ Stylasterina ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ซึ่งคำว่าล่า นั้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้ให้คำนิยามไว้ว่าหมายความว่า เก็บ ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประการอื่นแก่สัตว์ป่าที่ไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระ ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันล่าปะการังแข็ง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองย่อมหมายความถึงปะการังนั้นไม่มีเจ้าของและอยู่เป็นอิสระโดยหาต้องบรรยายถ้อยคำดังกล่าวไว้ในคำฟ้องอีก ส่วนคำบรรยายฟ้องต่อมาเป็นการบรรยายรายละเอียดถึงวิธีการล่าโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการอื่นใด ซึ่งน่าจะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องโจทก์จึงหาได้เคลือบคลุมไม่
ความผิดฐานล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง และความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครอง มีองค์ประกอบของความผิดแตกต่างกันและแยกต่างหากจากกัน จำเลยล่าสัตว์ป่าคุ้มครองโดยการเก็บหรือทำอันตรายด้วยประการใด ๆ แก่สัตว์ป่าคุ้มครองย่อมเป็นการกระทำโดยเจตนาที่จะล่าสัตว์ป่าคุ้มครองและเป็นความผิดสำเร็จ เมื่อจำเลยเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง และการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบย่อมเป็นเจตนาอีกอันหนึ่งในการที่จะครอบครองซากสัตว์ป่าคุ้มครองจำนวน 38 กระสอบ แยกต่างหากจากการเป็นเก็บหรือทำอันตรายแก่สัตว์ป่าคุ้มครอง ถือได้ว่าความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษชิงทรัพย์โดยมีอาวุธและทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายโดยมีอาวุธมีดและเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 339 ทั้งวรรคสองและวรรคสาม โจทก์ไม่จำต้องระบุวรรคของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(6) มิได้บังคับไว้เช่นนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม ตรงตามที่โจทก์บรรยายฟ้องศาลก็ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยตามนั้นได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการโต้แย้งข้อเท็จจริงภายหลัง ย่อมมีผลผูกพันจำเลย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯและตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น โจทก์ไม่จำต้องแนบประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวมาพร้อมกับคำฟ้อง เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539)ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2539และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกระทรวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับเช่นกฎหมาย และเมื่อศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การว่าทราบคำฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้วขอให้การรับสารภาพ จึงถือว่าจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้วจำเลยไม่อาจแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้
จำเลยให้การรับสารภาพว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายตามฟ้อง ทั้งยังแถลงรับว่าร้อยตำรวจโท ว. เป็นผู้ตรวจพิสูจน์เมทแอมเฟตามีนของกลางและของกลางเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯจริง ดังนั้น ข้ออ้างที่จำเลยฎีกาว่าของกลางมิใช่เมทแอมเฟตามีนจึงขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้โต้แย้งมาก่อน จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องโจทก์ จำเลยจะโต้เถียงเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์ของกลางหรือโต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องอีกหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะรับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ก็เป็นการไม่ชอบ และถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15และแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดมีผลต่อองค์ประกอบความผิด จำเลยมีสัญชาติไทย ฟ้องไม่ชอบ
ขณะที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิด ยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และให้ใช้ความใหม่แทน เมื่อปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด"ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทยส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของผู้อื่นนั้นฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน และผลต่อการฟ้องคดีอาญา
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดในคดีนี้ได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น"ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด" ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของ น. นั้น ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดมาตราดังกล่าว ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8074/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก เมื่อกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งข้อความที่เป็นผลร้ายให้แก่จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่คัดค้าน โดยรายงานการสืบเสาะและพินิจดังกล่าวปรากฏว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในครั้งที่สองให้ลงโทษจำคุก 1 เดือนและปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบ 1 ปีจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษในคดีนี้ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และกรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
of 188