คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่อ้างการจัดหางานหลอกลวงผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน แต่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30 และมาตรา 82แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา และการพิจารณาลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดในคดีแยกฟ้อง
ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างได้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้เก้าอี้และใช้ของแข็งตีทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ถูกบริเวณร่างกายทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างไรบ้าง เช่นนี้ เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ต้องเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยคนหนึ่งซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาเพียงผู้เดียวใช้อำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกามิให้ต้องถูกรับโทษเช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่การที่ผู้ร่วมกระทำผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดี การที่พยานหลักฐานโจทก์เพียงพอจะรับฟังลงโทษจำเลยคนใดที่ร่วมกระทำผิดได้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวเป็นราย ๆ ไปเฉพาะคดีนั้น ๆ ซึ่งพยานหลักฐานของโจทก์อาจพาดพิงถึงจำเลยแต่ละคดีมากน้อยต่างกันได้ คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเพียงพอก็ลงโทษไป คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเบาบางก็ต้องยกฟ้องตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบเป็นรายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายด้วยอาวุธมีด การพิสูจน์เจตนา และการพิจารณาความผิดหลายกรรม
จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดของกลางฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยยังไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึง อันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 จำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดทำสวนขนาดยาวประมาณ 35 เซนติเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่และหนาพอสมควรฟันที่บริเวณคอผู้เสียหายทั้งสองอันเป็นอวัยวะสำคัญจำเลยที่ 1 ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าผู้เสียหายทั้งสองอาจถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าหรือเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยได้จากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน มิใช่ต้องถือเอาตามคำเบิกความของแพทย์เพียงอย่างเดียว
แม้ในฟ้องข้อ 1 โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกันเพียง 2 ข้อ คือ ข้อ ก. จำเลยทั้งสองร่วมกันพาอาวุธมีดติดตัวไปในเมืองและชุมนุมชนโดยไม่มีเหตุสมควร กับข้อ ข. จำเลยทั้งสองร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองก็ตาม แต่ในฟ้องข้อ ข.โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่าและคมมีดถูกผู้เสียหายทั้งสองที่บริเวณคอ รายละเอียดบาดแผลปรากฏตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่บริเวณคอหนึ่งแผล และผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณคอสองแผล อันเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนแยกออกจากกันได้ อีกทั้งโจทก์ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายที่ 1 แล้ว ได้เดินตามไปฟันผู้เสียหายที่ 2 ขณะกำลังเดินเข้าไปในงาน ห่างประมาณ 5 เมตร อันเป็นการฟันผู้เสียหายทั้งสองคนละคราวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานพยายามฆ่าเป็นสองกระทงความผิด จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ หรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับ 60 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 นั้น ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องปรับบทตามมาตรา 29 เพียงบทเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เช็คโดยมีเจตนาทุจริตและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คแทนบริษัท บ. เพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายแก่โจทก์แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น เป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)เพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ปัญหาที่ว่าเป็นหนี้ค่าอะไรเป็นเพียงรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาต้องชัดเจนในองค์ประกอบความผิด การพิพากษาเกินฟ้องเป็นเหตุให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 วรรคสอง เพียงว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน 540 เม็ด น้ำหนัก 45.679 กรัม ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 5.643 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้ใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อขาย อันเป็นการขายเมทแอมเฟตามีนตามความหมายของพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 4 ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่งโจทก์บรรยายฟ้องต่อมาในข้อ 2 ว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตามฟ้องข้อ 1 เป็นของกลางเป็นเพียงขยายความเมทแอมเฟตามีนที่ถูกยึดเป็นของกลางเท่านั้น ไม่ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย และแม้จะอ้างบทมาตราเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่กล่าวมาในฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯมาตรา 116 ได้ แต่การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเป็นความผิดจึงให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค และการปรับบทลงโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมและมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แต่คำฟ้องก็ได้ระบุมาแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค2 ฉบับ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับศาลลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91ได้ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น หาได้บัญญัติให้จำต้องอ้างถึงบทมาตราเกี่ยวกับการลงโทษหลายกรรมด้วยไม่ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: ความผิดร่วมกัน การแบ่งหน้าที่ และความรับผิดของกรรมการ
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายเกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุว่า เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2540 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งหมดได้ร่วมกันกระทำผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ ได้ร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทภาพถ่าย โดยร่วมกันทำซ้ำ ดัดแปลง และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับวันเวลาเกิดเหตุจึงครบถ้วนถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)แล้ว
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท.ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา นางสาวทิพย์วรรณจะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้นถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้โจทก์เพิ่งทราบว่ามีการพิมพ์หนังสือนิตยสาร "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ซึ่งมีภาพถ่ายของ ท.ลงพิมพ์ไว้อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อเดือนมีนาคม 2540 และโจทก์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดตามกฎหมายเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540คดีนี้ย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3) เมื่อได้ความว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 14 มกราคม 2541 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 9 ที่ 15 และที่ 17 ถึงที่ 19 ตาม พ.ร.บ.บัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 27, 31, 69, 70, 74, 75, 76 และ 78 มาตรา 83 โดยวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท และให้ลงโทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 90 เป็นการปรับบทมาตราที่บางมาตรามิใช่บทกำหนดความผิดและกำหนดโทษ และมิได้ระบุวรรคให้ถูกต้องนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ที่ 9 และที่ 15 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแยกจากกันแม้จะได้ความว่าเป็นบริษัทจำกัดในเครือเดียวกันหรือมีการถือหุ้นไขว้กันก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดด้วย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้นโดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส.ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 994/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์: วันเวลาเกิดเหตุ, สิทธิผู้เสียหาย, อายุความ, และความร่วมมือในการกระทำผิด
วันที่กระทำความผิดตามฟ้องจะตรงตามความเป็นจริงหรือไม่เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณา หามีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของฟ้องไม่
สัญญาว่าจ้างถ่ายแบบเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และ ท. ซึ่งมีสาระสำคัญว่า ถ้าภาพถ่ายตามสัญญาฉบับนี้ถูกตีพิมพ์เพื่อการพาณิชย์ที่ไม่ใช่ของบริษัทโน๊ตพับลิชชิ่ง จำกัด แล้ว ให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดสัญญา ท. จะเรียกเอาค่าเสียหายจากโจทก์หรือฟ้องร้องผู้ทำละเมิดก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่คดีไม่มีปัญหาว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่ายดังกล่าวจะหมดสิทธิในความเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีแก่ผู้กระทำผิดหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างถ่ายแบบ ดังนั้น ถ้ามีผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
โจทก์ถอนคำร้องทุกข์เพราะโจทก์ได้นำคดีไปฟ้องเองและศาลได้รับฟ้องไว้แล้ว โจทก์ไม่ได้ถอนคำร้องทุกข์โดยเจตนาที่จะไม่เอาความผิดแก่จำเลยสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ด้วยการพิมพ์หนังสือ "ร้อนเสน่หา นางฟ้านุ่งลม" ขึ้น โดยใช้แม่พิมพ์ ซึ่งจำเลยที่ 9 เป็นผู้จัดทำขึ้นในการพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือที่พิมพ์ออกมามีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์และจำเลยที่ 9 เป็นผู้ทำแม่พิมพ์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 ได้แบ่งหน้าที่กันทำงานในส่วนของตน โดยรู้ถึงการกระทำของกันและกันตามที่ระบุไว้ในแม่พิมพ์และหนังสือดังกล่าวเพื่อให้การพิมพ์หนังสือนี้สำเร็จลง จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีเจตนาร่วมกระทำผิดด้วยการทำซ้ำงานดังกล่าวด้วยกัน ส่วนจำเลยที่ 15 ปรากฏเพียงว่า เป็นผู้รับจ้างจากบริษัท ส. ให้ทำงานจัดจำหน่ายซึ่งเป็นความผิดฐานเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนโดยเฉพาะ อันเป็นความผิดคนละส่วนกัน โดยไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยที่ 1 และที่ 9 กับจำเลยที่ 15 มีเจตนาร่วมกันกระทำความผิดคดีนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 กับที่ 9 และการกระทำของจำเลยที่ 15 จึงเป็นความผิดเฉพาะในส่วนของแต่ละฝ่ายเท่านั้นกล่าวคือ จำเลยที่ 1 และที่ 9 มีความผิดฐานร่วมกันทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยการจัดพิมพ์หนังสืออันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ส่วนจำเลยที่ 15 มีความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท: ช่วยคนต่างด้าวและรับทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต
ความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงการกระทำที่เป็นความผิดคือ ให้คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายเข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม คดีนี้ตามคำฟ้องข้อ (ก) โจทก์กล่าวหาจำเลยว่า ช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการให้เข้าทำงานในร้านอาหารของจำเลยเท่านั้น มิได้มีการช่วยอย่างอื่นอีก ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ตามคำฟ้องข้อ (ข) โจทก์กล่าวหาจำเลยว่า รับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานเป็นลูกจ้างในร้านอาหารของจำเลย จะเห็นได้ว่า การที่จำเลยรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายเข้าทำงานในร้านอาหารของจำเลยโดยคนต่างด้าวนั้นไม่มีใบอนุญาตทำงาน เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาในผลการกระทำเป็นอย่างเดียวกันคือรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน แม้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ก็เป็นการกระทำโดยเจตนาเดียวกัน จึงต้องถือว่าเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การช่วยเหลือคนต่างด้าวผิดกฎหมายและการจ้างงาน
ความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่งบัญญัติถึงการกระทำที่เป็นความผิดคือ ให้คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายเข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม คดีนี้ตามคำฟ้องข้อ (ก) โจทก์กล่าวหาจำเลยว่า ช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการให้เข้าทำงานในร้านอาหารของจำเลยเท่านั้น มิได้มีการช่วยอย่างอื่นอีก ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521ตามคำฟ้องข้อ (ข) โจทก์กล่าวหาจำเลยว่า รับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานเป็นลูกจ้างในร้านอาหารของจำเลย จะเห็นได้ว่า การที่จำเลยรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร โดยฝ่าฝืนกฎหมายเข้าทำงานในร้านอาหารของจำเลยโดยคนต่างด้าวนั้นไม่มีใบอนุญาตทำงาน เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาในผลการกระทำเป็นอย่างเดียวกันคือรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน แม้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ก็เป็นการกระทำโดยเจตนาเดียวกัน จึงถือว่าเป็นกรรมเดียว
of 188