คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องไม่ชัดเจน ความผิดหลายกรรม และขอบเขตการฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชาและฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี โดยปรับบทว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานพยายามส่งออก ให้ลงโทษฐานพยายามส่งออกซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โดยยังคงให้ลงโทษจำเลยฐานนำเข้ายางกัญชา และฐานพยายามส่งออกยางกัญชา จำคุกกระทงละ 2 ปี แต่ปรับบท เป็นว่าความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเป็นกรรมเดียวกับฐานนำเข้า ให้ลงโทษฐานนำเข้าอันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวคือนำยางกัญชา ของกลางจำนวนเดียวกันจากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินเพื่อไปเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยจำเลยครอบครองยางกัญชาจำนวนดังกล่าวต่อเนื่องกันจนกระทั่งถูกจับการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมียางกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกรรมเดียว ไม่เป็นความผิดฐานนำเข้าและพยายามส่งออกยางกัญชาดังกล่าวแต่อย่างใด แต่โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่20 ธันวาคม 2539 จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันกล่าวคือ ก. จำเลยมียางกัญชา จำนวน 15 แท่ง น้ำหนัก 4,974 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ข.จำเลย นำยางกัญชาตามข้อ ก. จากประเทศเนปาลเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบิน และ ค. หลังจากนั้น จำเลยส่งยางกัญชาซึ่งจำเลยมีไว้ในครอบครองตามข้อ ก. และนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามข้อ ข. ออกนอกราชอาณาจักรไทยโดยทางเครื่องบินไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จำเลยลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะเจ้าพนักงานตรวจพบก่อนที่จำเลยจะขึ้นเครื่องบิน เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยกระเป๋า 1 ใบ รองเท้า 1 คู่ ซึ่งจำเลยใช้ซุกซ่อนยางกัญชาดังกล่าวเป็นของกลาง เหตุเกิดที่แขวงตลาดบางเขนเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานครดังนี้ฟ้องโจทก์ข้อค.ได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดในข้อหาพยายามส่งยางกัญชาของกลางออกนอกราชอาณาจักรโดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร องค์ประกอบความผิดและเจตนาที่แท้จริงของผู้กระทำ
การที่ ป. มารดาเด็กหญิงส.ยินยอมให้เด็กหญิงส.เดินทางไปกับจำเลยก็เพื่อไปรับจ้างทำงานเป็นลูกจ้างขายผักที่ตลาดเท่านั้น มิได้ยินยอมให้จำเลยพาไปเพื่อการอนาจารแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่จำเลยพาเด็กหญิงส.เข้าไปในโรงแรมเพื่อกระทำอนาจารหรือร่วมประเวณี แม้จำเลยยังไม่ทันกระทำการดังกล่าวก็ตามพฤติการณ์ของจำเลยก็เข้าองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคหนึ่ง และวรรคสามอันเป็นความผิดสำเร็จแล้ว หาใช่เพียงขั้นพยายามไม่ จำเลยเพียงแต่ให้การในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนว่าจำเลยพาเด็กหญิงส.ไปเพื่อการอนาจาร คำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนกับคำเบิกความของจำเลยไม่ได้ยอมรับว่าจำเลยพรากเด็กหญิงส.อายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากความปกครองดูแลของนางป.มารดาเพื่อการอนาจารซึ่งเป็นข้อหาที่โจทก์ฟ้อง ส่วนการที่จำเลยมอบเงิน 7,000 บาท ให้แก่ ป. ก็เพื่อเป็นค่าทำขวัญเด็กหญิงส. ที่ถูกชายอื่นพาไปข่มขืนกระทำชำเรามิใช่การมอบให้เพราะเหตุอันเกิดจากการที่จำเลยสำนึกผิดในการกระทำ จึงไม่ใช่เหตุบรรเทาโทษตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 วรรคสอง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากเด็กหญิงส.อายุ 13 ปีเศษ ไปเสียจากความปกครองดูแลของ ป. ผู้เป็นมารดาเพื่อการอนาจารครบองค์ประกอบความผิดฐานพรากผู้เยาว์แล้ว หาจำต้องบรรยายว่าจำเลยกระทำอนาจารอย่างไรไม่ ฟ้องโจทก์สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ที่จำเลยอ้างว่าจำเลยสำคัญผิดในอายุของเด็กหญิงส. ว่าเกิน15 ปี แล้ว เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกามิใช่ข้อที่ได้ ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความไม่เคลือบคลุมของฟ้องอาญาและการสั่งแก้ฟ้องเพื่อตรวจสอบอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "เมื่อระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2536 ถึงวันที่ 12 กรกฎาคม2536 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองกับ ป. ซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญา โจทก์เพิ่งทราบความจริงเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2537"เป็นคำฟ้องที่ระบุวันเวลาที่บ่งว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดพอสมควรที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วและจำเลยทั้งสองก็นำสืบต่อสู้คดีโจทก์ไว้ ดังนั้น จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาได้ดีโดยมิได้หลงต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
วันที่รู้เรื่องความผิดไม่ใช่องค์ประกอบของความผิดและไม่ใช่รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งในชั้นตรวจคำฟ้องแม้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเพื่อทราบว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องและการจับกุม รวมถึงผลของการสอบสวนที่ไม่ชอบ
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเป็นปัญหาสำคัญ จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
การกระทำของจำเลยจะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็นเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้พิจารณาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน โจทก์ไม่จำต้องบรรยายและอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91มาในฟ้อง ก็เป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158
ประเด็นแห่งคดีมีว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ปัญหาที่ว่าการจับกุมจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคแรก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 เพียงแต่ห้ามไม่ให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใด ๆ ซึ่งเป็นการล่อลวง หรือขู่เข็ญ หรือให้สัญญากับผู้ต้องหาเพื่อจูงใจให้การอย่างใด ๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้นเท่านั้น หากพนักงานสอบสวนทำการฝ่าฝืนก็มีผลเพียงว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นใช้เป็นหลักฐานยันผู้ต้องหาในการพิจารณาไม่ได้ตามมาตรา 134 ไม่มีผลถึงกับทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามมาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องคดีอาญา: การบรรยายลักษณะการกระทำผิดและการร่วมกระทำความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทั้งสองครอบครองอาคารเพื่อพานิชกรรมและจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมดังกล่าวซึ่งครบองค์ประกอบความผิด มาตรา 21 ประกอบมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยมาตรา 70 ระบุถึงกรณีกระทำการดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มิใช่ดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรม จึงหาจำต้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อพาณิชยกรรมไม่ และที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดก็เข้าใจได้ในตัวเองแล้วไม่จำต้องบรรยายในรายละเอียดอีกว่าร่วมกันกระทำโดยตลอดหรือแบ่งหน้าที่กันทำอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องอ้างมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯเพราะมิใช่มาตราที่บัญญัติว่าการกระทำเช่นใดเป็นความผิด ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาทหลายกรรม การแยกพิจารณาเฉพาะกรรมที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 326, 328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกัน แต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรม มิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90เมื่อปรากฏว่าความผิดตามฟ้องข้อ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 (5) ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตาม ป.อ.มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดี แม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท การแบ่งแยกความผิดหลายกรรม และการพิจารณาเฉพาะข้อที่อยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326,328,83 ต่อศาลแขวง โดยบรรยายฟ้องแยกเป็น 3 ข้อ แต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ 1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ตามฟ้องข้อ 1 นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ 2 และข้อ 3 จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน 200,000 บาท เกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2887/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงพิจารณาคดีหมิ่นประมาท: แยกความผิดเป็นกรรมต่างได้ หากมีโทษไม่เกินอำนาจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326,328,83ต่อศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องแยกเป็น3ข้อแต่ละข้อวันเวลาเกิดเหตุต่างกันและการกระทำของจำเลยไม่เหมือนกันแต่ละกรรมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองจึงเป็นความผิดหลายกรรมมิใช่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทที่ศาลจะต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90เมื่อปรากฏว่าความผิดฟ้องข้อ1เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา15ประกอบด้วยมาตรา22(5)ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326ตามฟ้องข้อ1นี้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีแม้ว่าความผิดตามฟ้องข้อ2และข้อ3จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา328ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกิน200,000บาทเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1870/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องข้อหาผลิตยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: ความชัดเจนของการระบุการกระทำผิด
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายเพียงแต่บรรยายในฟ้องข้อก.ว่าจำเลยทั้งสองผลิตเฮโรอีนโดยวิธีแบ่งบรรจุส่วนฟ้องข้อ1ข.บรรยายว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนจำนวน23หลอดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้นหาได้หมายความว่าผลิตเฮโรอีนจำนวนดังกล่าวเพื่อจำหน่ายไม่จึงลงโทษจำเลยในข้อหาผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกฟ้องฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นกระทงความผิดต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องเป็น2ตอนข้อก.บรรยายว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน2ถุงกับอีก1กล่องน้ำหนัก67.8กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนกฎหมายและข้อข.บรรยายว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยได้จำหน่ายกัญชาให้แก่สายลับที่เข้าล่อซื้อจำนวน1ถุงน้ำหนัก21.8กรัมราคา400บาทอันเป็นยาเสพติดให้โทษส่วนหนึ่งที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายในข้อก.ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดต่างฐานกันการที่โจทก์แยกฟ้องเป็นข้อก.และข.จึงเห็นเจตนาของโจทก์ว่าขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่าได้กระทำผิดทั้ง2กรรมซึ่งเป็นความผิดต่างกันตามฟ้องจึงต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
of 188