คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาฐานแจ้งความเท็จต้องระบุรายละเอียดข้อความเท็จและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องชัดเจน มิฉะนั้นเป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน หรือแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ โดยไม่ได้กล่าวว่าครั้งแรกจำเลยแจ้งข้อความว่าอย่างไร และมิได้บรรยายว่าการแจ้งข้อความอย่างไหนเป็นความเท็จ อย่างไหนเป็นความจริง หรือความจริงเป็นอย่างไร เมื่อโจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงมาว่าข้อความใดเป็นความเท็จก็ยากที่จำเลยจะต่อสู้ได้ถูกต้อง จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุม ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดช่วยเหลือคนต่างด้าว: ความรู้เรื่องการเข้าเมืองผิดกฎหมายแสดงในตัวการกระทำ
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้ว่าคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แต่การที่ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยได้บังอาจช่วยเหลือซ่อนเร้นคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 อันเป็นการช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวพ้นจากการจับกุมก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยรู้ว่าคนต่างด้าวนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง และเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า: ฟ้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้มีการชำระหนี้บางส่วนก่อน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลงลายมือชื่อออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์ ซึ่งสินค้าดังกล่าวห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เป็นผู้ซื้อจากโจทก์ กับบรรยายว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดโจทก์นำเข้าเรียกเก็บ แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงเป็นฟ้องที่กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันกระทำความผิด แม้จะฟังว่าต้องมีบุคคลอื่นร่วมกระทำความผิดด้วย ทั้งที่ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยร่วมกันกระทำความผิดกับผู้ใด ก็เป็นเพียงความผิดหลงเล็กน้อยไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้ ส่วนที่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าเหตุใดจำเลยจึงออกเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ และเหตุใดจำเลยจึงต้องออกเช็คดังกล่าวชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบพิสูจน์ในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องบรรยายมาในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเช็คไปเรียกเก็บเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มิได้เกี่ยวข้องกับการชำระเงินตามเช็คซึ่งเป็นคนละกรณีกัน การที่มีการชำระหนี้บางส่วนตามเช็คพิพาทก่อนหรือหลังเช็คถึงกำหนด ไม่ทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายละเอียดฟ้องอาญา: เพียงพอให้จำเลยเข้าใจข้อหาหรือไม่? ศาลฎีกาชี้ ป.วิ.อ.ม.158(5) เน้นให้จำเลยเข้าใจข้อหา ไม่ต้องลงรายละเอียดทุกขั้นตอน
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ประสงค์แต่เพียงให้คำฟ้องมีรายละเอียดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาดีก็พอ เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดจำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงและไตร่ตรองไว้ก่อน จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยิงผู้ตายอย่างไร ใครเป็นผู้ยิงและผู้ตายถูกยิงที่ส่วนใดของร่างกายด้วยอาวุธชนิดใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างวรรคผิดในฟ้องอาญา ศาลมีอำนาจลงโทษตามบทที่ถูกต้อง และแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสาม มิได้ระบุขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสอง ให้สอดคล้องกับคำบรรยายฟ้อง เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างวรรคผิดเท่านั้น มิใช่เรื่องที่คำฟ้องของโจทก์ขัดแย้งกัน คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิ่งราวทรัพย์: การแย่งทรัพย์ขณะทำร้ายร่างกายและการขว้างทิ้งภายหลังไม่ทำให้ความผิดเปลี่ยนฐาน
การที่จำเลยที่ 1 กระชากสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองของโจทก์ร่วมไปในขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังทำร้ายโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 วิ่งอ้อมไปทางด้านหลังและขว้างสร้อยคอและพระดังกล่าวทิ้งที่พงหญ้ามีน้ำขังห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 เมตร ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 1 เช่นนี้ เป็นการแย่งการครอบครองทรัพย์ไปจากโจทก์ร่วมแล้ว และมีลักษณะเป็นการฉกฉวยซึ่งหน้าโดยทุจริต ซึ่งเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ การที่จำเลยที่ 1 ขว้างทรัพย์ทิ้งหลังจากวิ่งไปแล้ว 20 เมตร เป็นเจตนาที่เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ไปได้
ป.อ. มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ก็มิได้ระบุให้โจทก์ต้องอ้างด้วย ประกอบกับคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำของจำเลยที่ 1 ต่างเวลากัน แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำความผิดแต่ละส่วนแยกจากกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุ ป.อ. มาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 1 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องและความแตกต่างในชื่อผู้เสียหายไม่ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ร้อยตำรวจเอก ส. เป็นพนักงานสอบสวนในคดีที่ ต. ถูกจับกุมดำเนินคดีอาญา จำเลยเรียกและรับเงินจำนวน 5,000 บาท จาก ต. และ น. เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยจะจูงใจร้อยตำรวจเอก ส. โดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้ร้อยตำรวจเอก ส. กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ต. โดยการช่วยเหลือในทางคดี เพื่อทำให้ ต. หลุดพ้นจากความผิด เป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นถึงการกระทำและเจตนาของจำเลยว่าจำเลยเจตนาเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จำเลยอ้างว่าจะจูงใจเจ้าพนักงานไม่ให้ดำเนินคดีแก่ ต. และปล่อยตัวให้หลุดพ้นจากคดีอาญา เป็นการบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว ส่วนการที่จำเลยไปติดต่อหรือจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีใด หรือเจ้าพนักงานจะกระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือ ต. มิใช่องค์ประกอบแห่งความผิดนัดอันต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องผิดไปว่า นางนิตยา มั่งคั่ง เป็นผู้ที่ถูกจำเลยเรียกรับเงิน โดยทางพิจารณาได้ความว่านางนิตยา มั่นคง เป็นผู้ที่ถูกจำเลยเรียกรับเงิน แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์ก็ระบุชื่อนางนิตยา มั่นคง มาตลอด มิได้ระบุชื่อนางนิตยา มั่งคั่ง กรณีจึงอาจเป็นได้ว่าโจทก์พิมพ์คำฟ้องผิดพลาดถือว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย และข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยไม่หลงต่อสู้เพราะไม่ได้สืบพยานระบุถึงนางนิตยา มั่งคั่ง กรณีมิใช่เป็นเรื่องทางพิจารณาได้ความแตกต่างในสาระสำคัญที่ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการพิสูจน์ความผิดทางอาญา: คำรับสารภาพต้องสอดคล้องกับพยานหลักฐานประกอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 778 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 21.50 กรัม ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำให้การรับสารภาพ และศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดตามฟ้องจริง จึงจะลงโทษได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง และจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา โดยอ้างว่าข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นในการกระทำความผิดตามฟ้องเท่ากับอ้างว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้อง จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 2 ยื่นให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษ แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 2 ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 แต่งตั้งทนายความสู้คดี โดยทนายจำเลยที่ 2 เรียงและพิมพ์คำให้การจำเลยที่ 2 ใหม่ มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ขอให้การรับสารภาพตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ศาลชั้นต้นสอบคำให้การดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันตามคำให้การนี้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จะนำคำให้การฉบับแรกมาอ้างเพื่อให้ศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้โทษหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะคำฟ้องไม่ปรากฏว่าได้บรรยายถึงสายลับที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปถึงจำเลยเพื่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนไว้จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ มาในฟ้องดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ซึ่งเพียงพอทำให้จำเลยที่ 2 เข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนสายลับเป็นใคร เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หาทำให้ฟ้องเคลือบคลุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าและพาอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาต: การจำกัดขอบเขตการฟ้องและบทลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยกับพวกร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 และ 83 แม้โจทก์จะอ้างมาตรา 289 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายอย่างไร จึงมีลักษณะเป็นเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289 ศาลจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 289 ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้องและไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายเท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 และ 192 วรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตโจทก์มิได้นำสืบว่า อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่พวกของจำเลยใช้ในการพยายามฆ่าผู้เสียหายนั้น เป็นอาวุธปืนที่จำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีและให้พาติดตัวไปตามกฎหมาย ทั้งโจทก์ก็มิได้อาวุธปืนดังกล่าวมาเป็นของกลาง ในชั้นสอบสวนก็ไม่ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การจำเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เลย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้ คงลงโทษได้เพียงในความผิดฐานพาอาวุธติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 371 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: ตำแหน่งพนักงานอัยการและลายมือชื่อโจทก์
ฟ้องโจทก์หน้าแรกได้ระบุตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ไว้ชัดเจนว่า ข้าพเจ้า พนักงานอัยการจังหวัดสระบุรี โจทก์ และโจทก์ได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะโจทก์ท้ายฟ้องแล้ว จึงถือว่าฟ้องโจทก์มีตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์และลายมือชื่อโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (3) (7) โดยไม่จำต้องระบุว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นของบุคคลใดและระบุตำแหน่งพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในช่องที่โจทก์จะต้องลงลายมือชื่ออีก ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 188