คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนด้วยการหลอกลวงทางศาสนา ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยฎีกาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามครบองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ แม้ปัญหานี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์ในเวลากลางคืน หากโจทก์มิได้นำสืบ ศาลต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 19 มีนาคม 2548 เวลากลางคืนหลังเที่ยงถึงวันที่ 13 เมษายน 2548 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักทรัพย์หลายรายการรวมราคา 65,100 บาท ของผู้เสียหายซึ่งเก็บรักษาไว้ในเคหสถาน โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลและทรัพย์ แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีกว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้เห็นว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยโดยฟังว่าจำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์ – การครอบครองทรัพย์ก่อนกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานยักยอกเงินของผู้เสียหายระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 จำนวนเงิน 2,000 บาท และ 3,150 บาท โดยเงินดังกล่าวจำเลยได้รับจากผู้สมัครเรียนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ เป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายก่อนวันที่จำเลยได้ครอบครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์ไม่นำสืบเวลาเกิดเหตุ ศาลฎีกายกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2536 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 22 เมษายน 2536 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักเลื่อยโซ่ยนต์ของผู้เสียหายไป...แม้คำบรรยายของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่า วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาล เห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืนจึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาและสร้างความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ถือเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 และ 200
การวินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ดังเช่นกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล แต่เป็นเพียงการวินิจฉัยมูลความผิดตามที่กล่าวหาเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการที่วินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาคือมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอหรือไม่ที่จะนำผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชั้นสุดท้ายว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ดังนั้น การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งคดีของจำเลยทีมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการลงข้อความเป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย และในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลยพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและยังเห็นได้อีกว่าจำเลยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไมฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่นๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3053/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การเรียงกระทงความผิด และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องแต่ละกระทงระบุถึงวันเวลาที่จำเลยนำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าตามราคาที่ระบุไว้รวม 14 ครั้ง และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว ต่อมาวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด เดือนมีนาคม 2544 จำเลยได้เบียดบังเงินค่าสินค้าของผู้เสียหายที่ลูกค้าแต่ละรายชำระให้ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยไปตามจำนวนที่กล่าวในฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 150,720 บาท เป็นคำฟ้องที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยได้รับเงินค่าผ่อนชำระค่าสินค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งจำเลยย่อมจะทราบดีว่าจำเลยได้รับเงินจากลูกค้าแต่ละงวดเป็นจำนวนเท่าใด เพราะจำเลยเป็นผู้รับชำระจากลูกค้าด้วยตนเองอีกด้วย ฟ้องโจทก์แต่ละกระทงจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเรียงกระทงเป็นลำดับไปว่า ตามวันเวลาที่ระบุในฟ้องจำเลยได้นำสินค้าของผู้เสียหายแต่ละชนิดไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าแต่ละรายตามราคาที่ระบุไว้รวม 14 ครั้ง ด้วยกัน และลูกค้าแต่ละรายได้ผ่อนชำระค่าสินค้าให้แก่จำเลยตามจำนวนที่ระบุในฟ้อง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยยักยอกเงินค่าสินค้าของลูกค้าทั้ง 14 ราย ไปเมื่อวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด เดือนมีนาคม 2544 แต่เงินค่าสินค้าที่จำเลยยักยอกไปแต่ละครั้งนั้น เกิดจากการที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแต่ละรายต่างกรรมต่างวาระกัน และเป็นเงินค่าสินค้าแต่ละชนิดที่ลูกค้าชำระให้ต่างคราวกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 14 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาฐานรีดเอาทรัพย์ต้องระบุความลับที่ถูกข่มขู่ หากไม่ระบุฟ้องไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมให้เงิน 300,000 บาท แก่จำเลย โดยขู่เข็ญว่าหากผู้เสียหายไม่ยอมให้เงินจำนวนนั้น จำเลยจะนำภาพเปลือยของผู้เสียหายออกเปิดเผยจนผู้เสียหายยอมมอบเงิน 10,000 บาท แก่จำเลย โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่า ภาพเปลือยของผู้เสียหายที่จำเลยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยเป็นความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามเสียหาย ทั้งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ เพราะหากไม่ใช่ความลับที่เปิดเผยแล้วจะทำให้ผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามต้องเสียหายก็ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่าไม่ใช่ความลับที่ผู้เสียหายประสงค์จะปกปิดเอาไว้มิให้เปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 338 ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจการออกใบอนุญาตเครื่องกระสุนปืน: ขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เป็นข้อยกเว้นหากไม่ใช่ชนิดเจาะเกราะหรือกระสุนเพลิง
เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 2 (1) ที่กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม." และข้อ 2 (2) กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียวดังต่อไปนี้ (ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข) ปืนประจุปาก ปืนลูกซอง และปืนพลุสัญญาณ" จึงเห็นได้ว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น แม้หากจะรับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกลดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตามแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 55, 78

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพนันที่ไม่เข้าข่ายความเสี่ยงโชค: ผลการเล่นทราบแน่ชัด ทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา จำเลยเล่นการพนันสลากกินรวบ โดยถือเอาเลขท้ายสามตัวรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยประจำงวดวันที่ 16 มิถุนายน 2547 และถือเอาเลขท้ายสองตัวของดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ปิดในวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เป็นเกณฑ์ในการแพ้ชนะกัน โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ ตามคำฟ้องของโจทก์นั้นแสดงว่าในขณะกระทำความผิด ผู้เล่นได้ถือเอาผลของเลขท้ายสามตัวรางวัลที่หนึ่งของสลากกินแบ่งรัฐบาลไทยในงวดที่ทราบผลมาแล้ว และถือเอาดัชนีหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งจะทำการปิดตลาดหลักทรัพย์แต่ละวันในช่วงเวลาเช้า 12.30 นาฬิกา และในช่วงบ่ายเวลา 16.30 นาฬิกา และทราบเลขท้ายสองตัวดัชนีในเวลาปิดตลาดในแต่ละช่วงไล่เลี่ยกับเวลาปิดตลาดดังกล่าว ซึ่งในขณะที่เล่นการพนันในเวลาประมาณ 18 นาฬิกา ก็ทราบผลการเล่นแล้วเช่นกัน มาเป็นเกณฑ์ในการแพ้ชนะในการเล่นการพนัน ย่อมเป็นการฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดฐานเล่นการพนันอันจะต้องเป็นการเสี่ยงโชคและอาศัยผลที่ยังไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะกัน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรับของโจรต้องระบุหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องที่ขัดแย้งทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์ หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158
of 188