คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,873 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องขัดแย้งทำให้ฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รถจักยานยนต์เกิดขึ้นแล้ว เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องไม่สอดคล้องกันทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.เช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดหนี้ใหม่
การกระทำที่จะเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิด มิใช่เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ต้องระบุชัดว่าเป็นเจ้าของรถ
ความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคแรก และมาตรา 37 ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายจึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกเจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีช่วยเหลือคนต่างด้าวและรับเข้าทำงาน
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยได้ให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวโดยให้เข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. อันเป็นการช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม และบรรยายฟ้องข้อ ข. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน โดยรับเข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย โดยโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการรับคนต่างด้าวนั้นให้เข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยเพียงประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่ตามฟ้องข้อ ก. กลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ช่วยคนต่างด้าวด้วยประการอื่น ๆ อีก นอกจากการรับเข้าทำงานโดยให้คนต่างด้าวนั้นเข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7982/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องคดีอาญา แม้ไม่ได้ระบุรายละเอียดกฎกระทรวงออกตามกฎหมาย
ตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาของโจทก์และคำฟ้องที่ศาลชั้นต้นทันทึกไว้ โจทก์ได้ระบุการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดโดยบรรยายว่าจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์โดยไม่ติดเครื่องหมายคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ทั้งได้อ้างพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 11, 60 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่ารัฐมนตรีผู้มีอำนาจหน้าที่ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดให้ต้องมีและแสดงเครื่องหมายดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ถือว่าฟ้องของโจทก์ขาดข้อความสำคัญซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิด ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวีธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีป่าไม้ในศาลแขวง: ไม่ต้องแนบสำเนา กฎหมาย/ประกาศ หากระบุข้อเท็จจริงการกระทำผิดชัดเจน
โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา3 เมื่อตามบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกกับบันทึกการฟ้องด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลได้ความว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันมีถ่านไม้อันเป็นของป่าหวงห้ามจำนวน 643 กิโลกรัม ไว้ในครอบครองเพื่อการค้า เป็นการระบุข้อเท็จจริงที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำผิด แล้วหาจำต้องแนบสำเนาพระราชกฤษฎีกาและประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่ เพราะไม่ใช่สาระสำคัญอันทำให้ฟ้องด้วยวาจาไม่สมบูรณ์ คำฟ้องของโจกท์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5246/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ศาลฎีกาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง
จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้ออันเป็นเอกสารปลอม มาใช้ในการเครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีพิพาท เป็นความผิดตาม ป. รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ไม่ทราบว่าใบกำกับภาษีตามฟ้องเป็นใบกำกับภาษีปลอม ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การกระทำความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม ตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ต้องเป็นการใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีซื้อ อันเป็นเอกสารปลอมไปใช้ในการเครดิตภาษี หมายความว่าใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์อ้างว่าเป็นเอกสารปลอมนั้น เป็นใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและพิสูจน์ไม่ได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้ออก อันเป็นองค์ประกอบความผิดของ ป. รัษฎากร มาตรา 90/4 (7) เท่านั้น คำฟ้องโจทก์ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือมีการกระทำอื่นใดต่อเอกสารให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 266 หรือ 267 แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคแรก แม้โจทก์จะมีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตราดังกล่าว ประกอบมาตรา 83 และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เป็นความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอมตามมาตราดังกล่าว กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4908/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องด้วยวาจาต้องแจ้งบทมาตราความผิด การไม่แจ้งทำให้ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บทมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เป็นหลักเกณฑ์ที่สำคัญซึ่งโจทก์ต้องแจ้งต่อศาลเมื่อมีการฟ้องด้วยวาจาในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) ด้วยการที่โจทก์ไม่แจ้งต่อศาลชั้นต้นถึงบทมาตราแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ในขณะที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติดังกล่าว ย่อมทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 วรรคสอง แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นก็จะลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหลังพ้นตำแหน่งกรรมการพรรคการเมือง: กรอบเวลาและความผิด
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 42 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งเป็นกรรมการสาขาพรรคพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 มีสิทธิที่จะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 19 มิถุนายน 2545 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง หากจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินภายในกำหนดเงื่อนไขเวลาดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็จะไม่เป็นความผิด แต่ถ้าจำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนับตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2545 เป็นต้นไป ซึ่งเกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่พ้นตำแหน่ง จำเลยจึงจะมีความผิดตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าในระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2545 จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แม้การกระทำของจำเลยในช่วงเวลาตามฟ้องดังกล่าวยังไม่เป็นความผิด เพราะอยู่ในเงื่อนเวลาสามสิบวัน ที่ให้จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินได้แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่าการที่จำเลยไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินภายในสามสิบวันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาที่จำเลยกระทำความผิดพอสมควรให้จำเลยเข้าใจข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว
of 188