คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 200

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ปล่อยตัวผู้ต้องหาและของกลางโดยมิชอบ ศาลฎีกายืนโทษ
ตำรวจจับกุมและนำผู้ต้องหาพร้อมไม้ของกลางมาที่สถานีตำรวจและมอบให้แก่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน แต่จำเลยไม่ดำเนินการต่อไปตามหน้าที่ โดยเห็นว่านายอำเภอจะเอาไม้ไปทำฝายกั้นน้ำเพื่อสาธารณประโยชน์ จึงปล่อยตัวผู้ต้องหาและของกลางไป จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200
จำเลยกระทำความผิดเพราะเกรงใจเพื่อนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ในท้องที่เดียวกันขอร้องนำไม้ไปทำฝายเพื่อสาธารณประโยชน์และได้ความว่าไม้รายนี้ได้ทำฝายไปหมดแล้ว การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง จำเลยรับราชการมาใกล้จะครบเกษียณอายุโดยไม่ปรากฏว่าเคยกระทำผิดมาก่อน ศาลรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งงดไต่สวนมูลฟ้อง, ความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนทางวินัย, และการมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
ในศาลชั้นต้นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องไว้แล้ว เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่อ้างได้ การไต่สวนมูลฟ้องต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนย่อมมีอำนาจสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องได้ หาเกี่ยวกับอำนาจบังคับบัญชาไม่
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ – พยานให้การไม่ตรงกับข้อเท็จจริงยุติในคดีก่อน โจทก์ไม่มีพยานยืนยันความเท็จ
ในคดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องสิบตำรวจตรี ส.ในความผิดฐานฆ่านาย บ. ตายโดยเจตนา ศาลพิพากษาลงโทษสิบตำรวจตรี ส. คดีเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว โดยในคดีก่อนศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ขณะที่ผู้ตายถูกยิงล้มลงไป ไม่มีมีดอยู่ในมือผู้ตายการที่สิบตำรวจตรี ส. ยิงผู้ตายมิใช่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัว ข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีก่อนเท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่า การที่จำเลยให้การในชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จหาได้ไม่เมื่อโจทก์ไม่มีพยานนำสืบว่าความจริงเป็นดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจสั่งฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีตำรวจ คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ผู้รักษาการอธิบดีไม่มีอำนาจเปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฎิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้น ๆ เท่านั้น
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่าอธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ. กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก. รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน ซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ. กับพวก แล้วลอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ. กับพวกมิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้วเช่นนี้จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ. เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบงานอุทธรณ์ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการกอง7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดให้ฎีกาว่าให้ พ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมารับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเรื่องตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 15 ให้ พ.และย. มีอำนาจดำเนินคดีในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว พ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และพ.กับย. มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพยานในคดีอาญา และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 232 ที่บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานนั้น หมายถึงห้ามโจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานของโจทก์เท่านั้น ฉะนั้นถึ้งแม้ร้อยเอกจุลจะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสามมาก่อน ศาลก็ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ร้อยเอกจุลเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงอ้างร้อยเอกจุลเป็นพยานได้ โดยขณะที่ร้อยเอกจุลเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ ร้อยเอกจุลมิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิด ได้ทราบแล้วว่านายเซ่งเป็นคนยิงนายชาญตาย แต่ไม่ทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 200 ทั้งยังร่วมกันขนย้ายศพนายชาญผู้ตายไปทิ้งเพื่อปิดบังการตายอันเป็นความผิดตามมาตรา 199 นอกจากนี้ยังร่วมกันโกยเลือดนายชาญไปทิ้งที่อื่นอันเป็นความผิดฐานทำลายพยานหลักฐาานในการกระทำผิดตาม มาตรา 184 เช่นนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือ เพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกฟ้องจำเลยในคดีอาญาและการลงโทษกรรมเดียวฐานความผิดหลายบท
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232 ที่บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานนั้น หมายถึงห้ามโจทก์อ้างตัวจำเลยเป็นพยานของโจทก์เท่านั้น ฉะนั้นถึงแม้ร้อยเอกจุลจะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสามมาก่อนศาลก็ได้สั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ร้อยเอกจุลเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยทั้งสาม โจทก์จึงอ้างร้อยเอกจุลเป็นพยานได้โดยขณะที่ร้อยเอกจุลเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ ร้อยเอกจุลมิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจสืบสวนสอบสวนและจับกุมผู้กระทำผิด ได้ทราบแล้วว่านายเซ่งเป็นคนยิงนายชาญตาย แต่ไม่ทำการจับกุมอันเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200 ทั้งยังร่วมกันขนย้ายศพนายชาญผู้ตายไปทิ้งเพื่อปิดบังการตายอันเป็นความผิดตาม มาตรา 199 นอกจากนี้ยังร่วมกันโกยเลือดนายชาญไปทิ้งที่อื่นอันเป็นความผิดฐานทำลายพยานหลักฐานในการกระทำผิดตามมาตรา 184 เช่นนี้ แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามจะเป็นการกระทำหลายอย่าง แต่ก็ด้วยเจตนาอันเดียวกัน คือเพื่อช่วยเหลือมิให้ผู้กระทำผิดต้องรับโทษและเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นกรรมเดียวกัน แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของเจ้าของสิทธิที่ถูกละเมิดจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงานสอบสวน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้นได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้นดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน
บุตรโจทก์ถูก ส.ขับรถยนต์ชนถึงแก่ความตาย โจทก์จัดการแทนบุตรที่ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) จำเลยเป็นนายตำรวจผู้สืบสวนสอบสวนคดีนั้น ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ คือ จดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานโดยไม่ชอบ เพื่อช่วยเหลือ ส. มิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลง ถือว่าการกระทำผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง. จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,200
โจทก์ฟ้องจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องปรากฏว่าเป็นเพราะคำฟ้องคดีนั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ด้วยข้อหาเดียวกันนั้นต่อศาลชั้นต้นเดียวกันโดยบรรยายอำนาจฟ้องของโจทก์ให้ชัดขึ้น ดังนี้ สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ยังหาได้ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) ไม่ เพราะศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในการกระทำความผิดของจำเลย
การฟ้องกล่าวหาว่าเจ้าพนักงานจดคำพยานไม่ตรงกับคำให้การของพยานนั้น เมื่อมิได้บรรยายฟ้องให้ได้ความชัดว่าคำให้การของพยานคนไหนบ้าง และเป็นข้อความตอนใดที่จำเลยจดไม่ถูกต้องตรงกับที่พยานให้การอย่างไร ย่อมถือว่าเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631-2632/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เรียกรับเงินเพื่อออกบัตรประชาชน และความผิดของพนักงานฝ่ายปกครอง
กำนัน ปลัดอำเภอ เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดเสมียนปกครองไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองไม่มีหน้าที่จับผู้กระทำผิด
จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำบัตรประจำตัวให้ประชาชนได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียก และรับเงินจากราษฎรผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประชาชน พ.ศ. 2505 เพื่อจะได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนให้ และทั้งนี้เพื่อช่วยให้ราษฎรผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินั้นไม่ต้องรับโทษด้วยจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149จำเลยที่เป็นกำนันและปลัดอำเภอเป็นพนักงานฝ่ายปกครองมีหน้าที่สืบสวนมีความผิดตามมาตรา 200 ด้วย ส่วนเสมียนปกครองเป็นผู้สนับสนุนตามมาตรา 200 ประกอบด้วย มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงป้องกันตัวเกินสมควร, ความผิดเจ้าพนักงาน, การจัดการศพ: ความรับผิดทางอาญา
จำเลยมีปากเสียงกับพวกผู้ตายก่อนเกิดเหตุ เมื่อผู้ตายเดินมาหาพวก ซึ่งพากันออกมายืนหน้าร้านพร้อมกับจำเลย ผู้ตายก้มลงเก็บของตกห่างจำเลยประมาณ 2 วา จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุราอยู่ด้วย สำคัญผิดว่าผู้ตายจะทำร้ายตนจึงชักปืนยิงผู้ตาย เช่นนี้เป็นการเข้าใจโดยไม่มีเหตุอันควร และแม้ความสำคัญผิดจะเกิดจากความประมาทก็เป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวที่เกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด
ความผิดตามมาตรา 200ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้ หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบท เมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
of 5