พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ-การอุทธรณ์-ข้ออ้างเรื่องหลักฐานสัญญา-ความสงบเรียบร้อย
การที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 23 วรรคสอง บังคับให้ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็เพื่อที่จะให้รับฟังข้ออ้างหรือข้อเถียงของแต่ละฝ่ายเป็นที่ชัดแจ้งก่อน จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่จะต้องเสนอข้อเท็จจริงต่อศาล และไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องเรียกตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการมาไต่สวนด้วยก่อนมีคำพิพากษาแต่อย่างใด เมื่อคู่ความไม่นำอนุญาโตตุลาการเข้าเบิกความ ผู้คัดค้านจะฎีกาว่าศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนตัวอนุญาโตตุลาการหาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว