พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9570/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม ศาลไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเมื่อคำแถลงไม่ชัดเจน
ตามคำแถลงของโจทก์ โจทก์อ้างเพียงว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 309 ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรของจำเลย เป็นการจำกัดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราที่สูงสุดเท่านั้น โดยโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญบทมาตราใดและเพราะเหตุใด จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่มีเหตุผลสนับสนุน ประกอบกับท้ายคำแถลงดังกล่าวโจทก์มีคำขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำขอท้ายฟ้องแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยื่นคำแถลงดังกล่าวก่อนวันนัดฟังคำพิพากษาในลักษณะของการแถลงการณ์ปิดคดี เพื่อให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนการประเมินภาษีตามคำฟ้องเท่านั้น คำแถลงของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา 6 ประกอบด้วยมาตรา 264 ที่ศาลชั้นต้นจะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นยกคำแถลงแล้วพิจารณาคดีต่อไปจึงชอบแล้ว และเมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอใช้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ตามเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 ตามมาตรา 3แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 309 ฯ ตามการประเมินของเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้น: เหตุจำเป็นเร่งด่วนและเหตุผลสมควร
ข้อยกเว้นการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายค้น ของศาลว่า "ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 238 นั้น มิใช่จะต้องมีการออกกฎหมายบัญญัติขึ้นใช้ในภายหลังจากกฎหมายรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับแล้ว เท่านั้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 6 บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมายกฎ หรือข้อบังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับ มิได้ จึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวรับรองให้กฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ที่มีอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ถ้าโดยเนื้อหาไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ นี้แล้วก็ยังมีผลใช้บังคับได้ต่อไป ดังนั้น บทบัญญัติเรื่องการค้นในที่รโหฐานในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนย่อมใช้บังคับต่อไปได้
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุม ท. พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ดในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตำรวจอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทำให้เนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุม ท. พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ดในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตำรวจอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทำให้เนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลไม่ต้องส่งความเห็นขัดรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลจะส่งความเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัด หรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาล จึงให้รอการพิจารณา พิพากษาคดีไว้ชั่วคราวหาใช่กรณีถึงที่สุดแล้วแต่อย่างใดไม่ เพราะหากคดีถึงที่สุด แล้วย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะแม้ส่งไปและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ ก็ไม่อาจกระทบกระเทือนถึง คำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วตามมาตรา 264 วรรคท้าย
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 แม้จำเลยจะร้องขอและอุทธรณ์ต่อศาลให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยขึ้นมาพิจารณาใหม่ตามมาตรา 247 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุดแต่แท้ที่จริงคดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องของจำเลยหามีผลให้คดีที่ถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคสอง จะระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้แย้งใดของคู่ความว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ แต่การที่จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับและตีความบทกฎหมายอันเป็นการทั่วไปในเบื้องต้นที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการได้ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลล่างจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวเพื่อส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปได้
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 แม้จำเลยจะร้องขอและอุทธรณ์ต่อศาลให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยขึ้นมาพิจารณาใหม่ตามมาตรา 247 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุดแต่แท้ที่จริงคดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องของจำเลยหามีผลให้คดีที่ถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคสอง จะระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้แย้งใดของคู่ความว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ แต่การที่จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับและตีความบทกฎหมายอันเป็นการทั่วไปในเบื้องต้นที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการได้ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลล่างจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวเพื่อส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9500/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมวินิจฉัยคำโต้แย้งสิทธิเสรีภาพก่อนส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ - มาตรา 264 รธน.
คำโต้แย้งของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา นั้น เป็นคำสั่งที่ล่วงละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพในการดำเนินคดีของโจทก์ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 26,27,28,233 และ 249 นั้น มิใช่เป็นคำโต้แย้งว่า ตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ศาลยุติธรรมจะใช้บังคับแก่คดีขัดต่อรัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 6 บัญญัติไว้คำร้องของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯมาตรา 264 วรรคหนึ่ง แม้อำนาจในการสั่งรับหรือไม่รับคำโต้แย้งของคู่ความตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ไว้พิจารณา จะเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264 วรรคสอง แต่อำนาจในการวินิจฉัยว่า คำโต้แย้งของคู่ความเข้าหลักเกณฑ์ที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่นั้นเป็นอำนาจของศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง มิใช่ว่าโจทก์มีคำโต้แย้งอย่างไรแล้ว ศาลยุติธรรมจะต้องส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยเสมอไป