พบผลลัพธ์ทั้งหมด 108 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืนใจ และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลแก้ไขโทษปรับและรอการลงโทษ
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม นั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่าความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ส่วนความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง กับความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้ถูกข่มขืนใจหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น และข่มขืนกระทำชำเรานั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันโดยมุ่งหมายที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท นอกจากนี้ ศาลล่างทั้งสองมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836-7837/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่-ข่มขืนใจเสพยา-การเพิ่มเติมโทษ-การนับโทษกระทงความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิดแต่จำเลยกลับเป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยการร่วมเล่นการพนันไพ่รัมมี่ แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นไพ่รัมมี่ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
จำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทั้งสองเสพเมทแอมเฟตามีนโดยวิธีสูดรับเอาควันเข้าสู่ร่างกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 93 วรรคท้าย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสองฐานดังกล่าว โจทก์คงอุทธรณ์เฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคสองเท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ตามมาตรา 93 วรรคท้ายอันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษมาด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212
สำนวนแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจำคุก 8 เดือน สำนวนที่สอง ศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน ซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเมื่อศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วไม่อาจนับโทษต่อกันได้เพราะคดีทั้งสองสำนวนได้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้นำโทษฐานเสพเมทแอมเฟตามีนนับโทษต่อกันตามที่ถูกต้องได้
จำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนข่มขืนใจให้ผู้เสียหายทั้งสองเสพเมทแอมเฟตามีนโดยวิธีสูดรับเอาควันเข้าสู่ร่างกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 93 วรรคท้าย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้องทั้งสองฐานดังกล่าว โจทก์คงอุทธรณ์เฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคสองเท่านั้น ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ ตามมาตรา 93 วรรคท้ายอันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 เป็นการพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษมาด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212
สำนวนแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนจำคุก 8 เดือน สำนวนที่สอง ศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน ซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเมื่อศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วไม่อาจนับโทษต่อกันได้เพราะคดีทั้งสองสำนวนได้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกันไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้นำโทษฐานเสพเมทแอมเฟตามีนนับโทษต่อกันตามที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์ไม่ชัดเจน ยกประโยชน์แห่งความสงสัย ลดโทษฐานทำร้ายร่างกาย
พฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกกระทำต่อผู้เสียหายตั้งแต่เมื่อพบผู้เสียหายบนรถยนต์โดยสารจนกระทั่งมีคนมาช่วยเหลือผู้เสียหาย เป็นลักษณะของการกระทำที่ต้องการโอ้อวดบารมีแสดงอำนาจบาตรใหญ่เพื่อข่มเหงรังแกผู้เสียหายให้ผู้เสียหายเกรงกลัวโดยความคึกคะนองตามวิสัยของบุคคลที่ยังเยาว์วัย ด้วยความคิดอ่านและคิดว่าสิ่งที่กระทำไปนั้นคือสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น น่าจะไม่มีเจตนาที่จะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต ประกอบกับคำเบิกความของผู้เสียหายและ ฉ. พยานโจทก์ก็ยังมีข้อน่าสงสัยว่า จำเลยกระชากสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำขาดโดยเจตนาที่จะเอาไปโดยสุจริตหรือว่าสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายขาดเพราะจำเลยจับคอเสื้อผู้เสียหายกระชาก เป็นเหตุให้สร้อยคอทองคำและพระเลี่ยมทองคำตกหล่นหายไป แม้โจทก์จะมีคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยระบุว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาปล้นทรัพย์ แต่จำเลยก็ยังโต้เถียงว่าจำเลยไม่ได้ให้การรับสารภาพ ตามพฤติการณ์แห่งคดียังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่าจำเลยมีเจตนาเอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองคำของผู้เสียหายไปโดยทุจริตหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ ศาลลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดข่มขืนใจฯ ตามมาตรา 309 และการไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง การอุทธรณ์นอกเหนือจากคำฟ้อง
บันทึกที่มีข้อความว่าโจทก์ไม่ได้รู้เห็นข้อเท็จจริงในการซื้อขายที่ดินไม่เป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เพราะไม่ใช่หลักฐานที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแห่งสิทธิ จึงไม่เป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยข่มขืนใจโจทก์ให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง ศ.กับส. ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง แม้โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยมีมูลความผิดตามมาตรา 309 วรรคสองแต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 309 วรรคสอง มาในฟ้องกรณีไม่อาจลงโทษตามมาตรา 309 วรรคสองได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากคำฟ้อง ไม่เป็นข้อที่ได้ยกกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าคดีของโจทก์ถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิด พยายามชิงทรัพย์ ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน พยานหลักฐานไม่พอฟัง
จำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า "ถ้ามึงไม่ไป เอารถมาให้กู" นั้น แต่ผู้เสียหายมิได้ให้รถจักรยานยนต์แก่จำเลยไปและจำเลยมิได้แย่งเอารถจากผู้เสียหาย คำพูดของจำเลยจึงมีความหมายเพียงเพื่อต้องการบีบบังคับผู้เสียหายให้ขับรถไปส่งตนเท่านั้น มิได้มีเจตนาจะเอารถไปจากความครอบครองของผู้เสียหายในขณะนั้นแต่อย่างใด หากจำเลยประสงค์จะชิงเอารถที่ผู้เสียหายขับไป ก็น่าจะให้ผู้เสียหายขับรถไปในที่เปลี่ยวแล้วบังคับให้ผู้เสียหายลงจากรถหรือทำร้ายผู้เสียหาย ย่อมเป็นการสะดวกในการชิงทรัพย์มากกว่าที่จะบังคับให้ผู้เสียหายขับรถเข้าไปในเมือง ทั้งผู้เสียหายไม่เคยรู้จักจำเลยมาก่อนดังนั้นการที่จำเลยชักปืนออกมาจี้บังคับผู้เสียหาย น่าเชื่อว่าเพื่อให้ผู้เสียหายยอมตามและขับรถไปส่งในเมืองเท่านั้น หาใช่เพื่อให้ผู้เสียหายมอบรถจักรยานยนต์ให้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดต่อเสรีภาพตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง ขณะเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 5 เมตร ถ้าจำเลยถือปืนจ้องเล็งมายังเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจคงไม่ทันร้องบอกให้จำเลยวางปืนหรือยิงปืนขู่ก่อน จำเลยอาจยิงเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสองให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ทันที แต่ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลที่จำเลยถูกยิง และวิถีกระสุนปืนล้วนแต่เข้าทางด้านหลัง แสดงว่าจำเลยหันหลังวิ่งหนีและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิง น่าเชื่อว่าเมื่อจำเลยเห็นเจ้าพนักงานตำรวจ คงเกิดความกลัวตามสัญชาตญาณของคนร้ายและวิ่งหนีทันทีมิใช่ถือปืนจ้องไว้เฉย ๆ หรือจ้องจะต่อสู้เจ้าพนักงานตำรวจ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาไม่พอฟังลงโทษจำเลยฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลักทรัพย์เป็นสาระสำคัญของการปล้นทรัพย์ การข่มขืนใจต่างหากที่เข้าข่ายความผิดฐานข่มขืนใจ
จำเลยและพวกกับผู้เสียหายทั้งสี่เป็นนักศึกษาต่างสถาบันซึ่งมีเรื่องยกพวกทำร้ายร่างกายกันเป็นประจำในขณะที่สวมเครื่องแบบนักศึกษาแม้ไม่เคยรู้จักกันจำเลยกับพวกมีอาวุธปืนมีดและก้อนหินขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสี่ให้ถอดเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดซึ่งมีราคาเพียงเล็กน้อยที่ผู้เสียหายทั้งสี่สวมใส่อยู่ให้จำเลยและพวกผู้เสียหายทั้งสี่กลัวจึงยอมทำตามโดยเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวเป็นของใช้สำหรับนักศึกษาในสถานศึกษาของผู้เสียหายทั้งสี่ใช้เท่านั้นจำเลยและพวกย่อมไม่สามารถนำเสื้อฝึกงานและหัวเข็มขัดดังกล่าวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้จึงเป็นการกระทำโดยมิได้มุ่งประสงค์ต่อผลในการจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงมิได้มีเจตนาเอาทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่นหากแต่เป็นการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ทำไปด้วยความคะนองตามนิสัยวัยรุ่นที่ความประพฤติไม่เรียบร้อยเพื่อหยามศักดิ์ศรีของนักศึกษาต่างสถานศึกษาเท่านั้นเป็นการกระทำที่ขาดเจตนา ลักทรัพย์จึงไม่เป็นความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้กระทำตามที่จำเลยและพวกประสงค์โดยทำให้กลัวว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของผู้เสียหายทั้งสี่อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา309วรรคสองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานปล้นทรัพย์จึงต้องลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยมีเจตนาอวดอ้างหรือไม่ การลดโทษเนื่องจากวัยเยาว์และสภาพแวดล้อม
จำเลยใช้มีดจี้ผู้เสียหายและดึงสร้อยคอจากคอผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายส่งเสียงดัง จำเลยก็พูดว่าไม่ต้องร้อง คืนสร้อยให้แล้ว แล้วจำเลยคืนสร้อยให้ผู้เสียหายไปทั้งจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่าเหตุที่กระทำผิดเนื่องจากอยากลองและนึกสนุก แสดงว่าจำเลยกระทำโดยมิได้มีความประสงค์ต่อทรัพย์ที่แท้จริงแต่เพื่ออวดในทางที่ผิดด้วยความโง่เขลาตามประสาวัยรุ่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: แม้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงในชั้นพิจารณา ก็ไม่กระทบอำนาจเดิม
ป.ได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่และ ส.ในความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขัง ภ.โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตาม ป.อ.มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ และพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนได้ แม้จะไม่มีคำร้องทุกข์เพราะมิใช่คดีความผิดต่อส่วนตัว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการสอบสวนแล้วเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องพนักงานอัยการมีคำสั่งและฟ้องจำเลยทั้งสี่ในความผิดฐานดังกล่าว การสอบสวนและอำนาจฟ้องเป็นไปโดยชอบทุกขั้นตอน แม้ต่อมาในชั้นพิจารณาข้อเท็จจริงจะต่างจากฟ้องก็เป็นอำนาจศาลที่จะพิพากษาตามที่พิจารณาได้ความตามกฎหมาย หาเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนถึงอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน และอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์: การกระทำด้วยอารมณ์โกรธแค้น ไม่เข้าข่ายความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นการข่มขืนใจ
จำเลยกับผู้เสียหายเป็นนักศึกษาต่างสถาบัน นักศึกษาของสถาบันทั้งสองเคยมีเรื่องวิวาทชกต่อยกันเป็นประจำ จำเลยเคยถูกนักศึกษาสถาบันเดียวกับผู้เสียหายทำร้ายด้วยมีดได้รับบาดเจ็บ และเคยถูกถีบตกลงจากรถยนต์โดยสาร การที่จำเลยกระชากคอเสื้อและพูดขู่ผู้เสียหายให้ถอดเข็มขัดของผู้เสียหายให้จำเลยเมื่อพบกันในศูนย์การค้าโดยเข็มขัดดังกล่าวมีหัวเข็มขัดที่นักศึกษาสถาบันการศึกษาของผู้เสียหายใช้เท่านั้น และมีราคาเพียง 30 บาท ซึ่งจำเลยไม่สามารถนำไปใช้หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินได้ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องจำเลยกระทำไปด้วยอารมณ์โกรธแค้น มิได้ประสงค์ต่อผลในการแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าวโดยแท้จริงจึงเป็นการกระทำที่ขาดเจตนาลักทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ แต่การที่จำเลยขู่เข็ญให้ผู้เสียหายส่งเข็มขัดให้แก่จำเลย เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทำตามที่จำเลยประสงค์ โดยทำให้กลัวว่าจะทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยข้อหาชิงทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดินอันไม่อาจยอมความได้ การที่ผู้เสียหายเบิกความและยื่นคำร้องแต่ฝ่ายเดียวว่า การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาที่จะชิงทรัพย์ เพราะเป็นการเข้าใจผิดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และจำเลยเป็นนักศึกษาอยู่ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ถือได้แต่เพียงว่าเป็นคำแถลงที่ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยและขอให้ศาลปรานีจำเลยเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายกับจำเลยยอมความกัน