พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5428/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืนและบุกรุก: ข้อสงสัยในความสามารถในการมองเห็นและเจตนา
บ้านเกิดเหตุมีฝาทึบสูงเกือบถึงฝ้าเพดาน ไม่น่าเชื่อว่าแสงจันทร์จะส่องเข้าไปถึงได้ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าเห็นคนร้ายจำได้ว่าเป็นจำเลยขณะที่จำเลยกำลังออกประตูนั้นไม่น่าเชื่อเพราะขณะคนร้ายออกจากประตูบ้านคนร้ายหันหลังให้ผู้เสียหาย ประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนและคนร้ายกำลังหนีซึ่งน่าจะไปด้วยความรีบร้อน โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียว จำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปในบ้านและกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง ส่วนความผิดในข้อหาบุกรุกนั้น ก. เจ้าของบ้านเบิกความรับว่าเมื่อจำเลยเมาสุราจำเลยจะมานอนบนฉางข้าวเป็นประจำทั้งในวันเกิดเหตุเมื่อ ก. พบจำเลยนอนบนฉางข้าง ก. ก็มิได้ว่ากล่าว จึงเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าไปนอนบนฉางข้าวโดยวิสาสะ มิได้มีเจตนาบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2941/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถาน: เหตุอันสมควรและการพิสูจน์เจตนา การจำกัดขอบเขตการพิจารณาตามฟ้อง
จำเลยทั้งสองมายืนที่หน้าบ้านผู้เสียหายทั้งสอง ห่างบันไดขึ้นบ้านประมาณ1 วา แล้วจำเลยที่ 1 ร้องบอก ว. น้องผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอยู่บนบ้านว่า ที่ ว. ยืมเงินจำเลยที่ 1 มาและให้เด็กนำเงินไปคืนนั้นยังขาดอยู่ 100 บาท ว. ให้ผู้เสียหายที่ 2ลงไปพูดกับจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นเวลา 19 นาฬิกาเศษ แต่ผู้เสียหายที่ 2 กำลังคิดเงินให้ลูกจ้างตัดอ้อยอยู่ จำเลยทั้งสองก็เป็นญาติกับผู้เสียหายที่ 2 ด้วย จำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นไปบนบ้าน ไม่มีเจตนาจะมาตบตีผู้เสียหายที่ 2 ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุผลอันสมควร การที่ผู้เสียหายที่ 2 ลงจากบ้านไปพูดกับจำเลยที่ 1 แล้วเกิดโต้เถียงกันจนเกิดตบตีกันขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานบุกรุก
ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากจำเลยทั้งสองทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 แล้ว ผู้เสียหายที่ 1บอกจำเลยทั้งสองให้ออกไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ออกไปกลับด่าผู้เสียหายที่ 1 และทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกนั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
ข้อเท็จจริงที่ว่าหลังจากจำเลยทั้งสองทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 แล้ว ผู้เสียหายที่ 1บอกจำเลยทั้งสองให้ออกไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ออกไปกลับด่าผู้เสียหายที่ 1 และทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 อีกนั้น โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอนุญาตเข้าบ้าน: การบุกรุกห้องส่วนตัว แม้ได้รับอนุญาตเข้าพื้นที่ส่วนรวม
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปร่วมดื่มสุรากับอ.ภายในบ้านดังกล่าวก็เพียงอยู่ภายในบริเวณที่เป็นห้องโถงซึ่งมีสภาพเป็นห้องรับแขกเท่านั้นไม่มีผู้ใดอนุญาตให้จำเลยเข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะเป็นห้องส่วนตัวและโดยสภาพย่อมไม่ใช่สถานที่ที่บุคคลภายนอกหรือผู้เป็นแขกทั่วไปจะถือวิสาสะเข้าไปได้เมื่อจำเลยเข้าไปในห้องนอนผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปจำเลยย่อมมีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5029/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหะสถาน: ขอบเขตการอนุญาตและการเข้าถึงพื้นที่ส่วนตัว
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าไปร่วมดื่มสุรากับ อ.ภายในบ้านดังกล่าวก็เพียงอยู่ภายในบริเวณที่เป็นห้องโถงซึ่งมีสภาพเป็นห้องรับแขกเท่านั้นไม่มีผู้ใดอนุญาตให้จำเลยเข้าไปในห้องนอนของผู้เสียหายซึ่งมีลักษณะเป็นห้องส่วนตัวและโดยสภาพย่อมไม่ใช่สถานที่ที่บุคคลภายนอกหรือผู้เป็นแขกทั่วไปจะถือวิสาสะเข้าไปได้ เมื่อจำเลยเข้าไปในห้องนอนผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิอนุญาต และไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปจำเลยย่อมมีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2853/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานต้องมีเจตนาและเหตุอันสมควร การพิพากษาเกินคำขอในฟ้องเป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายเพื่อชมรายการโทรทัศน์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายนั้นยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรและมีเจตนารบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายถึงแม้ว่าในขณะที่จำเลยจะออกจากบ้านได้ถือโอกาสกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายก็ตามการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา364และเมื่อไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้แล้วจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(1)(3)ด้วย ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ฟังว่าเมื่อผู้เสียหายให้จำเลยกลับออกจากบ้านไปแล้วจำเลยใช้กำลังประทุษร้ายกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายเป็นกรณีที่จำเลยไม่ยอมออกจากบ้านผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายให้ออกไปจึงมีความผิดฐานบุกรุกนั้นเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคหนึ่งและวรรคสี่เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายถึงเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกด้วยเหตุดังกล่าวจึงลงโทษจำเลยด้วยเหตุนี้ไม่ได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2853/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกต้องมีเจตนาและเหตุอันสมควร ศาลยกฟ้องฐานบุกรุกเมื่อไม่มีเหตุอันสมควรและกระทำอนาจารหลังออกจากบ้าน
จำเลยเข้าไปนั่งชมโทรทัศน์ในบ้านผู้เสียหายโดยผู้เสียหาย ยินยอม ต่อมาผู้เสียหายให้จำเลยกลับออกไปโดยผู้เสียหาย เดินมาส่งจำเลยที่ประตูบ้าน เมื่อจำเลยเดินออกประตูบ้าน และผู้เสียหายกำลังจะปิดประตูบ้าน จำเลยกลับดึงบานประตูบ้าน ไว้แล้วใช้กำลังประทุษร้ายและกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรและมีเจตนา รบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายเพียงแต่เมื่อจำเลยจะออกจากบ้านผู้เสียหายจึงถือโอกาสกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาบุกรุกแต่เพียงว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายโดยไม่มีเหตุอันสมควรและกระทำการอันเป็นการรวบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขเท่านั้น ไม่ได้บรรยายถึงเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกเมื่อผู้เสียหายไล่ให้ออกแล้วด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกด้วยเหตุดังกล่าวจึงลงโทษจำเลยฐานบุกรุกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถาน แม้ได้รับความยินยอมจากผู้อื่น แต่เจ้าของบ้านเคยห้ามปรามไว้ ถือเป็นเหตุบุกรุก
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้ห้ามปรามไม่ให้จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วมอีกการที่จำเลยยังฝ่าฝืนเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วมแม้จะได้รับความยินยอมจากนางสาวน. บุตรสาวโจทก์ร่วมก็ตามถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหะสถาน แม้ได้รับความยินยอมจากบุตรสาว ก็ยังถือเป็นความผิด
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้ห้ามปรามไม่ให้จำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วมอีก การที่จำเลยยังฝ่าฝืนเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วม แม้จะได้รับความยินยอมจากนางสาว น. บุตรสาวโจทก์ร่วมก็ตาม ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการพิจารณาความรุนแรงของบาดเจ็บที่ดั้งจมูกเพื่อประกอบการพิจารณาความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูกและรักษาโดยกินยามาตั้งแต่วันเกิดเหตุจนปัจจุบันเป็นเวลานานถึง10เดือนเศษการที่ผู้เสียหายมิได้รักษาโดยวิธีผ่าตัดคงเอายามากินที่บ้านจนปัจจุบันแสดงว่าผู้เสียหายสามารถไปทำงานหรือทำธุรกิจอื่นได้จึงยังไม่พอฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส สถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพักซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา1(4)