พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14704/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การพิสูจน์สิทธิโดยการส่งมอบการครอบครองและการมีเหตุผลอันสมควร ทำให้ไม่มีเจตนาบุกรุก
โจทก์และจำเลยยังนำสืบโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในการครอบครองที่ดินพิพาทกันอยู่ แม้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 6869 แต่ก็รับว่าไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโดยการส่งมอบการครอบครอง และมีกรณีฟ้องร้องเพราะเหตุที่มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 2434 โดยไม่ชอบทับที่ดินของบุคคลอื่นอีกหลายคดี ซึ่งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์แบ่งแยกมาจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว เท่ากับจำเลยยืนยันโดยมีเหตุผลตามสมควรว่า จำเลยมีสิทธิครอบครอง เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวโต้แย้งกันทางแพ่ง จึงต้องรับฟังว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิด การกระทำของจำเลยย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12082/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษและยืนตามบทลงโทษที่หนักกว่า
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันบุกรุกเข้าไปในที่ดินของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร แล้วร่วมกันตัดต้นแสมของผู้เสียหาย และมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 358, 362, 365 แม้ในคำฟ้องจะไม่ได้บรรยายมาด้วยว่าเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุขก็ตาม แต่ในคำฟ้องระบุว่ามีการเข้าไปตัดฟันต้นแสม ย่อมมีความหมายบ่งชี้ชัดอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการเข้าไปรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุขอยู่แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
เมื่อตามฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์รวมกันมาเป็นกรรมเดียว และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวทุกกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 83 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 358 ประกอบมาตรา 83 จำคุกคนละ 4 เดือน และปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษคนละ 2 ปี ส่วนความผิดฐานบุกรุกให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษในฐานความผิดตามฟ้องจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินกำหนดดังกล่าว ทั้งมิใช่กรณีที่เป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 แม้โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษารับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่คำร้องดังกล่าวระบุขอให้รับรองให้ฎีกาเฉพาะคำขอส่วนแพ่ง และผู้พิพากษามีคำสั่งว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรสู่ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกา ดังนี้ จึงเป็นการที่ผู้พิพากษาให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะคดีในส่วนแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองสถานหนัก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
เมื่อตามฟ้องของโจทก์บรรยายถึงการกระทำผิดของจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์รวมกันมาเป็นกรรมเดียว และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษในความผิดดังกล่าวทุกกรรมตาม ป.อ. มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ประกอบมาตรา 83 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุกคนละ 4 เดือน ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 358 ประกอบมาตรา 83 จำคุกคนละ 4 เดือน และปรับคนละ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษคนละ 2 ปี ส่วนความผิดฐานบุกรุกให้ยกฟ้องนั้น จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษในฐานความผิดตามฟ้องจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยังคงลงโทษจำเลยทั้งสองไม่เกินกำหนดดังกล่าว ทั้งมิใช่กรณีที่เป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 แม้โจทก์ร่วมจะยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษารับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่คำร้องดังกล่าวระบุขอให้รับรองให้ฎีกาเฉพาะคำขอส่วนแพ่ง และผู้พิพากษามีคำสั่งว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ควรสู่ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ฎีกา ดังนี้ จึงเป็นการที่ผู้พิพากษาให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเฉพาะคดีในส่วนแพ่งเท่านั้น ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองสถานหนัก เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา จึงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8163/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน: บุกรุก-กระทำอนาจาร และ บุกรุกเพื่อประทุษร้าย ถือเป็นคนละกรรม
จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านที่เกิดเหตุและกระทำอนาจารผู้เสียหายแล้วออกจากบ้านไป ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว จากนั้นจำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านที่เกิดเหตุโดยมีวัตถุของแข็งอีกครั้งเพื่อประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาบุกรุกเข้าไปเพื่อที่จะทำร้ายผู้เสียหาย อันเป็นเจตนาที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่แยกต่างหากจากเจตนาบุกรุกบ้านที่เกิดเหตุและกระทำอนาจารผู้เสียหายในตอนแรกซึ่งสำเร็จไปแล้ว แม้การกระทำของจำเลยจะต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน แต่ก็เป็นการกระทำต่างเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12265-12266/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเช่า - การใช้สิทธิโดยชอบตามสัญญา - ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก/ลักทรัพย์
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 มีข้อความระบุชัดเจนว่ามีกำหนดอายุของสัญญาเช่าเป็นเวลา 15 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2529 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2544 ซึ่งเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสัญญาเช่าทุกฉบับมีข้อตกลงในข้อ 7.9 ว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยสาเหตุประการใดก็ตาม ผู้เช่าจะต้องออกจากสถานที่เช่าทันที ผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่า ขนย้ายทรัพย์สินของผู้เช่าออกจากสถานที่เช่าได้โดยปราศจากความรับผิดใด ๆ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์ร่วมที่ 1 กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2544 ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการต่อสัญญาเช่าหรือทำสัญญาเช่ากันใหม่ การที่จำเลยที่ 1 กับพวกกลับเข้าครอบครองพื้นที่เช่าโดยใช้ไม้กระดานปิดกั้นและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ในที่อื่นและพร้อมกับปิดประกาศ ณ บริเวณพื้นที่เช่าชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 ว่า สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน จึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบตามข้อตกลงแห่งสัญญาเช่า การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และฐานทำให้เสียทรัพย์ สำหรับข้อหาลักทรัพย์ ได้ความจากพยานโจทก์และโจทก์ร่วมที่ 1 ว่ามีการรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ออกจากพื้นที่เช่าไปเก็บไว้ที่ลานจอดรถชั้นที่ 3 และโกดังชั้นที่ 6 บางส่วนนำไปไว้ที่ทิ้งขยะชั้นล่าง แต่ไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าจำเลยทั้งหกเอาไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ร่วมที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 กับพวกรื้อถอนและขนย้ายทรัพย์สินออกจากพื้นที่เช่าก็เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้เพื่อให้ผู้ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของนำหลักฐานไปรับทรัพย์สินคืน และยังอ้างด้วยว่าทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาถือว่าจำเลยทั้งหกขาดเจตนาทุจริต จึงไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
อนึ่ง ตามฟ้องโจทก์ขอคืนของกลางตามบัญชีทรัพย์ที่ตรวจพบแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีคำสั่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์เป็นของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงให้คืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9) ส่วนการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์อื่น ๆ เมื่อจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์
อนึ่ง ตามฟ้องโจทก์ขอคืนของกลางตามบัญชีทรัพย์ที่ตรวจพบแก่โจทก์ร่วมที่ 1 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้มีคำสั่งเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์ของกลางตามบัญชีทรัพย์เป็นของโจทก์ร่วมที่ 1 จึงให้คืนแก่เจ้าของตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9) ส่วนการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์อื่น ๆ เมื่อจำเลยทั้งหกไม่ได้กระทำผิด จึงไม่มีหน้าที่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10542/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินงอกริมตลิ่ง vs. สาธารณสมบัติ: การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ต้องมีเจ้าของเป็นเอกชน
ผู้เสียหายเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) บริเวณที่ดินพิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แต่ปรากฏว่าระหว่างที่ดินพิพาทและที่ดินของผู้เสียหายมีถนนสาธารณะกั้นตลอดแนว ทำให้ที่ดินพิพาทไม่ติดกับที่ดินของผู้เสียหายเนื่องจากมีทางสาธารณะคั่น ที่ดินพิพาทจึงมิใช่ที่งอกริมตลิ่งไม่ตกเป็นทรัพย์สินของผู้เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1308 ที่ดินพิพาทจึงเป็นชายตลิ่งอันเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่จำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ซึ่งมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ที่เอกชนเป็นเจ้าของเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7479/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุก: การเข้าไปในบ้านผู้อื่นโดยไม่มีเจตนาบุกรุก และการไม่ออกทันทีหลังถูกไล่
แม้ได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดในบริเวณบ้านของผู้เสียหายและสอบถามหาผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายออกจากห้องครัวมา จำเลยสอบถามเรื่องไก่ของจำเลยที่หายไปและให้ผู้เสียหายดูแลคนงานของผู้เสียหายให้ดี ๆ จนเกิดการโต้เถียงกัน ผู้เสียหายไล่ให้จำเลยออกจากบ้าน จำเลยยังไม่ยอมออก จากนั้นประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยจึงเดินไปที่รถจักรยานยนต์ของจำเลย ขับออกไปจากบ้านผู้เสียหาย แต่เมื่อพิจารณาลักษณะและสภาพที่ตั้งบ้านของผู้เสียหาย เป็นบ้านชั้นเดียว มีเสารั้วปูนปักรั้วล้อมรอบและขึงด้วยลวดหนามเว้นช่องทางเข้าบ้านไว้ ไม่มีประตูกั้น ถนนหน้าบ้านผู้เสียหายไม่ได้หวงกั้น บุคคลใดจะเข้าออกก็ได้และเป็นการสะดวกแสดงว่าผู้เสียหายมิได้หวงห้ามในการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปในบริเวณบ้านของผู้เสียหาย และที่จำเลยเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องไก่ที่หายไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปเพื่อสอบถามผู้เสียหาย เมื่อเกิดมีการโต้เถียงกันและผู้เสียหายไล่จำเลยออกไป แม้จำเลยยังไม่ออกไปทันที แต่หลังจากนั้นไม่นานเพียงประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยก็เดินไปที่รถจักรยานยนต์แล้วขับออกไปจากบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวนั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิได้เข้าไปได้ไล่ให้ออก อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553-5554/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมกลุ่มคัดค้านการสร้างเขื่อนเพื่อปกป้องระบบนิเวศและวิถีชีวิต ประชาชนมีสิทธิคัดค้านและใช้สิทธิโดยชอบธรรม
จำเลยที่ 2 กับพวกได้รวมกลุ่มคัดค้านด้วยความสงบโดยปราศจากอาวุธและมิได้ใช้กำลังประทุศร้ายใด ๆ ได้พยายามที่จะขจัดความเดือนร้อนด้วยการยื่นข้อเรียกร้องในทางรัฐบาลและผู้เสียหายลงไปแก้ปัญหาแล้ว โดยข้อเรียกร้องดังกล่าวก็สมเหตุสมผลและเป็นที่ประจักษ์ชัดว่ามีอยู่จริง แต่ไม่เป็นผลและไม่เคยได้รับคำตอบจากรัฐบาลจำเลยและผู้เสียหาย ทั้งตามพฤติการณ์ในขณะนั้นก็ไม่มีวิธีการอื่นใดเลยที่จำเลยทั้งสองกับพวกจะพึงกระทำได้โดยชอบเพราะการสร้างเขื่อนขวางกั้นแม่น้ำและระเบิดหินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน อันเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โดยตรงกำลังดำเนินอยู่อย่างชัดแจ้ง หากกระทำไปแล้วย่อมยากแก่การแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิมได้ จึงถือเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การกระทำของจำเลยที่ 2 และพวกแม้เป็นการมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานบอกให้เลิกไม่ยอมเลิกตาม ป.อ. มาตรา 215, 216 และร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 ก็เป็นการกระทำด้วยความจำเป็นที่ต้องรวมกลุ่มกันและเข้ายึดพื้นที่ที่มีการสร้างเขื่อน จึงจะสามารถระงับยับยั้งภยันตรายดังกล่าวได้ และการกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกปราศจากอาวุธและมิได้ใช้ความรุนแรงใด ๆ ก็เป็นการพอสมควรแก่เหตุ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 67
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามกรรโชกทรัพย์ การบุกรุกเคหสถาน และการลดโทษทางอาญา
ขณะเกิดเหตุ ร้านเสริมสวยของผู้เสียหายที่ 1 ยังเปิดให้บริการอยู่ ประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยทั้งสองมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ไม่ถือเป็นเคหสถาน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองกับพวกเข้าไปในร้านดังกล่าวแล้วร่วมกันพยายามกรรโชก และใช้กำลังทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13838/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยเรื่องอำนาจโจทก์ ไม่ใช่ความผิดจำเลย สิทธิฟ้องไม่ระงับ
คดีก่อนศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า ท. โจทก์มิใช่เป็นผู้ได้รับความเสียหาย จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 เห็นได้ว่า คดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยถึงการกระทำของจำเลยทั้งสามตามข้อกล่าวหาของโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำพิพากษาที่ได้วินิจฉัยในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันจะเป็นเหตุให้สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ระงับสิ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดหินในเขตประทานบัตร: ไม่ใช่ลักทรัพย์ แต่เป็นการละเมิดสิทธิและบุกรุก
หิน 2,000 ลูกบาศก์เมตร ตามบัญชีทรัพย์ถูกประทุษร้ายเป็นหินที่ประเมินจากความเสียหายจากหินที่ถูกคนร้ายขุดขึ้นมา มิใช่หินที่โจทก์ร่วมขุดขึ้นมากองไว้แต่อย่างใด หินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นหินแกรนิตที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเป็นทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของแต่บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการเข้ายึดถือเอา การที่บริษัท ก โจทก์ร่วมได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่เป็นการผูกขาดจากรัฐ โจทก์ร่วมจึงมีสิทธิเพียงว่า ถ้าจะขุดหินแกรนิตจากพื้นดินที่ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าถือเอาได้โดยไม่มีการหวงห้ามเสมือนบุคคลที่ไม่ได้รับประทานบัตร แต่จะมีกรรมสิทธิ์ในหินแกรนิตได้จะต้องมีการเข้ายึดถือเอาอีกชั้นหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ร่วมยังมิได้เข้ายึดถือ ถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1318 โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นเจ้าของหินแกรนิต การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าขุดหินแกรนิตซึ่งฝังอยู่ในดินโดยจำเลยที่ 4 ซึ่งมีที่ดินอยู่ใกล้กับเขตประทานบัตรของโจทก์ร่วมเป็นผู้ขายหินแกรนิตให้กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงการละเมิดสิทธิของโจทก์ร่วมตามประทานบัตรที่จะเข้ายึดถือเอาหินแกรนิตในเขตประทานบัตรเท่านั้น มิใช่เป็นการลักเอาทรัพย์ซึ่งเป็นหินแกรนิตของโจทก์ร่วมแต่อย่างใด
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย
พื้นที่เกิดเหตุเป็นเขตประทานบัตร ผู้มีสิทธิขุดหินคือผู้ขอประทานบัตรและผู้รับช่วงประทานบัตร แม้ขณะเกิดเหตุจะอยู่ในช่วงขออนุญาตหยุดทำเหมืองแร่ก็ตาม แต่บุคคลที่เข้าไปในเขตประทานบัตรได้ก็คือบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าโจทก์ร่วมยังมีเจตนาที่จะยึดถือครอบครองที่ดินในเขตประทานบัตรอยู่ตลอดเวลาที่มีการอนุญาตให้หยุดทำการเหมืองแร่ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าไปขุดตักหินแกรนิตในเขตประทานบัตร ของโจทก์ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาตจนเป็นเหตุให้บริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหายมีลักษณะเป็นหลุมบ่อกระจายอยู่โดยรอบเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 2 งาน ย่อมเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุขตาม ป.อ. มาตรา 362 และฐานร่วมกันบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ กระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า ทั้งยังมีความผิดฐานเข้าไปทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่ในเขตประทานบัตรตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 12, 133 ด้วย