พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5483/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองร้านเช่าพิพาท: สิทธิของผูเช่าเมื่อถูกจำเลยกีดกันการเข้าใช้ประโยชน์
โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านอาหารพิพาทจากจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 กับชายคนหนึ่งซึ่งพกอาวุธปืนติดตัวได้พากันไปที่ร้านอาหารพิพาทซึ่งมีลูกจ้างโจทก์เฝ้าดูแลอยู่ จำเลยที่ 2 สั่งลูกจ้างโจทก์ให้ออกจากร้านมิฉะนั้นจะปิดกุญแจขัง ลูกจ้างโจทก์กลัวจึงยอมออกจากร้าน จำเลยที่ 2 ได้ปิดกุญแจร้านอาหารพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถประกอบกิจการร้านอาหารและไม่สามารถนำอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ของโจทก์ซึ่งซื้อมาใช้ในการประกอบกิจการออกจากร้านอาหารพิพาทได้หลังจากนั้นอีก 3 ถึง 4 วัน จำเลยที่ 1 ได้ให้บุคคลอื่นเข้าทำกิจการร้านอาหารพิพาทแทน โจทก์ยังได้นำสืบอีกว่าไม่เคยค้างชำระค่าเช่าจำเลยที่ 1 ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องเกี่ยวกับความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362,364 และ 365 จึงมีมูล ศาลล่างทั้งสองด่วนวินิจฉัยว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่า จำเลยที่ 1จึงมีอำนาจกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าตามสัญญา จึงไม่ชอบ
จำเลยที่ 2 ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
จำเลยที่ 2 ให้ จ.ออกจากร้านอาหารพิพาทเพื่อปิดร้าน มิใช่การกระทำเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การกระทำความผิดกรรมเดียวกัน แม้ต่างฐานความผิด สิทธิฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(4)
ความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐในคดีก่อนกับความผิดตามฟ้องคดีนี้ ระยะเวลาที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุและการกระทำของจำเลยเป็นครั้งเดียวกัน แม้ฐานความผิดจะต่างกันก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยในการกระทำความผิดดังกล่าวจนศาลพิพากษาลงโทษคดีถึงที่สุดไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้อง ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) โจทก์มาฟ้องจำเลยอีก แม้จะอ้างบทลงโทษตาม พ.ร.บ. แร่ ก็เป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7578/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทหลังสัญญาขายฝาก: โจทก์ยังไม่ได้ครอบครอง จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่ พ. แต่ พ. ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมา พ. ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ก็เป็นเพียงดำเนินการทางทะเบียนเท่านั้น โจทก์ยังมิได้ครอบครองที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกได้ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการเข้าข่ายความผิดต่อเสรีภาพ: อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน, เหตุสมควร, และเจตนา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคหนึ่ง และมาตรา 310 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับจึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ แต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรี และคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวให้จึงเป็นการมิชอบ ต้องถือว่าความผิดต่อเสรีภาพตามฟ้องของโจทก์ เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในปัญหาดังกล่าวอีกต่อไป
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจดับเพลิงไปจับกุมโจทก์ที่บ้านพักของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดอาญา และแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้ว จำเลยที่ 3 จึงมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับทั้งจำเลยที่ 3 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีในข้อหาความผิดดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1) และมาตรา 92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับได้ ไม่เป็นความผิดต่อเสรีภาพ
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไป จำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบกระทั่งต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย
โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกล่าวหาว่า แจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานโจทก์จึงตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกหรือจับกุมโจทก์ไปดำเนินคดีได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดที่โจทก์ถูกกล่าวหาพาจำเลยที่ 3 ไปจับกุมโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะมีเจตนาเร่งรัดเพื่อให้มีการสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อย่างรวดเร็ว ก็ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ หลังจากที่จำเลยที่ 3 ควบคุมตัวโจทก์ไปส่งให้พนักงานสอบสวน โจทก์ก็ได้รับอนุญาตจากพนักงานสอบสวนให้ประกันตัวไปในวันเดียวกัน พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การเริ่มต้นการกระทำความผิดและการถือครองต่อเนื่อง
จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมโดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทน กับทำพื้นห้องพิพาทใหม่นั้น เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถาน, ข่มขืนใจ, และขู่เข็ญ: การพิจารณาความผิดและบทลงโทษ
โจทก์ฎีกาคัดค้านว่าจำเลยกับพวกกระทำความผิดฐานร่วมกัน บุกรุกเคหสถานของผู้เสียหาย โดยมีอาวุธและในเวลากลางคืน ซึ่งข้อหานี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาว่า จำเลยกับพวกมิได้กระทำ ความผิดและยุติแล้ว จึงเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จำเลยกับพวกร่วมกันเข้าไปในเคหสถานของผู้เสียหายอีกคนหนึ่งในเวลาประมาณเที่ยงคืนในขณะที่ผู้เสียหายดังกล่าว เข้านอนแล้ว แม้จะมีเจตนาเพียงตามหาคนโดยไม่ได้แสดงอาการ ข่มขู่หรือทำร้ายผู้เสียหายดังกล่าวก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการ เข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควรอันเป็นการกระทำความผิดตามข้อหา ที่โจทก์กล่าวอ้างแล้ว แม้ผู้เสียหายจะเบิกความว่าไม่กลัวต่อการขู่เข็ญของจำเลย ก็ตาม แต่ตามลักษณะการกระทำของจำเลยที่ใช้อาวุธปืนขู่ ผู้เสียหาย มิให้เกี่ยวข้องห้ามปรามหรือหยุดยั้งการกระทำของ จำเลยทั้งสามกับพวก โดยปกติย่อมทำให้เกิดความกลัวหรือ ความตกใจและผู้เสียหายก็ไม่กล้าขัดขืนหรืออีกนัยหนึ่งยอมปฏิบัติตามคำขู่เข็ญ แสดงให้เห็นได้ในตัวว่าการขู่เข็ญของจำเลยทำให้เกิดผลคือทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวแล้วการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือตกใจโดยการขู่เข็ญตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392 แล้ว จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเคหสถานและข่มขืนใจผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 364 และมาตรา 309 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อความผิดทั้งสองฐานมีโทษเท่ากัน จึงลงโทษเพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินและการพิสูจน์การครอบครองหลังประกาศ คณะปฏิวัติ
ความผิดฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362 กฎหมายมุ่งลงโทษผู้ที่บุกรุกเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ส่วนการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96ใช้บังคับ คือวันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ได้ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9(1),108 ที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้เช่าที่ดินช่วงเทศกาล ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก หากมีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่า
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุกคดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ใช้ที่ดินไม่ถือเป็นการบุกรุก กรณีพิพาทค่าเช่าเป็นเรื่องแพ่ง
โจทก์ยินยอมให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์ ดังนี้การที่จำเลยเข้าปลูกร้านค้าเพื่อขายของในที่ดินของโจทก์จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก คดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
เหตุที่โจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์เนื่องมาจากโจทก์ขอเก็บเงินค่าที่ดินตามเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์ให้บุคคลภายนอกเข้ามาเช่าปลูกร้านค้าขายของ แต่จำเลยไม่ยอมจ่ายค่าเช่าที่ดินแก่โจทก์จึงเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันในทางแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เช่าที่ดินเป็นรายวันและในวันเกิดเหตุโจทก์ให้จำเลยรื้อถอนเต็นท์ออกไปจากที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์แล้วกลับเข้ามาใหม่อีกพฤติการณ์จึงเป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเนื่องมาจากวันเกิดเหตุ ย่อมไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากพยานหลักฐาน การยืนยันตัวผู้เสียหาย และความต่อเนื่องของการกระทำผิด
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายรู้จักจำเลย เคยพูดกับจำเลย จำเลยเคยมาขอน้ำดื่มที่บ้านพักผู้เสียหาย และนับแต่จำเลยเข้ามารัดคอผู้เสียหายจนกระทั่งลากคอไปบริเวณลานข้าวเปลือกแล้วเดินหนีใช้เวลาประมาณ 20 นาที อันเป็นระยะเวลานานพอที่ผู้เสียหายจะจำหน้าจำเลยได้เพราะจำเลยได้กระทำผิดในลักษณะประชิดตัวผู้เสียหายโดยตลอดแม้ผู้เสียหายเป็นคนสายตาสั้นต้องสวมแว่นตาก็หาเป็นเหตุให้ผู้เสียหายจำจำเลยผิดคนไปได้ไม่ ทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยได้พูดขู่มิให้ผู้เสียหายส่งเสียงดังมิฉะนั้นจะใช้มีดแทง ย่อมทำให้ผู้เสียหายจำเสียงพูดของจำเลยได้ และตอนผู้เสียหายไปแจ้งความก็ระบุว่ารู้จักตัวจำเลยโดยเป็นคนงานเก็บขยะของสุขาภิบาลอำเภอโพธิ์ทอง กับได้บอกลักษณะรูปร่างของจำเลยว่ารูปร่างเตี้ย นอกจากนี้เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำตัวจำเลยกับพวกรวม5 คน ซึ่งเป็นคนงานเก็บขยะไปให้ผู้เสียหายชี้ตัว ผู้เสียหายก็ชี้ว่าจำเลยเป็นคนที่ทำร้ายผู้เสียหายโดยไม่ลังเลใจ เมื่อผู้เสียหายไม่มีสาเหตุกับจำเลยจึงไม่มีเหตุจะระแวงว่าผู้เสียหายกลั่นแกล้งปรักปรำจำเลยให้ได้รับโทษแต่อย่างใด ส่วนเรื่องที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำเลยยอมรับผิดและจะให้ค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท นั้น แม้พยานโจทก์จะเบิกความไม่ตรงกับผู้เสียหายก็ไม่เป็นข้อสาระสำคัญ เพราะการเจรจาจะชดใช้ค่าเสียหายให้นั้นเป็นเรื่องที่คู่กรณีพยายามจะออมชอมให้ยุติโดยความพอใจของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำความผิดตามฟ้อง