คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ.2495 ม. 10

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการสุขาภิบาลพ้นตำแหน่งเมื่ออุปสมบท แม้ระยะเวลาสั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ไขคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการเพราะไปอุปสมบทเป็นภิกษุ ซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวมประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย ส่วนประธานกรรมการสุขาภิบาลก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลพ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องเกี่ยวกับฐานะของผู้ร้อง
พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติว่า กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้คือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18(1)(2)(3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือเป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์เป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่งจึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทนานเพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลอุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านอุปสมบทโดยได้รับความยินยอมหรือการอุปสมบทของผู้คัดค้านทำให้สุขาภิบาลช่องแคเสียหายหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจในการฟ้องคดี
การที่ผู้ร้องระบุในคำร้องว่าในฐานะส่วนตัวคือในฐานะประชาชนในเขตสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ถือได้ว่าประชาชนทุกคนในเขตพื้นที่นั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหายได้ และในฐานะประธานกรรมการสุขาภิบาลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมายหากกรรมการสุขาภิบาลคนใดพ้นตำแหน่งไปแล้วแต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลฯ ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานองค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งการที่จะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ต้องพิจารณาว่าในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลนั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่
พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฯ มาตรา 10 บัญญัติให้กรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งเมื่อขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ มาตรา 21 ห้ามบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง และมาตรา 18 กำหนดห้ามมิให้ภิกษุสามเณร นักพรตหรือนักบวช ใช้สิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมาผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทันทีที่การอุปสมบทสำเร็จบริบูรณ์และกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามดังกล่าวจะมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงระยะเวลาในการอุปสมบทของผู้คัดค้านว่าอุปสมบทอยู่นานหรือไม่ เพียงใด ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลาอุปสมบทได้แต่อย่างใดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลเนื่องจากการอุปสมบท และอำนาจการฟ้องคดีของประชาชนและประธานสุขาภิบาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งว่าผู้คัดค้านพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลทั้งในฐานะส่วนตัวเนื่องจาก ผู้ร้องเป็นประชาชนในเขตสุขาภิบาลดังกล่าวซึ่งต้องถือว่าประชาชนทุกคนในพื้นที่นี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสุขาภิบาลที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไป หากกรรมการสุขาภิบาลพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม ประชาชนคนใดคนหนึ่งย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ดำเนินการเพื่อบำบัดความเสียหาย และในฐานะเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลนั้นก็เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการสุขาภิบาลทุกคนตามกฎหมาย เมื่อกรรมการสุขาภิบาลคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ยังคงมาปฏิบัติหน้าที่ ประธานกรรมการสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเกี่ยวกับกรรมการผู้นั้นแทนสุขาภิบาลได้ เพราะเป็นผู้รับผิดชอบอยู่โดยตรง ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องได้ทั้งสองฐานะ
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่ พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ที่ออกมาใช้บังคับในภายหลัง มิได้เปลี่ยนแปลงองค์กร เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะขององค์กรซึ่งเป็นนิติบุคคลให้สูงขึ้น มีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และตัวบุคคลผู้บริหารงานขององค์กรก็มิได้เปลี่ยนยังคงใช้ชุดเดิมอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไปจนกว่าจะครบวาระโดยผลของกฎหมาย ซึ่งจะเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้หรือไม่ก็ต้องพิจารณาว่า ในขณะที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับ บุคคลผู้นั้นยังเป็นกรรมการสุขาภิบาลอยู่หรือไม่ จึงไม่จำเป็นที่ผู้ร้องจะต้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องให้ตรงกับสถานะของผู้คัดค้านที่เปลี่ยนไปเป็นสมาชิกสภาเทศบาล
พ.ร.บ. สุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 10 บัญญัติไว้ชัดเจนว่ากรรมการสุขาภิบาล?พ้นจากตำแหน่งเมื่อ?(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 21 บัญญัติลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้ คือ?(8) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 18 (1) (2) (3) หรือ (5) และมาตรา 18 บัญญัติว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คือ? (3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช เมื่อกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนว่าเป็นลักษณะต้องห้ามที่มีไม่ได้เป็นไม่ได้ แล้วผู้คัดค้านไปอุปสมบททำให้มีลักษณะดังกล่าวขึ้นมา ผู้คัดค้านก็ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลไปทันทีที่การอุปสมบทของผู้คัดค้านสำเร็จบริบรูณ์ คือตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านไปอุปสมบทเป็นต้นไป กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการมีลักษณะต้องห้ามจะต้องมีอย่างถาวรจึงจะพ้นจากตำแหน่ง ทั้งไม่มีกฎหมายอนุญาตให้กรรมการสุขาภิบาลลา
อุปสมบทได้ กรณีไม่อาจนำระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาใช้เทียบเคียงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติกรรมการสุขาภิบาล: การพ้นจากตำแหน่งเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุดเท่านั้น
มาตรา 21(9) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 เป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความในทางรักษาสิทธิของผู้ต้องถูกตัดสิทธิ โดยคำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" ดังนั้น บุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น ย่อมหมายถึงบุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาที่ให้จำคุกผู้คัดค้านของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด ผู้คัดค้านจึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ. 2495 มาตรา 10(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดสิทธิกรรมการสุขาภิบาล: ต้องพิจารณาคำพิพากษาถึงที่สุดก่อน
มาตรา 21 (9) แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 เป็นบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของบุคคล จึงต้องตีความในทางรักษาสิทธิของผู้ต้องถูกตัดสิทธิ โดยคำนึงถึงบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2540 มาตรา 33 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้" ดังนั้น บุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งนั้น ย่อมหมายถึงบุคคลที่ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ถึงที่สุดให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว
คำพิพากษาที่ให้จำคุกผู้คัดค้านของศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด ผู้คัดค้านจึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสุขาภิบาลตาม พ.ร.บ.สุขาภิบาล พ.ศ. 2495มาตรา 10 (4)