พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตามกฎหมายยาเสพติด: ศาลต้องยึดตามคำขอในฟ้อง และตีความข้อยกเว้นใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 อย่างเคร่งครัด
โจทก์บรรยายฟ้องโดยชัดแจ้งว่า จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน กับมีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แสดงว่าโจทก์ระบุสถานะจำเลยว่าเป็นบุคคลตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 และขอให้ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวด้วย หาใช่ระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ซึ่งการที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 ต้องได้ความว่าเป็นกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่จำเลยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีสถานะถือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเช่นกัน แต่เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งแยกต่างจากกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไว้ จึงไม่อาจระวางโทษจำเลยเป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคหนึ่ง จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด เมื่อวรรคห้าระบุว่าเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้นก็คงระบุไว้ว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ที่โจทก์อ้างว่าคดีนี้อ้างบทมาตราผิดและศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ถือเป็นข้อยกเว้นของวรรคหนึ่ง จึงต้องตีความวรรคห้าโดยเคร่งครัด เมื่อวรรคห้าระบุว่าเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด จะตีความขยายไปถึงกรณีที่อ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับหาได้ไม่ เพราะถ้ากฎหมายต้องการเช่นนั้นก็คงระบุไว้ว่า โจทก์อ้างบทกฎหมายผิด ซึ่งย่อมครอบคลุมตลอดถึงการอ้างความผิดหรือบทมาตราผิดอยู่ในตัวด้วย ที่โจทก์อ้างว่าคดีนี้อ้างบทมาตราผิดและศาลสามารถลงโทษจำเลยตามบทมาตราของกฎหมายที่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า จึงไม่ถูกต้อง ดังนั้น ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ไม่ได้ เพราะขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะข้าราชการกับการลงโทษทางอาญา, กรรมเดียว vs. กรรมหลาย และอำนาจศาลฎีกา
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ควบคุมและกำกับดูแลการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารราชการ และพนักงานส่วนตำบลเป็นผู้ทำงานประจำ โดยมีปลัดและรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหัวหน้างานบริหารราชการประจำ เมื่อพิจารณาว่าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นระบบบริหารราชการที่รัฐมอบอำนาจปกครองบางส่วน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจบริหารให้แก่หน่วยงานที่ไม่ใช่ราชการส่วนกลางจัดทำบริการสาธารณะภายในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จึงเห็นได้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยงานของรัฐ จำเลยเป็นพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้าง ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จำเลยจึงต้องระวางโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100
คำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้างว่า ให้ไล่จำเลยออกจากราชการ แม้ระบุว่าคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป ก็เป็นเรื่องการออกคำสั่งให้มีผลย้อนหลัง ไม่ได้หมายความว่า ในวันที่จำเลยกระทำความผิดคือวันที่ 20 สิงหาคม 2556 จำเลยไม่เป็นพนักงานหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด
ในวันเกิดเหตุ ธ. ว. และ ส. อยู่ในห้องพักเกิดเหตุกับจำเลย จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้เสพ ตามบันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนของบุคคลทั้งสามดังกล่าวและตามฟ้องโจทก์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลทั้งสามต่างวาระกัน แต่ฟังได้ว่าจำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลทั้งสามเสพในคราวเดียวกัน โดยมีเจตนาเดียว การกระทำในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นการกระทำหลายกรรมไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งช้างว่า ให้ไล่จำเลยออกจากราชการ แม้ระบุว่าคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป ก็เป็นเรื่องการออกคำสั่งให้มีผลย้อนหลัง ไม่ได้หมายความว่า ในวันที่จำเลยกระทำความผิดคือวันที่ 20 สิงหาคม 2556 จำเลยไม่เป็นพนักงานหน่วยงานของรัฐแต่อย่างใด
ในวันเกิดเหตุ ธ. ว. และ ส. อยู่ในห้องพักเกิดเหตุกับจำเลย จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้เสพ ตามบันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนของบุคคลทั้งสามดังกล่าวและตามฟ้องโจทก์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า จำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลทั้งสามต่างวาระกัน แต่ฟังได้ว่าจำเลยแบ่งเมทแอมเฟตามีนให้บุคคลทั้งสามเสพในคราวเดียวกัน โดยมีเจตนาเดียว การกระทำในส่วนนี้ของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเป็นการกระทำหลายกรรมไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20024/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ต้องพิจารณาคุณสมบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ตรงตามที่กฎหมายกำหนด ศาลปรับบทลงโทษใหม่ได้
การที่ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 นั้น ต้องได้ความว่าเป็นกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่บ้านมีสถานะถือเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 10 ซึ่งโจทก์มิได้กล่าวหรืออ้างมาตราดังกล่าวมาในฟ้อง จึงไม่อาจจะวางโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 จึงเป็นการไม่ชอบ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14660/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษเจ้าพนักงานรัฐในคดียาเสพติด และการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อลงโทษจำเลย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100 บัญญัติว่า "กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าว อันเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใหญ่บ้าน จึงหาใช่บุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตราดังกล่าวไม่ ส่วนจำเลยที่ 3 โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวอย่างใด จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามบทกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8103/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสารวัตรกำนันกับการเพิ่มโทษจำหน่ายยาเสพติด: ไม่ถือเป็นเจ้าพนักงาน
จำเลยมีตำแหน่งเป็นสารวัตรกำนัน ซึ่ง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ฯ มาตรา 44 บัญญัติว่า "ในตำบล 1 มีสารวัตรสำหรับเป็นผู้ช่วยและรับใช้สอยของกำนัน 2 คน ผู้ที่จะเป็นสารวัตรนี้แล้วแต่กำนันจะขอร้องให้ผู้ใดเป็น แต่ต้องได้รับความเห็นชอบของผู้ว่าราชการเมืองด้วยจึงเป็นได้ และกำนันมีอำนาจเปลี่ยนสารวัตรได้" ดังนั้น สารวัตรกำนันจึงมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอยของกำนันเท่านั้น แม้จะได้รับเงินตอบแทนจากทางราชการเป็นรายเดือนและมีสิทธิขอบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐฯ แต่สารวัตรกำนันก็มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามที่โจทก์ฎีกาอันเป็นการเพิ่มโทษให้หนักขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาฐานความผิดและขอบเขตการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างประจำของกรมชลประทาน ตำแหน่งพนักงานผู้รักษาอาคารชลประทาน จำเลยมิใช่พนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 จึงไม่อาจลงโทษจำเลยโดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดยาเสพติด, การร่วมกระทำความผิด, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำผิด
จำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นสามีภริยากันนำสิบตำรวจโท อ. เจ้าพนักงานตำรวจที่ทำการล่อซื้อ เดินทางไปติดต่อซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจำเลยที่ 1 ที่บ้านจำเลยที่ 1 ด้วยกัน จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ซุกซ่อนอยู่ในรถยนต์กระบะออกมาให้สิบตำรวจโท อ. ดู แล้วจำเลยที่ 2 ขอยืมรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 1 ขับพาจำเลยที่ 4 และสิบตำรวจโท อ. ไปตลาดนิคมเพื่อรับเงินที่ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางด้วยกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 แล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่งนักการภารโรงสถานีตำรวจภูธร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำเลยที่ 1 จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 จึงไม่อาจปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8609/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะจำเลยและบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด: สมาชิกสภาท้องถิ่น vs พนักงานองค์การ
จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกษม หาใช่พนักงานองค์การตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 100 ไม่ หากแต่จำเลยที่ 1 มีสถานะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น อันต้องด้วยบทบัญญัติในมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ แต่ยังคงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสามเท่าตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและบทบัญญัติเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐ ศาลฎีกายกข้อกฎหมายเกี่ยวกับโทษสามเท่าที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างประจำของศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบทกำแพงเพชร กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดหนัก จึงมิใช่พนักงานส่วนท้องถิ่นหรือพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 ไม่อาจลงโทษจำเลยตามกฎหมายมาตราดังกล่าวโดยระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ การปรับบทลงโทษ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ ก่อนที่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 35 ยกเลิกความในมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ตามมาตรา 100 ของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ได้บัญญัติเพิ่มเติมฐานความผิดกรณีที่กรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ (เดิม) หรือข้าราชการหรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐกระทำความผิดหรือสนับสนุนในการกระทำความผิด ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ให้รวมถึงความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษด้วย กฎหมายที่ใช้ในภายหลังจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
มาตรา 100 ของ พ.ร.บ. ยาเสพติด ฯ (เดิม) เป็นกรณีต้องระวางโทษสามเท่าเฉพาะการกระทำความผิดฐานผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษเท่านั้น เมื่อโจทก์ฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 100 ของกฎหมายเดิมที่จะระวางโทษเป็นสามเท่าได้
แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 ซึ่งระวางโทษเป็นสามเท่าในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาตรานี้ การที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 10 อีกบทหนึ่งให้ถูกต้อง ข้อหาตามมาตราดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 110 เม็ด น้ำหนัก 10.887 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด กรณีความผิดต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณมากกว่ากฎหมายเดิม จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225