พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพนักงานเจ้าหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กำหนดให้เฉพาะแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นเพียงปลัดอำเภอและมิได้เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน อ. ก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวไม่อ. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 แต่การที่อ. ทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่า อ. มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.และอ. จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจเจ้าหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชน และความผิดแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 กำหนดให้เฉพาะแต่นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอหรือผู้รักษาการแทนเท่านั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นเพียงปลัดอำเภอและมิได้เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน อ. ก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวไม่ อ. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน ดังนั้นการที่จำเลยยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ.จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 แต่การที่ อ. ทำการแทนนายอำเภอดังกล่าวนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่า อ. มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ อ. และ อ. จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และความผิดต่อเจ้าพนักงาน
น. เป็นเพียงปลัดอำเภอ แม้นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่ง ตั้งให้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชนก็มีฐานะเป็นเพียงผู้ทำการแทนนายอำเภอเท่านั้น หาใช่เป็นผู้รักษาการแทนนายอำเภอตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 14ตุลาคม 2519 ข้อ 1 ออกตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ไม่ ดังนั้น น. จึงไม่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยไปยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ น. ซึ่งมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 นายอำเภอมีคำสั่งแต่ง ตั้งให้ น. ปลัดอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชนแทนนายอำเภอ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถือได้ว่ามีฐานะเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน และเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งได้จดข้อความที่แจ้งลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ มาตรา 267.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องจักรทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย
เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 แล้ว ย่อมเปลี่ยนสถานะจาสังหาริมทรัพย์ธรรมดากลายมาเป็นสังหาริ่มทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรฯ ด้วย มิฉะนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย การฟ้องฐานฉ้อโกงและแจ้งความเท็จไม่สมบูรณ์หากกรรมสิทธิ์ยังไม่เปลี่ยนมือ
จำเลยที่ 2 ขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีซึ่งมีหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักรให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบเครื่องจักรแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 ด้วย ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์คือเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปพูดหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือดังกล่าวให้ไป การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงเพราะหนังสือนั้นเป็นของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จหรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารอันจะเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้โจทก์หมดแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดแทน จำเลยที่ 2 ยังคงอยู่ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการ การที่จำเลยที่ 2 ไปทำนิติกรรมโอนขายเครื่องจักรในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน และการใช้เอกสารทางทหารที่ไม่แท้จริง ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำฟ้องในข้อหาฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆอีกทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องคือเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวประชาชน.ที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมาซึ่งพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วแม้จะไม่ได้ระบุชื่อของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งมาในฟ้องด้วยก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม. จำเลยเป็นคนญวนยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวโดยอ้างว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย.แม้ผู้รับแจ้งจากจำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวแต่ก็ได้นำเรื่องเสนอต่อช.และว.ซึ่งเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่ฝ่ายบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อตรวจหลักฐานแล้วดำเนินการส่งต่อไปยังกองบัตรประจำตัวประชาชนถือว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267เพราะผู้ที่รับแจ้งจากจำเลยและเป็นผู้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับสัญชาติเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชน, ใช้เอกสารราชการที่ไม่ถูกต้อง, และความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
คำฟ้องในข้อหาฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆอีกทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องคือเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวประชาชนที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วแม้จะไม่ได้ระบุชื่อของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งมาในฟ้องด้วยก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยเป็นคนญวนยื่นคำร้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าหน้าที่แผนกบัตรประจำตัวโดยอ้างว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทยแม้ผู้รับแจ้งจากจำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวแต่ก็ได้นำเรื่องเสนอต่อช. และว. ซึ่งเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่ฝ่ายบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อตรวจหลักฐานแล้วดำเนินการส่งต่อไปยังกองบัตรประจำตัวประชาชนถือว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตามป.อ.มาตรา137แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา267เพราะผู้ที่รับแจ้งจากจำเลยและเป็นผู้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งเป็นลูกจ้างชั่วคราวมิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับสัญชาติและข้อมูลทะเบียนบ้านเพื่อขอเอกสารราชการ
การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หลังหนึ่งเลยแล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่งว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งเท็จเกี่ยวกับสัญชาติและข้อมูลในทะเบียนบ้าน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และ 137
การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังหนึ่งเลย แล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่ง ว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น
การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งสัญชาติเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชน แม้จะได้รับบัตรแล้วก็ยังมีความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยมีสัญชาติเวียตนาม ได้อาศัยทะเบียนบ้านที่ระบุว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ซึ่งจำเลยทราบดีว่าไม่เป็นความจริงหรืออีกนัยหนึ่งก็คือหลักฐานเท็จ ไปอ้างต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อว่าจำเลยมีสัญชาติไทยจริงจึงได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย ดังนั้น บัตรประจำตัวประชาชนที่จำเลยได้รับซึ่งเกิดจากหลักฐานเท็จและความหลงผิดของเจ้าพนักงาน จึงเป็นบัตรประจำตัวเท็จไปด้วย เมื่อจำเลยนำเอาทะเบียนบ้านที่ระบุสัญชาติของจำเลยเป็นเท็จกับบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อปลัดอำเภอผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อขอเปลี่ยนบัตรใหม่ ทั้งๆ ที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าตนเองไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีสิทธิขอบัตรประจำตัวประชาชนได้จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267