พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแจ้งความเท็จและเอกสารราชการไม่ขัดแย้งกัน แต่ขาดอายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในเอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่ง ข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้ หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแจ้งความเท็จและเอกสารราชการ: อายุความและกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงใน เอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่งข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้หาเป็นการขัดแย้งกันไม่และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดตาม พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องและอายุความแจ้งความเท็จ กรณีแจ้งสัญชาติเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนกับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้นหาเป็นการขัดแย้งกันไม่เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแจ้งความเท็จและจดข้อความเท็จในเอกสารราชการ แม้เป็นคนละกรรม แต่ฟ้องไม่ขัดแย้ง หากขาดอายุความ ศาลฎีกายกฟ้องได้
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน กับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้น หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับสัญชาติเพื่อออกบัตรประชาชน: จำเลยต้องได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลสัญชาติญวนก่อนจึงจะลงโทษได้
ความมุ่งหมายที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยก็คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติญวน บังอาจแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าพนักงาน ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยจนในที่สุดจำเลยได้รับบัตรประจำตัวประชาชน แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติญวนดังฟ้อง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสินเดิมก่อนสมรส ไม่ถือเป็นสินสมรส โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องฐานแจ้งความเท็จ
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว โดยเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หาใช่สินสมรสไม่เมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่แล้วย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 มีอำนาจจำหน่ายได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ และมิใช่ทรัพย์สินที่โจทก์จะมีส่วนแบ่งเมื่อหย่ากัน ฉะนั้นแม้ในการที่จำเลยที่ 1ทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 แจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยที่ 1 เป็นหม้ายโดยการตายของสามี ยังไม่ได้ทำการสมรสใหม่ และจำเลยที่ 2 รับรองการเป็นหม้ายของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกไว้ก็ตาม หากข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จโจทก์ก็มิใช่ผู้เสียหายอันจะฟ้องจำเลยฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา267 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสเดิมของจำเลย อำนาจจำหน่าย และการแจ้งความเท็จเกี่ยวกับสถานภาพ
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวโดยเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 หาใช่สินสมรสไม่เมื่อใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่แล้วย่อมเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีอำนาจจำหน่ายได้เองโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ และมิใช่ทรัพย์สินที่โจทก์จะมีส่วนแบ่งเมื่อหย่ากัน ฉะนั้นแม้ในการที่จำเลยที่ 1ทำสัญญาขายที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 แจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยที่ 1 เป็นหม้ายโดยการตายของสามี ยังไม่ได้ทำการสมรสใหม่ และจำเลยที่ 2 รับรองการเป็นหม้ายของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกไว้ก็ตาม หากข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จโจทก์ก็มิใช่ผู้เสียหายอันจะฟ้องจำเลยฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเท็จเพื่อขอบัตรประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนไทย ทั้งที่มิได้มีสัญชาติไทย เป็นความผิดตามกฎหมาย
จำเลยเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน แต่ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยชื่อนางตัน ศิริดำรง เป็นคนไทยเพื่อขอรับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานดังกล่าวหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทย จึงได้บันทึกเสนอนายทะเบียน ออกบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งเท็จเพื่อขอบัตรประจำตัวประชาชนโดยมิได้มีสัญชาติไทย
จำเลยเป็นคนต่างด้าวสัญชาติญวน แต่ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยชื่อนางตัน ศิริดำรงค์ เป็นคนไทยเพื่อขอรับบัตรประจำตัวประชาชน เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานดังกล่าวหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยจึงได้บันทึกเสนอนายทะเบียนออกบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการให้แก่จำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2505 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเกิดเด็กนอกสมรส: สิทธิของมารดาและการไม่เป็นความผิดอาญา
มารดาคลอดบุตรโดยมิได้สมรสกับบิดา มารดาแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นว่าเกิดเด็กหญิงรัตติยาลิขิตสุวรรณกุล บิดาไปแจ้งต่อนายทะเบียนอีกเขตหนึ่งว่าเกิดเด็กหญิงรัตติยาฯแซ่อึ้ง ดังนี้ กลับเป็นคุณแก่มารดาและเด็ก ไม่ทำให้มารดาเสียหาย ไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267