พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอม, ยักยอกทรัพย์, และทำให้เสียทรัพย์ กรณีโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยเอกสารปลอม
โฉนดและหนังสือมอบอำนาจซึ่งผู้เสียหายลงแต่ลายมือชื่อให้ไว้และอยู่ในความครอบครองของสามีจำเลยที่ 1 เมื่อสามีตายได้ตกอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาได้มีการกรอกข้อความปลอม กับปลอมลายมือชื่อนายอำเภอผู้รับรอง และปลอมรอยดวงตราอำเภอลงในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันนำไปแสดงเป็นหลักฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อหนังสือมอบอำนาจ ได้ทำการโอนและแก้ทะเบียนโฉนดฉบับหลวงด้วยแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268, 252, 267 แต่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเป็นการกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 252 ซึ่งเป็นบทหนักแต่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันเอาโฉนดพิพาทซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหายไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และเป็นการกระทำต่างกรรมกับที่จำเลยกระทำมาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามมาตรา 188 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายังยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายังยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารสิทธิและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยมิชอบ การกระทำผิดฐานยักยอกและการกระทำความผิดต่างกรรม
โฉนดและหนังสือมอบอำนาจซึ่งผู้เสียหายลงแต่ลายมือชื่อให้ไว้และอยู่ในความครอบครองของสามีจำเลยที่ 1 เมื่อสามีตายได้ตกอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาได้มีการกรอกข้อความปลอม กับปลอมลายมือชื่อนายอำเภอผู้รับรอง และปลอมรอยดวงตราอำเภอลงในหนังสือมอบอำนาจ แล้วจำเลยที่ 1ที่ 2 ร่วมกันนำไปแสดงเป็นหลักฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อหนังสือมอบอำนาจ ได้ทำการโอนและแก้ทะเบียนโฉนดฉบับหลวงด้วยแล้วการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268,252,267 แต่เป็นการกระทำเพื่อประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเป็นการกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 252 ซึ่งเป็นบทหนักแต่การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันเอาโฉนดพิพาทซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหายไปในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และเป็นการกระทำต่างกรรมกับที่จำเลยกระทำมาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามมาตรา 188 อีกกระทงหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายักยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
จำเลยที่ 1 ยึดถือโฉนดพิพาทไว้ก็เพื่อประสงค์กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่มีเจตนายักยอกโฉนดนั้น จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 352
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จและจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการ: ความผิดแยกกระทง
ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเลยกรอกใบสมัครด้วยตนเองว่าจำเลยมียศร้อยโทยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด กับแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่สอบสวนคุณสมบัติให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกการสอบสวนว่า จำเลยมียศร้อยโท โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จ ดังนี้ การกระทำของจำเลยแยกได้เป็น 2 ตอน คือจำเลยเอาใบสมัครมายื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตอนหนึ่ง กับเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดรับใบสมัครของจำเลยแล้วทำการสอบสวนปากคำจำเลยถึงเรื่องคุณสมบัติของจำเลยอีกตอนหนึ่ง การที่จำเลยเขียนใบสมัครว่ามียศร้อยโทมายื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแล้ว และการกระทำของจำเลยในตอนยื่นใบสมัครนี้เป็นคนละกรรมกับการกระทำในตอนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนคุณสมบัติของจำเลยแล้วจำเลยแจ้งว่ามียศร้อยโท อันเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการ หาใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2752/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงานและเอกสารราชการ: การกระทำกรรมต่างกัน
ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเลยกรอกใบสมัครด้วยตนเองว่าจำเลยมียศร้อยโทยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด กับแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่สอบสวนคุณสมบัติให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกการสอบสวนว่าจำเลยมียศร้อยโท โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จ ดังนี้ การกระทำของจำเลยแยกได้เป็น 2 ตอน คือจำเลยเอาใบสมัครมายื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตอนหนึ่ง กับเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดรับใบสมัครของจำเลยแล้วทำการสอบสวนปากคำจำเลยถึงเรื่องคุณสมบัติของจำเลยอีกตอนหนึ่ง การที่จำเลยเขียนใบสมัครว่ามียศร้อยโทมายื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแล้ว และการกระทำของจำเลยในตอนยื่นใบสมัครนี้เป็นคนละกรรมกับการกระทำในตอนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนคุณสมบัติของจำเลยแล้วจำเลยแจ้งว่ามียศร้อยโท อันเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการหาใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการที่เกิดจากการกระทำผิดของผู้อื่น แม้จะอ้างผิดบทมาตรา ศาลลงโทษได้ตามบทที่ถูกต้อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าว มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ มีผู้นำหลักฐานปลอมไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานให้ออกบัตรประจำตัวประชาชนและใบสำคัญทหารกองเกินแทนฉบับชำรุดสูญหายให้จำเลย เจ้าพนักงานหลงเชื่อคำร้องและหลักฐานปลอมนั้นจึงออกให้ เมื่อจำเลยซึ่งรู้อยู่แล้วว่าเอกสารราชการดังกล่าวเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267ยังนำไปใช้โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าพนักงาน ผู้อื่นหรือประชาชน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 267
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 265 แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้ความตามคำบรรยายฟ้องทั้งหมดนั้น ครบองค์เป็นความผิดตามมาตรา268 ประกอบด้วยมาตรา 267 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268ประกอบด้วยมาตรา 265 แต่เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้ความตามคำบรรยายฟ้องทั้งหมดนั้น ครบองค์เป็นความผิดตามมาตรา268 ประกอบด้วยมาตรา 267 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างบทมาตราผิดศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและการเป็นผู้เสียหาย: โจทก์ไม่เสียหายจากการแจ้งความเท็จ เพราะยังมีสิทธิเรียกร้องจากเช็คค้ำประกัน
ปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองแม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นก็ตาม
จำเลยนำรถยนต์ ใบทะเบียน และคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ไปประกันเงินกู้ไว้กับโจทก์ ต่อมาจำเลยขอรับรถยนต์คืนเพื่อนำไปให้ผู้ซื้อดูโดยโจทก์ยอมรับเช็คเป็นหลักประกันแทนรถยนต์ และยอมให้จำเลยมีสิทธิขายรถยนต์นั้นได้และมีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อไม่ตกลงซื้อให้จำเลยนำรถยนต์คืนโจทก์ ถ้าผู้ซื้อตกลงซื้อให้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อโจทก์จะได้นำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารดังนี้ การที่จำเลยไปแจ้งความว่าใบทะเบียนรถยนต์หาย และเจ้าพนักงานตำรวจได้จดไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันซึ่งจำเลยอาจถือเป็นหลักฐานไปขอใบแทนทะเบียนรถยนต์เพื่อใช้โอนให้บุคคลอื่นได้ก็ตาม โจทก์ก็หาได้รับความเสียหายจากการนั้นไม่เพราะเมื่อจำเลยขายหรือโอนรถยนต์ให้คนอื่นไปโจทก์ย่อมมีสิทธินำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารตามที่ตกลงกัน หรือบังคับการชำระเงินตามเช็คนั้นได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
จำเลยนำรถยนต์ ใบทะเบียน และคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ไปประกันเงินกู้ไว้กับโจทก์ ต่อมาจำเลยขอรับรถยนต์คืนเพื่อนำไปให้ผู้ซื้อดูโดยโจทก์ยอมรับเช็คเป็นหลักประกันแทนรถยนต์ และยอมให้จำเลยมีสิทธิขายรถยนต์นั้นได้และมีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อไม่ตกลงซื้อให้จำเลยนำรถยนต์คืนโจทก์ ถ้าผู้ซื้อตกลงซื้อให้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อโจทก์จะได้นำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารดังนี้ การที่จำเลยไปแจ้งความว่าใบทะเบียนรถยนต์หาย และเจ้าพนักงานตำรวจได้จดไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันซึ่งจำเลยอาจถือเป็นหลักฐานไปขอใบแทนทะเบียนรถยนต์เพื่อใช้โอนให้บุคคลอื่นได้ก็ตาม โจทก์ก็หาได้รับความเสียหายจากการนั้นไม่เพราะเมื่อจำเลยขายหรือโอนรถยนต์ให้คนอื่นไปโจทก์ย่อมมีสิทธินำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารตามที่ตกลงกัน หรือบังคับการชำระเงินตามเช็คนั้นได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและการไม่เป็นผู้เสียหาย: โจทก์ไม่เสียหายจากการแจ้งความเท็จ เพราะยังมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากเช็ค
ปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้างได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองแม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นก็ตาม
จำเลยนำรถยนต์ ใบทะเบียน และคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ไปประกันเงินกู้ไว้กับโจทก์ ต่อมาจำเลยขอรับรถยนต์คืนเพื่อนำไปให้ผู้ซื้อดูโดยโจทก์ยอมรับเช็คเป็นหลักประกันแทนรถยนต์ และยอมให้จำเลยมีสิทธิขายรถยนต์นั้นได้และมีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อไม่ตกลงซื้อ ให้จำเลยนำรถยนต์คืนโจทก์ ถ้าผู้ซื้อตกลงซื้อ ให้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อโจทก์จะได้นำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารดังนี้ การที่จำเลยไปแจ้งความว่าใบทะเบียนรถยนต์หาย และเจ้าพนักงานตำรวจได้จดไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันซึ่งจำเลยอาจถือเป็นหลักฐานไปขอใบแทนทะเบียนรถยนต์เพื่อใช้โอนให้บุคคลอื่นได้ก็ตาม โจทก์ก็หาได้รับความเสียหายจากการนั้นไม่ เพราะเมื่อจำเลยขายหรือโอนรถยนต์ให้คนอื่นไปโจทก์ย่อมมีสิทธินำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารตามที่ตกลงกัน หรือบังคับการชำระเงินตามเช็คนั้นได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
จำเลยนำรถยนต์ ใบทะเบียน และคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ไปประกันเงินกู้ไว้กับโจทก์ ต่อมาจำเลยขอรับรถยนต์คืนเพื่อนำไปให้ผู้ซื้อดูโดยโจทก์ยอมรับเช็คเป็นหลักประกันแทนรถยนต์ และยอมให้จำเลยมีสิทธิขายรถยนต์นั้นได้และมีข้อตกลงว่าถ้าผู้ซื้อไม่ตกลงซื้อ ให้จำเลยนำรถยนต์คืนโจทก์ ถ้าผู้ซื้อตกลงซื้อ ให้แจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อโจทก์จะได้นำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารดังนี้ การที่จำเลยไปแจ้งความว่าใบทะเบียนรถยนต์หาย และเจ้าพนักงานตำรวจได้จดไว้ในรายงานเบ็ดเสร็จประจำวันซึ่งจำเลยอาจถือเป็นหลักฐานไปขอใบแทนทะเบียนรถยนต์เพื่อใช้โอนให้บุคคลอื่นได้ก็ตาม โจทก์ก็หาได้รับความเสียหายจากการนั้นไม่ เพราะเมื่อจำเลยขายหรือโอนรถยนต์ให้คนอื่นไปโจทก์ย่อมมีสิทธินำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารตามที่ตกลงกัน หรือบังคับการชำระเงินตามเช็คนั้นได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จในแผนที่พิพาท ไม่ถือเป็นความผิดมาตรา 267 หากเป็นเพียงการบันทึกข้อความที่จำเลยอ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรื่องที่ดิน ศาลสั่งให้ทำแผนที่พิพาทจำเลยบอกให้เจ้าพนักงานผู้ทำแผนที่บันทึกลงในแผนที่พิพาทว่า "จำเลยว่าทุกฝ่ายที่เคยมีชื่อในโฉนดครอบครองร่วมกัน ไม่เคยแบ่งแยกเป็นส่วนสัด ฯลฯ" ไม่ว่าข้อความนี้จะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นแต่เพียงการบันทึกให้ปรากฏไว้ว่าจำเลยอ้างว่าอย่างไรเท่านั้น หาอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าวโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นหรือประชาชนได้ไม่จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จในเอกสารราชการ (แผนที่พิพาท) ไม่ถือเป็นความผิดตาม ม.267 หากเป็นเพียงการบันทึกข้อความที่จำเลยอ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรื่องที่ดิน ศาลสั่งให้ทำแผนที่พิพาทจำเลยบอกให้เจ้าพนักงานผู้ทำแผนที่บันทึกลงในแผนที่พิพาทว่า "จำเลยว่าทุกฝ่ายที่เคยมีชื่อในโฉนดครอบครองร่วมกัน ไม่เคยแบ่งแยกเป็นส่วนสัด ฯลฯ" ไม่ว่าข้อความนี้จะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นแต่เพียงการบันทึกให้ปรากฏไว้ว่าจำเลยอ้างว่าอย่างไรเท่านั้น หาอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งดังกล่าวโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นหรือประชาชนได้ไม่ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญา ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1, 2 ร่วมกันกระทำผิด โดยจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอใบสุทธิโดยไม่มีหลักฐานการสอบไล่ได้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นครูใหญ่กรอกข้อความอันเป็นเท็จรับรองในแบบสอบสวนขอรับใบสุทธิหรือใบแทนเกิน 10 ปี เสนอขออนุญาตออกให้ตามคำขอ เป็นเหตุให้นายอำเภอและเจ้าหน้าที่แผนกศึกษาธิการอำเภอหลงเชื่อ อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ออกใบสุทธิซึ่งเป็นเอกสารปลอมให้จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 นำไปเป็นหลักฐานสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อคณะกรรมการรับสมัครคณะกรรมการรับใบสมัครของจำเลยที่ 1 ไว้และเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ได้รับเลือก โจทก์ในฐานะผู้สมัครรับเลือกด้วยได้รับความเสียหาย ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1, 2 ฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม ดังนี้ ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง การที่โจทก์ไม่ได้รับเลือก หาใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายที่จะนำคดีมาฟ้องได้