คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 267

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแจ้งความเท็จ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีบัตรประชาชน
ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505(ฉบับเก่า) ยังมีผลบังคับใช้อยู่แม้ต่อมาพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526(ฉบับใหม่) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) แต่การยื่นคำขอรับบัตรโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสัญชาติไทย พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่)ก็ยังบัญญัติเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม โดยมาตรา 14 ได้ระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) ดังนั้น พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่) จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) มาตรา 17 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงมีอายุความเพียง5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 จึงเลยกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำผิด คดีจึงขาดอายุความ ต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเพื่อขอใบแทนโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษเป็นกรรมเดียว
การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้ทำโฉนดที่ดินของจำเลยรวม 3 ฉบับสูญหายไป ซึ่งความจริงแล้วโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับไม่ได้สูญหายไป และแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เจตนาของจำเลยก็เพื่อนำเอกสารรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวไปใช้และแสดงอ้างอิงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน กับแจ้งแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าโฉนดที่ดิน 3 ฉบับสูญหายไปเพื่อขอรับใบแทนโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับ การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นการกระทำคนละวันและต่อเจ้าพนักงานคนละหน่วยงานกันแต่เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันคือเจตนาเพื่อขอรับโฉนดที่ดินทั้งสามฉบับนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสซ้ำโดยแจ้งข้อมูลเท็จ ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ 10 สิงหาคม 2531 จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน ค. ไปก่อนแล้วจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1452
จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกัน การที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่า จำเลยไม่เคยสมรสมาก่อน จึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย และไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเท็จประวัติคู่สมรส จดทะเบียนสมรสได้ หากไม่มีคู่สมรสขณะจดทะเบียน ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. ในวันที่ 10 สิงหาคม2531 จำเลยไม่มีคู่สมรสเพราะจำเลยจดทะเบียนหย่ากับ ค. แล้วตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2515 จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 การที่จำเลยไม่มีคู่สมรสอยู่ในขณะที่จดทะเบียนสมรส แม้จำเลยจะแจ้งว่าจำเลยเคยสมรสแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลอย่างเดียวกันว่าจำเลยไม่มีคู่สมรสในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส. นั่นเองการที่นายทะเบียนจดทะเบียนสมรสให้จำเลยกับ ส. โดยเชื่อว่าจำเลยไม่เคยสมรสมาก่อนจึงไม่อาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายและไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินก่อนมีผลบังคับกฎหมายยาเสพติดไม่ต้องถูกยึด การเบิกถอนจึงไม่เป็นความผิด
พนักงานเจ้าหน้าที่ยึดสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของจำเลยตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท ม. ว่าสมุดคู่ฝากเงินธนาคารสูญหาย และจำเลยนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปขอออกสมุดคู่ฝากเงินเล่มใหม่จากธนาคารและเบิกถอนเงินออกไปเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าเงินฝากดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มีผลใช้บังคับ จึงมิใช่ทรัพย์ที่จะถูกยึดหรืออายัดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว การเบิกถอนเงินของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งทรัพย์สินที่จำเลยรู้ว่าจะถูกยึดหรืออายัดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 42 คงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท: เจตนาเบิกเงินประกันภัย การแจ้งความเท็จและการใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียว คือ มุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173, 267, 268 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: เจตนาเดียวเพื่อเบิกเงินประกันภัย แม้แจ้งความเท็จและใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173,267,268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งเท็จเพื่อรับเงินประกันภัย: ความผิดอาญาฐานฉ้อโกง
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173, 267, 268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ-ออกโฉนดที่ดินใหม่: พยานหลักฐานโจทก์ไม่พอพิสูจน์การกระทำร่วมกัน
ในวันเกิดเหตุ ป. นำใบมอบอำนาจของ อ. มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินของ อ. หายไป โดยมีจ่าสิบตำรวจ ส. เป็นผู้ลงบันทึกประจำวันไว้และต่อมาจำเลยได้ร่วมกับ ร. ไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอให้ออกโฉนดที่ดินของ อ. ฉบับใหม่ โดยแสดงหลักฐานหนังสือที่ อ. มอบอำนาจให้ ร. มาขอออกโฉนดที่ดินใหม่ และสำเนารายงานประจำวันที่ ป. ไปแจ้งความว่าโฉนดที่ดินของ อ. สูญหาย โดยจำเลยให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานที่ดินรับรองว่า อ. มอบอำนาจให้ ป. ไปแจ้งความโฉนดที่ดินของ อ. สูญหายนั้นเป็นความจริง แม้ข้อความที่ ป. นำไปแจ้งความนั้นเป็นเท็จ แต่ในวันที่ ป. ไปแจ้งความจำเลยมิได้ไปกับ ป. ด้วย และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใดมาแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ร่วมกับ ป. ในการไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนพยานหลักฐานโจทก์จึงไม่น้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าจำเลยได้ร่วมกับ ป. แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน และแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7957/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเสียหายโดยตรง การกระทำต่อเจ้าพนักงานไม่พาดพิงถึงโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินของ ม. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ได้สูญหายไป แล้วนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินทำให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งจะเป็นความเท็จเพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้พาดพิงไปถึงโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง หลักฐานใบแทนโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้แก่จำเลยที่ 1คงมีรายการสาระสำคัญเช่นเดียวกับโฉนดที่ดินที่ถูกยกเลิกไป สิทธิของโจทก์ หากจะพึงมีพึงเป็นอย่างไรในฐานะทายาท หรือเจ้าหนี้กองมรดกก็คงมีอยู่ ตามเดิม มิได้ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะ โจทก์ยังคงมีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในฐานะทายาทของ ม. และมีสิทธิว่ากล่าวเอาแก่กองมรดกในฐานะเจ้าหนี้ได้เช่นเดิม โจทก์จึงมิใช่ ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 17