คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 267

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท แจ้งความเท็จขอใบแทนโฉนด ศาลฎีกาแก้โทษตามบทหนักสุด
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำความผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียว มิใช่หลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์ แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนเรื่องโฉนดที่ดินสูญหาย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสมียนประจำวันสถานีตำรวจเดียวกันจดบันทึกข้อความลงในรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารดังกล่าวสูญหาย เป็นการกระทำในวันเดียวกันและเวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันที่จะขอคัดสำเนาเอาข้อความเท็จนั้นไปแสดงอ้างอิงเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อขอรับใบแทนโฉนดที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม มาตรา 267 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท แจ้งความเท็จ-ขอคัดสำเนาโฉนดปลอม มีเจตนาเดียวกัน โทษตามบทหนักสุด
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า การกระทำความผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียว มิใช่หลายกรรมต่างกัน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลอุทธรณ์แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานสอบสวนเรื่องโฉนดที่ดินสูญหาย และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสมียนประจำวันสถานีตำรวจเดียวกันจดบันทึกข้อความลงในรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารดังกล่าวสูญหาย เป็นการกระทำในวันเดียวกันและเวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันที่จะขอคัดสำเนาเอาข้อความเท็จนั้นไปแสดงอ้างอิงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน เพื่อขอรับใบแทนโฉนดที่ดิน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม มาตรา 267อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอก, แจ้งความเท็จ, และการเรียงกระทงลงโทษในคดีอาญา
++ เรื่อง ยักยอก ฉ้อโกง ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ++
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้นผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิด และ ป.พ.พ.มาตรา 1169 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ดังนี้จึงถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.เป็นผู้เสียหาย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2) โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดฐานยักยอก
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ.ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท พ.ว่า โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทไม่ได้นำเงินมาให้บริษัทกู้ยืมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นเพื่อชำระราคาที่ดินเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องหาเงินมาให้บริษัทกู้ยืมแทน และที่ดินพิพาทไม่เป็นประโยชน์แก่บริษัทจึงเห็นสมควรขายให้จำเลยที่ 3 ในราคา 21,000,000 บาท อันเป็นความเท็จ การที่จำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำรายงานการประชุมมีข้อความว่าได้ติดต่อซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นข้อความเท็จ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของบริษัท พ.
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท บริษัท พ.ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำการขายที่ดินพิพาทตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินพิพาทคือจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ แต่เนื่องจากคู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังว่ารายงานการประชุมของบริษัท พ.เป็นเอกสารเท็จ และไม่มีการซื้อขายที่ดินพิพาทกันจริง ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ให้ถ้อยคำดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินจึงเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขาย โดยประการที่ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท พ.ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการและฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอก และเรียงกระทงลงโทษเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมา กลับพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอก, แจ้งความเท็จ, และการซื้อขายที่ดินด้วยเอกสารเท็จ: ศาลพิจารณาความผิดกรรมเดียวและลงโทษฐานหนักสุด
ในกรณีที่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาต่อนิติบุคคลเสียเองนั้น ผู้แทนของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดย่อมไม่จัดการแทนนิติบุคคลโดยฟ้องร้องกล่าวหาตนเองต่อศาล ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีได้หากกรรมการทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ถือได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28(2)
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท พ. ร่วมกันทำรายงานการประชุมของบริษัท อันเป็นความเท็จและจำเลยที่ 2ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทของบริษัทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยไม่มีการซื้อขายกันจริง เป็นเหตุให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการยักยอกที่ดินพิพาทของบริษัท
ในวันที่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท คู่สัญญาต่างเป็นนิติบุคคลจึงต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินด้วยเพื่อให้ตรวจสอบอำนาจของกรรมการของนิติบุคคลนั้น และคู่สัญญาต้องส่งรายงานการประชุมของนิติบุคคลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบเจตนาและวัตถุประสงค์ของคู่สัญญาด้วย การที่จำเลยที่ 1และจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ผู้รับมอบอำนาจให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินเป็นการแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการซื้อขายโดยประการที่ทำให้ผู้ถือหุ้นในบริษัทได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานยักยอก ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และเห็นว่าความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการเป็นกรรมเดียว แต่เป็นคนละกรรมกับความผิดฐานยักยอกและให้เรียงกระทงลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากันและให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานยักยอกเพียงบทเดียวจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาแก้โทษของจำเลยที่ 3 ที่ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษมานั้นเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลต่างด้าว ได้รับคำสั่งให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,137,157,267,268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ 267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำ ด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการ ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคล ต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรอง บุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตาม บทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา 137,267 และ 157 ด้วยแต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็น ชัดเจนการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้างโดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ว.พาท.มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านพ.วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร. ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท.ต่อมาวันรุ่งขึ้นท. ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร. และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกเจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข.คือ ท. ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้ง ๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร.และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการ รักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่ง ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่ และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้น เรียบร้อย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทย ได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วยเมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพแต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้ รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน ฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกบัตรประชาชนให้บุคคลต่างด้าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 83, 137,157, 267, 268 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 137 และ267 ด้วย หากแต่เป็นการกระทำด้วยเจตนาเดียวคือเพื่อช่วยเหลือบุคคลต่างด้าวในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน และจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดำเนินการขัดขวางมิให้บุคคลต่างด้าวขอทำบัตรประจำตัวประชาชนแต่กลับให้ถ้อยคำรับรองบุคคลต่างด้าวว่ามีสัญชาติไทย อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่อำเภอ ท.และผู้อื่น ซึ่งเป็นกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 คำพิพากษาดังกล่าวย่อมหมายความว่าจำเลยกระทำความผิดตามบทกฎหมายอื่น อันได้แก่มาตรา137, 267 และ 157 ด้วย แต่เป็นกรรมเดียว เพียงแต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทให้เห็นชัดเจน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับบทให้ชัดเจนขึ้นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายมาตราใดบ้าง โดยมิได้แก้โทษจำเลย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย
ว.พา ท. มาแจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้าน พ. วันเกิดเหตุนายอำเภอและ ร.ปลัดอำเภอ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำเลยในฐานะผู้ช่วยนายทะเบียนจึงอนุมัติการย้ายเข้าของ ท. ต่อมาวันรุ่งขึ้น ท.ได้มาติดต่อขอเปลี่ยนชื่อ ข.เป็น ร.และได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก เจ้าหน้าที่ได้จัดให้มีการรับรองบุคคล บุคคลที่มารับรองจะเป็นผู้ใดก็ได้ซึ่งรู้จักผู้ยื่นคำขอ มีจำเลยเป็นผู้ให้คำรับรอง ท.และจำเลยเป็นผู้มีคำสั่งให้ดำเนินการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ท. เมื่อปรากฏความจริงว่า ข. คือ ท.ซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว แต่จำเลยมาให้คำรับรองว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งๆ ที่จำเลยทราบว่า ท.เป็นบุคคลต่างด้าว ดังนี้ แม้จำเลยจะมีตำแหน่งเป็นเพียงปลัดอำเภอ และมีอาวุโสต่ำกว่าปลัดอำเภออื่น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่รักษาการแทนนายอำเภอเพราะยังมีปลัดอำเภออาวุโสปฏิบัติหน้าที่อยู่ก็ตาม และแม้ตามคำสั่งนายอำเภอที่เกิดเหตุได้มอบหมายงานทะเบียนทั่วไปให้ ร. และมอบหมายงานบัตรประจำตัวประชาชนให้ ส. ส่วนจำเลยเพียงแต่ได้รับมอบหมายงานส่งเสริมการปกครอง จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ ไม่ว่าจะโดยการรักษาการแทนนายอำเภอหรือโดยได้รับมอบหมายจากนายอำเภอก็ตาม แต่หน้าที่ของจำเลยดังกล่าวเมื่อเป็นการมอบหมายภายใน ซึ่งตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67 บัญญัติให้ นายอำเภอ ปลัดอำเภอสมุห์บัญชี ซึ่งรวมเรียกว่ากรมการอำเภอ แม้มีตำแหน่งต่างกันย่อมมีหน้าที่และความรับผิดชอบรวมกันในการที่จะให้การปกครองอำเภอนั้นเรียบร้อย... ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งมีตำแหน่งปลัดอำเภอมีหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกับนายอำเภอและปลัดอำเภอคนอื่นอยู่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ.มาตรา 157
ข้อบังคับที่ 1/2509 ของกระทรวงมหาดไทยได้วางระเบียบไว้ในการสอบสวนข้าราชการฝ่ายปกครองว่า ต้องมีพนักงานฝ่ายปกครองร่วมกับพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจด้วย เมื่อข้อบังคับดังกล่าวนี้ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ต้องหาที่มีลักษณะพิเศษแห่งข้อบังคับดังกล่าวเท่านั้น เช่น กรณีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพโดยถูกพนักงานสอบสวนขู่เข็ญ เป็นต้น ซึ่งหากการสอบสวนนั้นไม่มีพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองร่วมด้วย การสอบสวนนั้นย่อมไม่ชอบ และรับฟังไม่ได้ว่าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ แต่คดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด สิทธิของจำเลยไม่ได้รับการกระทบกระเทือน ไม่ว่าในชั้นสอบสวนหรือชั้นพิจารณาของศาล ทั้งจำเลยเองก็มิได้กล่าวหาว่าการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้การสอบสวนในคดีนี้จึงชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับบัตรประชาชนและการมีส่วนร่วมทางอาญา: จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรง
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของ ด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไป คือ ด. ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของ ด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชน ได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็น ด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตาม แต่ จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้ง จ.มิได้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.รับรองในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่องที่ จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนปลอม จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครอง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไปคือ ด.ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชนได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็นด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตามแต่จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้งจ.มิได้สังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายการที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ. รับรองให้การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่อง ที่จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ – การบังคับคดี – การแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน – สิทธิโจทก์
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จาก ต.มารดาของสามีจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ ต.ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ ต. แต่ ต.ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลยเป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับ ต.โดยอ้างว่า ต.ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้วความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117 ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้ หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137 และ 267 เป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับที่อยู่และการบังคับคดี: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่เสียหายโดยตรง
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จากต.มารดาของสามีจำเลยต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ต. ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ต.แต่ต. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลย เป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับต.โดยอ้างว่าต. ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้ว ความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลย ตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และ 267เป็นคดีนี้ได้
of 17