คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 267

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาต่อเนื่อง: แม้ถูกดำเนินคดีก่อนหน้า แต่หากแจ้งข้อหาใหม่ถือเป็นการจับกุมใหม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
แม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266,268ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดอุดรธานีที่จะพิจารณาพิพากษา แต่เมื่อศาลจังหวัดอุดรธานีปล่อยตัวจำเลยแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนได้สอบสวนและแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 กรณีย่อมถือว่าจำเลยเพิ่งถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 เมื่อพนักงานสอบสวนส่งตัวจำเลยต่อพนักงานอัยการและพนักงานอัยการได้ขอผัดฟ้องและฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 7วรรคสอง จึงไม่มีเหตุที่จะต้องขออนุญาตอธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4201/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ทุจริตออกใบมรณบัตรเท็จเพื่อขอคืนหลักประกันและเบิกความเท็จในศาล
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต โดยทำใบรับแจ้งการตายอันเป็นเท็จแล้วนำไปเป็นหลักฐานในการแจ้งการตายต่อนายทะเบียนให้ออกมรณบัตรของ จ. และนำไปเป็นหลักฐานในการขอคืนหลักประกันที่ ป. ได้ประกันตัว จ.และเบิกความเท็จต่อศาลว่า จ.ตายไปแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137,157,162(1)(4),267 ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดกระทงหนึ่งและเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคแรกอีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานแจ้งความเท็จและการกระทำของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดแม้เจ้าพนักงานจะใช้ให้ทำ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยแจ้งความต่อห. กำนัน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำหน้าที่ ให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดเสียเอง มิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด โดยใช้ให้จำเลยเป็นผู้ลงข้อความเป็นเท็จลงไปการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ดังนี้ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห. เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ห. เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ท.ร.17 ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห. ใช้ให้จำเลยหรือบุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 แทนห. ไม่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานแจ้งเท็จ: เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งลงชื่อรับรองข้อความเท็จ ไม่ทำให้การแจ้งเท็จของผู้อื่นขาดความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267ลงโทษจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำผิดเสียเอง มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดนั้น เป็นการประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่า เจ้าพนักงานเป็นผู้กระทำผิดเสียเองอันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้วทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห. เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อ ห. เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห. จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความแทน หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบไม่เป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 267 แต่อย่างใดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2918/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดแจ้งความเท็จ: เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ vs. ผู้ใช้กระทำผิด
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ไปแจ้งความต่อ ห.กำนันตำบลสระเยาว์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 จำเลยฎีกาว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำความผิดเสียเอง มิใช่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ทั้งยังใช้จำเลยเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ดังนี้ ฎีกาของจำเลยเท่ากับเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยเป็นยุติไว้แล้ว เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า ห.เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่หรือไม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก
ห.เป็นนายทะเบียนมีหน้าที่รับแจ้งการย้าย และได้ลงชื่อเป็นผู้รับแจ้งข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 ซึ่งเป็นข้อความเท็จตามที่จำเลยมาแจ้งแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด การที่ ห.จะใช้ให้บุคคลใดเป็นผู้เขียนหรือจดข้อความลงในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ท.ร.17 แทน ห. หาใช่เป็นสาระสำคัญอันจะทำให้การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดแจ้งความเท็จ แม้มีการกระทำต่อเนื่องทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง ศาลพิพากษายกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายไว้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 นั้น ก็เฉพาะการกระทำในส่วนที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการเท่านั้น ส่วนการที่โจทก์กล่าวไว้ในคำฟ้องว่าต่อมาจำเลยนำสำเนารายงานประจำวันไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วนำไปจดทะเบียนให้แก่ผู้มีชื่อนั้น โจทก์มิได้บรรยายการกระทำและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ตามที่ต้องกล่าวตามมาตรา158(5) จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยสำหรับการกระทำในส่วนนี้ด้วย ดังนั้นในการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์จะเป็นผู้เสียหายหรือไม่จึงต้องพิจารณาเฉพาะการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยคือการที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ การกระทำตามฟ้องที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้ร้อยตำรวจโทพ.จดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้น มิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดีมิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายแม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่นอันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด การแจ้งความเท็จไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ลดลง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของจำเลยได้หายไปจากบ้านพักพนักงานสอบสวนจึงได้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นความเท็จ ดังนี้ เห็นได้ว่า การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมานั้นจำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้นมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดี มิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดดังกล่าวในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงแต่ประการใด ในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย แม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่น อันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารที่ไม่ถูกต้องในการแก้ไขปีเกิด และการพิสูจน์ปีเกิดที่ไม่มีหลักฐานชัดเจน ศาลยกฟ้อง
พยานทุกปากที่โจทก์นำสืบไม่มีผู้ใดยืนยันได้ว่าจำเลยเกิดปีใดแน่ คงมีแต่ จ. ม. และ ท. พยานโจทก์เบิกความอ้างถึงทะเบียนนักเรียนของจำเลยว่า ตามเอกสารดังกล่าวปีเกิดของจำเลยเป็น พ.ศ. 2470 แต่ได้มีการแก้ไขเป็น พ.ศ. 2476 โดยพยานทั้งสามไม่มีผู้ใดทราบว่าจำเลยเกิดปีใด พยานโจทก์เป็นที่สงสัยไม่แน่ชัดว่า จำเลยเกิดปีใด ฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งว่าจำเลยเกิดปีพ.ศ. 2476 เป็นเท็จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค-แจ้งความเท็จ: ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค และ ป.อาญา ม.267
จำเลยทำสัญญากู้เงิน โดยตกลงกันว่าหากจำเลยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ภายในหนึ่งเดือนและได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวลงวันที่ล่วงหน้าตามสัญญา แม้ต่อมาจำเลยไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่การที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ตั้งแต่แรก จำเลยย่อมคาดหวังว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่นอน หาใช่ออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ไม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 การที่จำเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าสมุดเช็ค หายทั้งเล่ม หลังจากออกเช็คพิพาทเพียง 3 วันจำเลย จะอ้างว่าไม่มีเจตนาแจ้งว่าเช็คพิพาทหายหาได้ไม่ เพราะเช็คพิพาทรวมอยู่ในสมุดเช็คดังกล่าวด้วยซึ่งสามัญสำนึกของบุคคลเช่นจำเลยที่มีความรู้และยังสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยย่อมต้องรู้ถึงผลของการกระทำของตนเองดีว่าเป็นการแจ้งความเท็จให้เจ้าพนักงานจดข้อความดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและการห้ามฎีกา: ผลของการวินิจฉัยฟ้องซ้ำในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
แม้ในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำของศาลชั้นต้นจะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267ก็ตาม แต่ผลจากคำวินิจฉัยในเรื่องฟ้องซ้ำนั้นย่อมทำให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าจำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้องก็ตาม ก็มีผลเท่ากับเป็นการยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.
of 17