พบผลลัพธ์ทั้งหมด 167 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความเท็จเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท ไม่ถึงขั้นใช้เอกสารเท็จ ศาลฎีกาแก้โทษปรับและรอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ม. ยืนคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการของบริษัท ด. โดยมีกรรมการเข้าใหม่ 1 คน คือ พ. และกรรมการออกจากตำแหน่ง 2 คน คือ โจทก์ทั้งสองแสดงว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงแต่แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียน เพื่อให้จดข้อความอันเป็นเท็จนั้นลงในทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องการนำเอกสารทางทะเบียนอันจดข้อความเท็จดังกล่าวไปใช้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคหนึ่ง มาตรา 267 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยมาในปัญหาข้อนี้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความเท็จ รวมถึงการเป็นผู้เสียหายและการฟ้องที่ไม่สมบูรณ์
การบรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องระบุชัดเจนถึงข้อความเท็จนั้นว่ามีข้อความเป็นอย่างไร และความจริงเป็นอย่างไร คำฟ้องของโจทก์บรรยายเพียงว่า จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเทศบาล น. เพื่อขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎรของผู้มีชื่อ แต่ข้อความเท็จนั้นจำเลยแจ้งว่าอย่างไรไม่ปรากฏ และถึงแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าในการขอคัดสำเนารายการทะเบียนราษฎร จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง แต่โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ต้องบรรยายฟ้องให้ชัดเจนด้วยว่าข้อความจริงที่จำเลยปกปิดไว้เป็นอย่างไร เหตุใดการปกปิดไว้นั้นจึงถือได้ว่าเป็นการแจ้งข้อความเท็จ
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้หากเหตุผลอันจำเลยอ้างในคำร้องเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่งจะเป็นความเท็จ แต่ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตรง หาได้เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียใด ๆ ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่เพียงว่าจำเลยไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดข้อความอันเป็นเท็จใดลงในเอกสารราชการใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้หากเหตุผลอันจำเลยอ้างในคำร้องเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อซ้ำอีกครั้งหนึ่งจะเป็นความเท็จ แต่ก็เป็นกรณีที่จำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตรง หาได้เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียใด ๆ ของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.อ. มาตรา 267 แต่เพียงว่าจำเลยไปยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้มีหนังสือรายงานต่อศาลเพื่อจับกุมและกักขังผู้มีชื่อโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จหาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจดข้อความอันเป็นเท็จใดลงในเอกสารราชการใด ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อขอเปลี่ยนบัตรประชาชน โดยผู้มีสัญชาติไทย ศาลแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย ฉะนั้นในวันที่ 29 มกราคม 2557 และวันที่ 20 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จำเลยจึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2512 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุดโดยแจ้งข้อมูลว่าจำเลยเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 สัญชาติไทย พร้อมเลขประจำตัวประชาชนของ จ. แม้ที่จำเลยแจ้งว่ามีสัญชาติไทยไม่เป็นความเท็จ แต่การที่จำเลยแจ้งว่าเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 นั้น เป็นความเท็จเพราะจำเลยเกิดวันที่ 1 มกราคม 2512 และจำเลยยังใช้เลขประจำตัวประชาชนของ จ. โดยอ้างว่าจำเลยชื่อ จ. เป็นบุตร ย. และ ส. ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 137 ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตาม ป.อ. มาตรา 267 และฐานแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุด ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงกับแจ้งความเท็จ: กรรมเดียวหรือหลายกรรม, การคืนเงินค่าเสียหาย
แม้โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาขอให้กำหนดโทษจําเลยในข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ เนื่องจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาฉ้อโกง แต่ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ร่วมเกี่ยวพันกับความผิดข้อหาฉ้อโกงที่โจทก์ร่วมมีสิทธิฎีกา ทั้งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากศาลอุทธรณ์ภาค 9 และศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คําฟ้องของโจทก์แยกเป็นข้อ ก. และข้อ ข. แต่ใช้วันเวลากระทำผิดเดียวกัน ข้อ ก. ระบุว่า จําเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมว่า จําเลยประสงค์ขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ผู้เสียหายที่ 1 หลงเชื่อจึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลย และมอบเงินให้จําเลย ข้อ ข. ระบุว่า จําเลยแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสัญญาขายฝากที่ดินอันเป็นเอกสารราชการว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างอันเป็นความเท็จ ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 หลงเชื่อและจดข้อความดังกล่าวลงในหนังสือสัญญาขายฝากที่ดิน เห็นได้ว่าการที่จําเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามข้อ ข. เป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการฉ้อโกงตามข้อ ก. อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อหลอกลวงเงินจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จําเลยขายฝากที่ดินให้โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้าง ความจริงที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานฉ้อโกง และมีคําขอให้จําเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําเลยจึงต้องคืนเงินเต็มจำนวนแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนที่ดินที่จําเลยจดทะเบียนขายฝากให้แก่โจทก์ร่วม จําเลยต้องดำเนินการตามสิทธิของตนเองต่อไป
คําฟ้องของโจทก์แยกเป็นข้อ ก. และข้อ ข. แต่ใช้วันเวลากระทำผิดเดียวกัน ข้อ ก. ระบุว่า จําเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมว่า จําเลยประสงค์ขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ผู้เสียหายที่ 1 หลงเชื่อจึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับจำเลย และมอบเงินให้จําเลย ข้อ ข. ระบุว่า จําเลยแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสัญญาขายฝากที่ดินอันเป็นเอกสารราชการว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างอันเป็นความเท็จ ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 หลงเชื่อและจดข้อความดังกล่าวลงในหนังสือสัญญาขายฝากที่ดิน เห็นได้ว่าการที่จําเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตามข้อ ข. เป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการฉ้อโกงตามข้อ ก. อันเป็นการกระทำต่อเนื่องด้วยเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อหลอกลวงเงินจากโจทก์ร่วม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จําเลยขายฝากที่ดินให้โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงว่าที่ดินมีสิ่งปลูกสร้าง ความจริงที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง โจทก์จึงฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานฉ้อโกง และมีคําขอให้จําเลยคืนเงินแก่โจทก์ร่วม เมื่อจําเลยให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟ้อง จําเลยจึงต้องคืนเงินเต็มจำนวนแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนที่ดินที่จําเลยจดทะเบียนขายฝากให้แก่โจทก์ร่วม จําเลยต้องดำเนินการตามสิทธิของตนเองต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับครอบครองที่ดินเพื่อออกโฉนดใหม่ ศาลฎีกาพิพากษาว่าเป็นการแจ้งความเท็จลงในเอกสารราชการ
แม้โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในโฉนดที่ดิน อันเป็นเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 หรือผู้อื่น โดยไม่ได้บรรยายว่าเอกสารดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แต่เมื่ออ่านถ้อยคำในฟ้องทั้งหมดแล้วมีความหมายในทำนองว่าโฉนดที่ดินนั้นมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐานด้วย ทั้งยังปรากฏตามฟ้องว่าในวันที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในโฉนดที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ใช้โฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันเดียวกันนั้นเอง ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ที่ 1 จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 267 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับสัญชาติเพื่อขอมีบัตรประชาชน และอายุความของความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมิได้มีสัญชาติไทยได้แจ้งข้อความต่อเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยเป็นคนผู้มีสัญชาติไทยเพื่อให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในแบบทะเบียนราษฎร อันเป็นเอกสารราชการเพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรเก่าที่ชำรุด และบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีชื่อ ส. เป็นเอกสารราชการที่จำเลยปลอมขึ้น เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267 และ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งบทมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าการกระทำอันเป็นความผิดต้องเป็นการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรกเท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158
ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และสอบถามคำให้การแล้ว จำเลยให้การปฏิเสธ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนการตรวจพยานหลักฐานและสอบคำให้การไป แต่ก็ไม่จำต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และสอบถามคำให้การซ้ำอีก จำเลยยื่นคำให้การขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า สำเนาให้โจทก์ รับเป็นคำให้การของจำเลยอันมีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธ และจำเลยให้การใหม่เป็นรับสารภาพโดยไม่ต้องสอบถามคำให้การดังกล่าวต่อหน้าโจทก์จำเลยอีก เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษและจำเลยให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจึงพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
การสืบเสาะและพินิจจำเลยเป็นดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นว่าการสืบเสาะและพินิจไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาและพิพากษา เนื่องจากจำเลยได้ให้ข้อเท็จจริงตามคำร้องประกอบคำให้การรับสารภาพเพียงพอแล้ว หาใช่ศาลจำต้องสั่งให้มีการสืบเสาะพินิจจำเลยทุกกรณีไปไม่
ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และสอบถามคำให้การแล้ว จำเลยให้การปฏิเสธ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนการตรวจพยานหลักฐานและสอบคำให้การไป แต่ก็ไม่จำต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และสอบถามคำให้การซ้ำอีก จำเลยยื่นคำให้การขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า สำเนาให้โจทก์ รับเป็นคำให้การของจำเลยอันมีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธ และจำเลยให้การใหม่เป็นรับสารภาพโดยไม่ต้องสอบถามคำให้การดังกล่าวต่อหน้าโจทก์จำเลยอีก เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษและจำเลยให้การรับสารภาพนั้น กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลจึงพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
การสืบเสาะและพินิจจำเลยเป็นดุลพินิจของศาลเมื่อเห็นว่าการสืบเสาะและพินิจไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาและพิพากษา เนื่องจากจำเลยได้ให้ข้อเท็จจริงตามคำร้องประกอบคำให้การรับสารภาพเพียงพอแล้ว หาใช่ศาลจำต้องสั่งให้มีการสืบเสาะพินิจจำเลยทุกกรณีไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3949/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-จดทะเบียนบริษัท: ผู้เสียหาย-อำนาจฟ้อง-การแย่งอำนาจจัดการ
ความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 267 โจทก์ได้บรรยายไว้ในตอนท้ายของฟ้องข้อ 2 ว่า ข้อความที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนบริษัทและคำรับรองการจดทะเบียนล้วนเป็นความเท็จ เพราะแท้ที่จริงแล้วโจทก์ไม่เคยทราบถึงการบอกกล่าวนัดประชุมเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 และไม่ได้เข้าประชุมเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2561 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ถือหุ้นเข้าประชุมครบจำนวน 3 คน และนับจำนวนหุ้นได้ 40,000 หุ้น ตามที่จำเลยทำคำรับรอง อันเป็นการบรรยายชี้ชัดลงไปแล้วว่าข้อความใดเป็นจริงและข้อความใดเป็นเท็จ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วเมื่อจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนว่าได้มีการบอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นและจัดให้มีการประชุม เป็นเหตุให้นายทะเบียนหลงเชื่อว่ามีการประชุมจริงจึงรับจดทะเบียนแก้ไขให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการลงชื่อผูกพันบริษัทได้ ย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทเป็นว่าไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทอีกต่อไปแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 ได้โจทก์และจำเลยร่วมกันก่อตั้งบริษัท อ. มีโจทก์ จำเลยและ ด. ญาติของจำเลยเป็นผู้ถือหุ้น อันมีลักษณะเป็นบริษัทของครอบครัว การกระทำของจำเลยที่อ้างส่งเอกสารเท็จและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนเพื่อให้รับจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทไว้ในสารบบรายการจดทะเบียนของบริษัท จึงเป็นเพียงการแย่งเอาอำนาจการบริหารจัดการบริษัทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว ส่วนทรัพย์สินอื่น ๆ ของบริษัท รวมตลอดถึงหุ้นก็ยังคงเป็นของบริษัท และผู้ถือหุ้นรายเดิมในสัดส่วนจำนวนหุ้นเท่าเดิม ข้อเท็จจริงไม่เพียงพอให้รับฟังได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อลวงให้โจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 42 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินปฏิรูป: ผู้ไม่มีสิทธิในที่ดินไม่ถือเป็นผู้เสียหายจากการแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อขอ ส.ป.ก. 4-01
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งหากโจทก์ประสงค์จะเข้ารับการจัดที่ดินต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด อีกทั้งที่ดินพิพาทมีการโต้แย้งการครอบครองระหว่างโจทก์และจำเลย และยังไม่ได้มีการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้แก่ผู้ใด การที่จำเลยไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดินว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องยาวนาน 35 ปี เพื่อประกอบการขอออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ถึงหากจะเป็นความเท็จ โจทก์ซึ่งยังไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ จากการกระทำของจำเลย จึงไม่ไช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อความตามโฉนดที่ดินขณะคดีแพ่งยังไม่ถึงที่สุด ไม่เป็นความเท็จ ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 137, 267
ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2556 คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้อง ล. กับจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในระหว่างฎีกายังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดินทั้งสองแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่ และจำเลยที่ 1 มิได้หลอกลวงให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และ 267
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8426/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้ถือหุ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นที่เป็นเท็จและการกระทำความผิดต่อบริษัท
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าในการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นของผู้เสียหายที่ 1 ไม่กระทบต่อจำนวนหุ้นของโจทก์ร่วมที่ยังคงมีอยู่ 1 หุ้น เช่นเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นดังกล่าวหากกระทำไปโดยไม่ชอบ เป็นความเท็จ และมีการนำสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นอันเป็นเท็จนั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อให้รับจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงลงไว้ในสารบบรายการจดทะเบียนของบริษัทย่อมมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการของผู้เสียหายที่ 1 ไม่มากก็น้อย เมื่อโจทก์ร่วมเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในบริษัทผู้เสียหายที่ 1 ย่อมได้รับผลกระทบด้วย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายในการกระทำดังกล่าว และมีสิทธิที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดนี้ได้