คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 46

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารอันตราย อาศัย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารของโจทก์เป็นอาคารห้องหนึ่งในอาคารพิพาทซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ปลูกสร้างเป็นอาคารเดียวติดต่อกันจำนวนสิบสองห้อง การที่นายช่างของจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบอาคารพิพาทห้องอื่น ถือได้ว่านายช่างได้ตรวจสอบห้องของโจทก์ด้วยแล้วโดยไม่จำต้องตรวจสอบอาคารของโจทก์ซ้ำอีก ก่อนเกิดเหตุคดีนี้อาคารห้องแรกเคยพังลงมาเมื่อนายช่างของจำเลยที่ 1 พบว่าเสาด้านหน้าของอาคารทั้งสองห้องที่ได้ตรวจสอบหักทรุดลงมา และจะดึงโครงสร้างของห้องอื่นพังลงมาด้วย จึงฟังได้ว่าอาคารของโจทก์มีสภาพที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินแล้วเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขอาคารตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ซึ่งทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2566/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาคารทรุดโทรมเป็นภัยต่อความปลอดภัย เทศบาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
อาคารพิพาทปลูกสร้างมานาน 15 ปีแล้ว และเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น เดิมมี 12 ห้อง ปลูกสร้างเป็นอาคารเดียวติดต่อกันทั้งสิบสองห้อง ก่อนเกิดเหตุคดีนี้อาคารห้องแรกเคยพังลงมา เสาด้านหน้าระหว่างห้องเลขที่ 35/39 กับเลขที่ 35/40 หักทรุดลงมา และเสาด้านหน้าของอาคารพาณิชย์ทั้งสิบเอ็ดห้องแตกร้าว 5 ห้อง อาคารดังกล่าวใช้คานร่วมต่อเนื่องกัน เหล็กที่หล่อคานรับน้ำหนักต่อเนื่องกันเป็นโครงสร้างเดียวกัน หากช่วงกลางพังทรุดลงมาก็จะดึงโครงสร้างของห้องอื่นพังลงมาด้วย เมื่อปรากฏว่าอาคารดังกล่าวทั้งสิบเอ็ดห้อง รวมทั้งห้องพิพาทของโจทก์ได้ปลูกสร้างในคราวเดียวกัน วัสดุที่ใช้เป็นชนิดเดียวกัน ทั้งอาคารห้องเลขที่ 35/39 และเลขที่ 35/40 ได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว จึงไม่จำต้องกำหนดให้นายช่างไปตรวจสอบอาคารพิพาทของโจทก์ซ้ำอีก และฟังได้ว่าอาคารพิพาทของโจทก์มีสภาพที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สินแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการแก้ไขอาคารตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ซึ่งทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคารได้