พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงใหม่นอกคำฟ้อง และการไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ฎีกาของโจทก์เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่มิได้ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ มีลักษณะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่เป็นไปโดยมุ่งประสงค์ให้นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะโจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดก, สัญญาเช่า, การคืนค่าเช่า, และความรับผิดของทายาทและผู้เช่า
โจทก์ทั้งสองฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมรู้กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตายด้วยการนำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาต่ำ แล้วจำเลยที่ 2 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วง ทำให้กองมรดกของผู้ตายเสียหายต้องขาดรายได้ที่ควรจะได้รับ สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมอีกผู้หนึ่ง นำเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปหาประโยชน์แก่ตนและพวกโดยไม่มีสิทธิ ขอให้บังคับคืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่กองมรดกของผู้ตายและขับไล่จำเลยทั้งสามจากคลังสินค้าพิพาท อันถือเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองจะกล่าวบรรยายฟ้องอ้างการกระทำของจำเลยทั้งสามว่าเป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง กรณีก็ไม่อาจฟังว่าสภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นมูลคดีละเมิดและกลฉ้อฉลอันมีอายุความ 1 ปี ตามข้ออ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่าโจทก์ทั้งสองทราบถึงการละเมิดและทราบตัวผู้จะพึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อนวันที่ 11 เมษายน 2554 และโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 ซึ่งยังไม่เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้เช่าในฐานะทายาทตามพินัยกรรม (ผู้รับพินัยกรรม) เงินค่าเช่าต้องกลับเข้าสู่กองมรดกของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา (ในอีกคดีหนึ่ง) ต้องไปว่ากล่าวกันในภายหลัง และหากจำเลยที่ 1 มีสิทธิกึ่งหนึ่งในค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทก็คงมีสิทธิได้รับจากค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งความเป็นหุ้นส่วนก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทเต็มจำนวนนั้น เป็นข้อที่โจทก์ทั้งสองเพิ่งหยิบยกขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกาโดยไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกันหาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาเหมาเดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่สามารถให้เช่าเก็บข้าวสารได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท แล้วจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกับจำเลยที่ 3 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงในอัตราเดือนละ 524,880 บาท โดยสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและรู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ ทำให้กองมรดกของผู้ตายได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเอาคลังสินค้าพิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์มรดกของผู้ตายร่วมกันโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ และยังอ้างว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยกลฉ้อฉล กรณีตามคำฟ้องจึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงคลังสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันชำระค่าเช่าต่อกัน ทั้งหากจะฟังว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีผลผูกพันกันตามข้อสัญญา กรณีก็ต้องนับว่าค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือคลังสินค้าพิพาทและถือเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยที่ 2 มีสิทธินำไปหักทอนออกจากค่าเช่าช่วงคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดคืนแก่โจทก์ทั้งสอง และเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทที่ได้รับจากจำเลยที่ 3 แล้ว การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้อีก ย่อมเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดซ้ำซ้อนกันในมูลหนี้เดียวกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทในส่วนนี้อีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 คงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)
โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้เช่าในฐานะทายาทตามพินัยกรรม (ผู้รับพินัยกรรม) เงินค่าเช่าต้องกลับเข้าสู่กองมรดกของผู้ตาย สิทธิของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา (ในอีกคดีหนึ่ง) ต้องไปว่ากล่าวกันในภายหลัง และหากจำเลยที่ 1 มีสิทธิกึ่งหนึ่งในค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทก็คงมีสิทธิได้รับจากค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ทั้งความเป็นหุ้นส่วนก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนกับผู้ตาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทเต็มจำนวนนั้น เป็นข้อที่โจทก์ทั้งสองเพิ่งหยิบยกขึ้นต่อสู้ในชั้นฎีกาโดยไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกันหาประโยชน์จากกองมรดกของผู้ตาย โดยจำเลยที่ 1 นำคลังสินค้าพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายออกให้จำเลยที่ 2 เช่าในราคาเหมาเดือนละ 20,000 บาท ทั้งที่สามารถให้เช่าเก็บข้าวสารได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 500,000 บาท แล้วจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมมือกับจำเลยที่ 3 นำคลังสินค้าพิพาทออกให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงในอัตราเดือนละ 524,880 บาท โดยสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำสัญญาโดยกลฉ้อฉลและรู้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ ทำให้กองมรดกของผู้ตายได้รับความเสียหาย ซึ่งตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ทั้งสองเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเอาคลังสินค้าพิพาทไปให้จำเลยที่ 3 เช่าเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์มรดกของผู้ตายร่วมกันโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ และยังอ้างว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการกระทำโดยกลฉ้อฉล กรณีตามคำฟ้องจึงมีเหตุอันควรเชื่อว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เช่าช่วงคลังสินค้าพิพาท โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันชำระค่าเช่าต่อกัน ทั้งหากจะฟังว่าสัญญาเช่าคลังสินค้าพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 มีผลผูกพันกันตามข้อสัญญา กรณีก็ต้องนับว่าค่าเช่าซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องชำระแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิเหนือคลังสินค้าพิพาทและถือเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งจำเลยที่ 2 มีสิทธินำไปหักทอนออกจากค่าเช่าช่วงคลังสินค้าพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดคืนแก่โจทก์ทั้งสอง และเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทที่ได้รับจากจำเลยที่ 3 แล้ว การจะบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินค่าเช่าในส่วนนี้อีก ย่อมเป็นการบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดซ้ำซ้อนกันในมูลหนี้เดียวกัน ดังนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทในส่วนนี้อีก จำเลยที่ 1 และที่ 2 คงต้องรับผิดคืนเงินค่าเช่าคลังสินค้าพิพาทกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 10,502,184.33 บาท แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น ปัญหาข้อนี้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่ถือเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: จำเลยฎีกาประเด็นใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันชำระค่าเช่าที่ค้างชำระ เบี้ยปรับ มูลค่าลดลงที่กำหนด กับให้คืนรถที่เช่าในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน ในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 คงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายในส่วนเบี้ยปรับและมูลค่าลดลงที่กำหนดให้เหมาะสมเท่านั้น หนี้ในส่วนค่าเช่าที่ค้างชำระซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มิได้อุทธรณ์โต้แย้งจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ฎีกาขอให้นำเงินมัดจำจำนวน 7,984,030 บาท ไปหักออกจากค่าเช่าที่ค้างชำระคงเหลือ 31,806,110.38 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4722/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับยึดทรัพย์สินจากความผิดฐานค้ามนุษย์และฟอกเงิน ศาลยืนตามคำสั่งเดิม
เรื่องฟ้องเคลือบคลุมในคดีแพ่งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดได้เอง ผู้คัดค้านที่ 3 ให้การว่า คำร้องของผู้ร้องเคลือบคลุม โดยมิได้ให้เหตุผลว่าเคลือบคลุมอย่างไร เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ทั้งศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้ ฎีกาของผู้คัดค้านที่ 3 ที่ว่าคำร้องของผู้ร้องเคลือบคลุม จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 3 มีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐาน จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 3 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ผู้คัดค้านที่ 3 มีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความ: ข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์เมื่อข้ออ้างไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นได้ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาจึงพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 และยกฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบประเด็นนอกคำให้การ: จำเลยอ้างเหตุไม่ชำระค่าจ้างหลังการสืบพยาน ศาลฎีกาห้าม
จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างปรับปรุงถนนและภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา โจทก์ไม่ใช่ผู้ก่อสร้าง เอกสารราคาค่าก่อสร้างเป็นการกะประมาณราคา ไม่ใช่ราคาวัสดุและค่าแรงงานที่โจทก์ได้จ่ายไปจริง โจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับเหมาช่วงหรือลูกจ้าง หรือคู่สัญญากับจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ก่อสร้างโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งสองเองทั้งสิ้น ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองให้การอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่า จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าเสียหายหรือค่าจ้างแก่โจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับเหมาช่วงหรือคู่สัญญากับจำเลยทั้งสอง มิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธว่าโจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จแต่อย่างใด การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยทั้งสองไม่ต้องชำระค่าจ้างเนื่องจากโจทก์ทำงานไม่แล้วเสร็จ จึงถือได้ว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบ: จำเลยยกเหตุผลใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาลล่าง
จำเลยให้การว่า ภายหลังจำเลยได้รับเงินมัดจำจากโจทก์จำนวน 3,400,000 บาท จำเลยได้นำเงิน 2,000,000 บาท ที่ได้รับจากโจทก์ไปวางมัดจำแก่ ส. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ขายให้แก่จำเลย ข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยไม่ได้รับเงินมัดจำตามเช็คจำนวน 3,000,000 บาท จึงอยู่นอกเหนือประเด็นข้อพิพาท การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงที่ตนนำสืบนอกเหนือจากที่ให้การไว้เป็นเหตุผลในฎีกาของจำเลยเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยชนะคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนอง: บุคคลภายนอกสุจริตได้รับความคุ้มครอง แม้การซื้อขายจะตกเป็นโมฆียะ
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 การกระทำการโดยไม่สุจริต โดยพนักงานของจำเลยที่ 2 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงโจทก์ในการรับจำนองที่ดินพิพาท โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องไว้คงบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทโดยทราบดีว่า เป็นการรับจำนองที่ดินที่สูงกว่าราคาประเมิน และสูงกว่าราคาซื้อขายที่ดินตามสัญญา ฎีกาโจทก์จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องนอกฟ้อง: โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดฐานละเมิด แต่ศาลตัดสินว่าเป็นประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ร่วมทำสัญญาจ้างกับกรมทางหลวง โดยให้บริการรับเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ แต่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่สามารถส่งมอบงานตามส่วนที่ได้รับมอบหมายให้โจทก์เพื่อส่งมอบให้กรมทางหลวงได้ภายในระยะเวลาตามสัญญา ทำให้โจทก์เสียหายต้องชำระค่าปรับ ไม่สามารถรับค่าจ้างที่เหลือ รวมทั้งเงินประกันผลงาน ข้อหาตามฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องผิดสัญญา ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นส่วนตัวในฐานละเมิด โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6591/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เนื่องจากข้อเท็จจริงไม่ถึงกันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุ โจทก์ขับรถยนต์กลับรถในระยะหนึ่งร้อยเมตรจากทางราบของเชิงสะพาน และเป็นบริเวณที่มีสัญญาณจราจรบนทางห้ามรถทั้งสองฝั่งขับรถคร่อมเส้น ห้ามแซง ห้ามกลับรถและห้ามเลี้ยวขวาโดยเด็ดขาด จำเลยที่ 1 ขับรถตามหลังโจทก์มีระยะห่างจากรถยนต์ของโจทก์มากพอสมควร หากโจทก์ไม่เลี้ยวกลับรถฝ่าฝืนกฎหมายและสัญญาณจราจร ทั้งมิได้ให้สัญญาณเปิดไฟเลี้ยวขวา รถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับย่อมไม่เฉี่ยวชนกับรถยนต์ของโจทก์ การที่รถยนต์จำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากการขับรถยนต์ฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยของจำเลยที่ 1 ที่จะหยุดรถได้ทัน เหตุละเมิดเกิดขึ้นจากความประมาทของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ยืนยันข้อเท็จจริงแต่เพียงว่า ขณะเกิดเหตุโจทก์เลี้ยวรถกลับบริเวณที่เกิดเหตุไปด้านตรงข้ามอย่างกะทันหัน จนจำเลยที่ 1 ไม่สามารถหยุดหรือหักหลบได้ทัน เป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยที่ 1 พุ่งชนรถยนต์ของโจทก์ อันเกิดจากความประมาทของโจทก์ ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยกขึ้นกล่าวอ้างในฎีกาถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับขณะโจทก์ฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย