คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ม. 161

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การพิจารณาประเภทรถยนต์ตามสภาพและลักษณะการใช้งาน ไม่ใช่แค่แชสซีส์
การเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้นต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงานขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่ง ลำพังแต่การกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้ จำเลยทั้งสองเสียภาษีสรรพสามิตตามฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ต้องพิจารณาสภาพรถ ณ เวลาจดทะเบียน ไม่ใช่การดัดแปลงภายหลัง
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ได้ระบุไว้ว่า รถยนต์นั่ง หมายความว่า รถยนต์เก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างและหรือด้านหลังคนขับมีประตู หรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด ส่วนรถยนต์กระบะ หมายความว่ารถยนต์ ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับ และตอนหลังเป็นกระบะบรรทุกซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา ถ้อยคำที่ปรากฏตามตัวอักษรดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยแจ้งชัดว่าการเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น ต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่ มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ
จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงาน ขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้องจึงอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวได้ จำเลยก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาล เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่งดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ลำพังแต่ การกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสองเสียภาษี สรรพสามิตตามฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การนำสินค้าออกจากโรงงานโดยไม่เสียภาษี, ครอบครองสินค้าผิดกฎหมาย, และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 5 ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพสามิตที่จะตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต โดยให้ถือตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเมื่อโจทก์ได้นำสืบถึงคำสั่งกรมสรรพสามิต ซึ่งได้อ้างอิงถึงประกาศกระทรวงการคลังเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแล้ว ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าโจทก์มิได้นำสืบถึงหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดว่ามีหลักการตีความอย่างไรและการตีความได้กระทำถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือไม่ จึงฟังไม่ขึ้น
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จดทะเบียนสรรพสามิตต่อกรมสรรพสามิตเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนรามคำแหง โรงงานอยู่ที่ถนนลาดพร้าว โดยจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการและจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลสาขาปิ่นเกล้า เริ่มทำงานในเดือนธันวาคม 2536 และในวันที่ 14 มกราคม2537 เจ้าพนักงานสรรพสามิตได้เข้าตรวจค้นที่สาขาปิ่นเกล้า ยึดได้เครื่องปรับอากาศที่มิได้เสียภาษีสรรพสามิตจำนวน 455 เครื่อง เมื่อตามทางพิจารณานำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีสรรพสามิตของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทั้งเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก็รับว่าลำพังเพียงการตรวจดูเครื่องปรับอากาศที่ส่งไปจำหน่ายที่สาขาปิ่นเกล้าคนทั่วไปก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเสียภาษีแล้วหรือไม่ แม้จำเลยที่ 3 เป็นน้องชายของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3เคยให้การรับสารภาพและยินยอมให้เปรียบเทียบปรับก็ตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีเหตุระแวงสงสัยว่าจำเลยที่ 3 รู้หรือไม่ว่าเครื่องปรับอากาศของกลางที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงงานอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ มาตรา 19,147(1) แล้วกรรมหนึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาปิ่นเกล้าเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161(1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนเป็นความผิดตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 162(1) ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง
เมื่อเครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากสาขาปิ่นเกล้าจำนวน 455 เครื่องเป็นสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษี ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯมาตรา 19 ห้ามมิให้นำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่จะเข้ากรณียกเว้นที่กฎหมายกำหนดการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นความผิดตามมาตรา 147(1) และตามมาตรา 168 วรรคสอง บัญญัติว่า สินค้าในการกระทำความผิดที่มีโทษตามมาตรา 147 ให้ศาลสั่งริบเป็นของกรมสรรพสามิต ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ ศาลจึงต้องริบเครื่องปรับอากาศจำนวนดังกล่าวตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตฯ หาใช่เป็นการริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ไม่
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษโดยสถานเบา ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 และที่ 2คนละ 2,665,400 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างให้จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การตีความคำสั่งกรมสรรพสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ และความผิดฐานไม่ยื่นแบบภาษี
พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ตอนที่ 3 ประเภทที่ 03.01 กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม ที่มีขนาดทำความเย็นไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต และอธิบดีกรมสรรพสามิตได้วินิจฉัยให้สิ่งต่อไปนี้เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 03.01 คือ (1) COOLING UNIT หรือ FAN COIL UNIT หรือ INDOOR UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็น (EVAPORATOR) และพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ (2) CONDENSING UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน (CONDENSER) พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) ตามคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ยี่ห้อยูเนี่ยนแอร์ ชนิดแฟนคอยล์ ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และชนิดคอนเดนซิ่ง ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ จึงเป็นเครื่องปรับอากาศตามคำสั่งกรมสรรพสามิตดังกล่าว
ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแนบท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเห็นว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศและมีคำวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ดังกล่าว และ (3) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ดังนั้น คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว
เครื่องปรับอากาศที่ยึดจากสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าในการกระทำความผิดฐานนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมตามมาตรา 147 จึงต้องริบเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเป็นของกรมสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 168 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมนั้น เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19, 147 (1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161 (1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 162 (1) ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162 (1) ซึ่งเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง