คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 268

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดใช้เอกสารสิทธิปลอม ฉ้อโกง และความเสียหายต่อธนาคาร
จำเลยที่ 1 นำใบบันทึกรายการขายปลอมไปใช้เบิกเงินจากธนาคารผู้เสียหายจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265,341 การที่จำเลยที่ 1 นำใบบันทึกรายการขายปลอมไปใช้เบิกเงินจากธนาคารจนได้รับเงินจากธนาคารแล้ว ธนาคารจึงเป็นผู้เสียหายไม่ใช่ผู้ถือบัตรเครดิตที่ถูกปลอมลายมือชื่อเป็นผู้เสียหาย ปัญหานี้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ จำเลยที่ 1 ได้ร่วมมือกับบุคคลอื่นนำบัตรเครดิตปลอมมาใช้กับเครื่องรูดใบบันทึกรายการขายของจำเลยที่ 1 โดยกระทำหลายครั้งในชื่อของผู้ถือบัตรเครดิตถึง 8 คน เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ลดโทษให้แก่จำเลยที่ 1 อันนับเป็นคุณมากแล้วกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร: ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีปลอมแปลงเอกสารธรรมดา แต่ต้องฟ้องภายในกำหนดเวลา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอม หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและ ร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึง ไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1978/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและความชอบด้วยกฎหมายในการฟ้องคดีอาญา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิและร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมดังกล่าว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา265 ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาทซึ่งข้อหาดังกล่าวเกินอำนาจพิจารณาของศาลแขวง กรณีจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 และ 268 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 265 ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมและเอกสารราชการปลอมเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถที่ถูกลักมา ถือเป็นความผิดกรรมเดียวแต่ต่างกระทง
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมา เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้ มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี และแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมด ไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่น ที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง และเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ใน ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่า เป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่น ป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี ประจำปีปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมี เจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อ จำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด กรรมเดียวกัน การใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้าย วงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสาร คนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำ ต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมเป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียง กระทงลงโทษตาม มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า รถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียน ตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนา เดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียง บทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมประเภทต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ถูกลักมา มีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเอกสารราชการปลอม
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไป ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลย รถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนา จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม ใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอม ซึ่งเป็นความผิด ป.อ.มาตรา268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกัน โดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 91
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสามรายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุในเอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิดฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1160/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับรถยนต์ที่ถูกลักมา และเจตนาเพื่อหลอกลวงเจ้าหน้าที่
มีคนร้ายลักเอารถยนต์คันของกลางของผู้เสียหายไปต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ดังกล่าวได้จากจำเลยรถที่ยึดได้มีการติดแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีและแผ่นป้ายทะเบียนรถซึ่งเป็นของปลอม รถยนต์ที่จำเลยขับได้ติดเอกสารปลอมทั้งหมดไว้ที่รถในลักษณะเปิดเผยเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจหรือผู้อื่นที่พบเห็นเข้าใจว่าเอกสารปลอมเหล่านั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและเข้าใจว่ารถยนต์ที่จำเลยขับเป็นรถยนต์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยจำเลยก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาและจำเลยจะนำรถยนต์ของกลางไปขาย ถือได้ว่าเป็นการใช้เอกสารปลอมโดยเจตนาจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอม จำเลยได้ใช้เอกสารคือแผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี พ.ศ. 2540 ปลอมซึ่งเป็นความผิด ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 และใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 สำหรับการใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอมและการใช้แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปีพ.ศ. 2540 ปลอม โดยปิดไว้ที่รถยนต์ของกลางคันเดียวกันโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานเห็นว่ารถยนต์ของกลางคันที่จำเลยขับได้จดทะเบียนและเสียภาษีถูกต้องเพื่อจำเลยจะใช้รถยนต์โดยชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ส่วนการใช้แผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถอันเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 264 นั้น แม้จะใช้พร้อมกับแผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีรถยนต์ในคราวเดียวกัน แต่ก็ เป็นเอกสารคนละประเภทและมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันจึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกจากกันต่างหากจากความผิดฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม เป็นความผิดสองกระทง ต้องเรียงกระทงลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยใช้เอกสารปลอมทั้งสาม รายการในคราวเดียวกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์กระบะ ของผู้เสียหายที่จำเลยขับไปมีหมายเลขทะเบียนตามที่ระบุใน เอกสารปลอมเหล่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ให้ลงโทษตาม มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษ หนักที่สุดเพียงบทเดียวนั้นเป็นการไม่ชอบแต่โจทก์มิได้ อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องความผิด ฐานใช้เอกสารปลอม ดังนี้ เมื่อโจทก์ฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียใหม่ให้ถูกต้องแต่ให้ลงโทษจำเลยไม่เกินโทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม: พฤติการณ์ร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายโดยใช้เอกสารสิทธิปลอมเป็นหลักประกัน
การที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงินทั้งเข้าร่วม ลงชื่อเป็นพยานยิ่งกว่าผู้เป็นนายหน้าหาเงินกู้ทั่วไปจะ พึงกระทำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้ว่า น.ส.3 ก. ที่อ. นำมาให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นเอกสารปลอม และนอกจากการกู้ยืมเงิน รายนี้แล้วบุคคลที่จำเลยพามากู้ยืมเงินจากผู้เสียหายล้วนแต่ ใช้ น.ส.3 ก. ปลอมวางเป็นหลักประกันทั้งสิ้น ทั้งเมื่อ ผู้เสียหายมอบเงินให้แล้ว จำเลยน. และอ. ช่วยกันนับเงินและแบ่งใส่กระเป๋าแต่ละคนแล้วพูดกันว่ายืมเงินกันใช้ก่อน ครั้นเมื่อ อ. ไม่ชำระเงินคืน ผู้เสียหายบอกจำเลยให้ช่วยติดต่อจำเลยบอกว่าอย่าเพิ่งแจ้งความจะนำเงินมาชำระให้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับพวกแบ่งหน้าที่กัน ทำโดยนำ น.ส.3 ก. ปลอมไปวางเป็นหลักประกันเงินกู้และแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายไปพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฉ้อโกง และใช้เอกสารสิทธิอันเป็น เอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกทรัพย์, และทำลายเอกสารของธนาคารโดยพนักงาน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย ตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้ง เป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 188
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ทำลายเอกสาร, ยักยอกทรัพย์โดยพนักงานธนาคาร
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหายตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้งเป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐานต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000 บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมการที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้งเป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาใช้เอกสารปลอม - จำเลยต้องรู้ว่าเอกสารเป็นปลอม จึงมีผิดฐานใช้เอกสารปลอม
ผู้กระทำจะมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมต่อเมื่อได้รู้ข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นปลอม เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้รู้ว่าเอกสารดังกล่าวปลอม การที่จำเลยใช้เอกสารนั้นย่อมขาดเจตนาในการกระทำผิด จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
of 57