พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการมอบหมายและตัวแทน กรณีละเมิดจากการดูแลความปลอดภัยในศูนย์การค้า
โจทก์นำสืบเพียงว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ลานจอดรถชั้นเกิดเหตุโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ปล่อยปละละเลยมิได้ดูแลรักษาความปลอดภัยตามหน้าที่ของตนแก่รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยเป็นเหตุให้มีคนเข้ามาลักรถยนต์คันดังกล่าว หรือมีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนในขณะเกิดเหตุตามฟ้องโจทก์ พยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยหายไป จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จำเลยร่วมย่อมเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคาร จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบ 420
อาคารจอดรถเป็นอาคารห้างสรรพสินค้าที่จำเลยที่ 3 ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้า และได้ความตามหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ว่าจำเลยที่ 3 มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการจำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีวัตถุประสงค์บริหารจัดการร้านค้าเพื่อประกอบการค้าในลักษณะศูนย์การค้าด้วย ชื่อของจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วมมีคำว่า เซ็นทรัล ประกอบกับกรรมการของจำเลยที่ 3 มี น. กับอีก 11 คน ในจำนวน 11 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ น. ถึง 9 คน ส่วนจำเลยร่วมก็มี ว. กับอีก 7 คน เป็นกรรมการในจำนวน 7 คน มีชื่อสกุลเดียวกับ ว. ถึง 5 คน ทั้งอาคารมีที่จอดรถที่เดียวกัน ใช้บัตรจอดรถเดียวกันมีเครื่องหมายของศูนย์การค้าเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า แม้จำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทคนละบริษัท แต่ตามหลักฐานและพฤติการณ์ดังกล่าวน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยร่วมเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ประกอบกิจการค้าหาประโยชน์จากการใช้สถานที่ศูนย์การค้าที่อาคารร่วมกัน โดยแบ่งหน้าที่กันทำ กล่าวคือจำเลยที่ 3 มีหน้าที่จำหน่ายสรรพสินค้าเป็นหลัก จำเลยร่วมมีหน้าที่บริหารจัดการรวมทั้งบริหารจัดการเกี่ยวกับการจอดรถของลูกค้า แม้จำเลยร่วมผู้เดียวลงชื่อเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าทั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยร่วม ร่วมกันว่าจ้างจำเลยที่ 2 รักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 3 มอบให้จำเลยร่วมเป็นตัวแทนของตน จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2949/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกาย พยายามฆ่า และพาอาวุธไปในเมือง ศาลพิจารณาหลักฐานและบทบาทของจำเลยแต่ละคน
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 กล่าวหาจำเลยทั้งสองกระทำความผิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 แต่ตามใบนำส่งผู้บาดเจ็บที่พนักงานสอบสวนส่งผู้เสียหายทั้งสองให้แพทย์ตรวจทั้งสองฉบับที่โจทก์แนบท้ายคำฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ระบุวันเกิดเหตุว่าเป็นวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ในตอนท้ายยังระบุด้วยว่าต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2547 เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 2 ได้ และวันที่ 1 เมษายน 2547 จำเลยที่ 1 เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 มิใช่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2912/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยทางรถยนต์ กรณีลูกจ้างประมาทชนบุคคลภายนอก ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญา
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดกับ น. ในฐานะนายจ้าง แต่โจทก์มิได้ฟ้องโดยยืนยันว่า จำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจากจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โจทก์เพียงแต่ฟ้องว่า น. ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ขับรถในทางการที่จ้างโดยประมาทชนรถที่โจทก์รับประกันภัย จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์กระบะของจำเลยที่ 1 ไว้ในขณะเกิดเหตุ และกรมธรรม์ยังคุ้มครองอยู่ในขณะเกิดเหตุ โดยกรมธรรม์มีเงื่อนไขสำคัญว่า หากรถยนต์กระบะที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 จะรับผิดต่อบุคคลภายนอกในนามของผู้เอาประกันภัยแทนผู้เอาประกันภัย เป็นการฟ้องให้ผู้รับประกันภัยรับผิดตามสัญญาประกันภัย ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดได้โดยไม่จำต้องฟ้องผู้เอาประกันภัยด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามที่จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบรับว่า จำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุจาก น. และข้อเท็จจริงได้ความว่า น. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุชนรถที่โจทก์รับประกันภัยโดยละเมิด จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกัญชา: ศาลฎีกาแก้เป็นว่ามีความผิดฐานจำหน่ายกัญชา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาต่างไป
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยและยึดกัญชาแห้ง 5 ห่อ น้ำหนักสุทธิ 23.740 กรัม เป็นของกลาง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายกัญชาตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76/1 วรรคหนึ่ง จำคุกกระทงละ 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมิได้จำหน่ายกัญชา พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคหนึ่ง แต่เพียงฐานเดียว ลงโทษจำคุก 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุก 1 เดือน 15 วัน ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอุทธรณ์แก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้ไขมากแต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
การที่โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร อันเป็นการฟ้องโดยอาศัยการกระทำเดียว แต่ให้ศาลเลือกลงโทษในฐานใดฐานหนึ่งตามที่พิจารณาได้ความโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานรับของโจร แม้จะเป็นการแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ย่อมถือว่าโจทก์พอใจ โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานลักทรัพย์ไม่ได้
การแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษจากบทหนึ่งเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรก และวรรคสองไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฎีกาพร้อมกับคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมากและมีคำสั่งรับฎีกานั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
การแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษจากบทหนึ่งเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรก และวรรคสองไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อย
คดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยทั้งสองฎีกาพร้อมกับคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพราะศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ไขมากและมีคำสั่งรับฎีกานั้น จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10930/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด 1 ปี คดีค่าสินไหมทดแทนจากรถหาย ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัย
คำแก้อุทธรณ์เป็นคำคู่ความ คู่ความย่อมตั้งประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (5), 237 และ 240 ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์เพราะศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยเหตุอื่น แต่จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความละเมิด 1 ปี จึงมีประเด็นเรื่องอายุความละเมิด 1 ปี ในชั้นอุทธรณ์ ไม่ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นเรื่องอายุความละเมิด 1 ปี ขึ้นวินิจฉัยด้วยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีรถหายแก่ผู้เอาประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และ 880 วรรคหนึ่ง ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองส่งคืนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยแก่โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากพนักงานของจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเป็นมูลละเมิดต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2538 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 พ้น 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีรถหายแก่ผู้เอาประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยในค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง และ 880 วรรคหนึ่ง ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองส่งคืนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยแก่โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากพนักงานของจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเป็นมูลละเมิดต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2538 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2544 พ้น 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10624/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยผู้รับประกันภัยคนถัดไป กรณีผู้รับประกันภัยคนแรกไม่จ่าย และหลักจัดการงานนอกสั่ง
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปต่อจากผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรก เป็นผู้จ่ายค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปเพราะไม่รู้ว่าวินาศภัยอันเดียวกันนี้มีผู้คัดค้านเป็นผู้รับประกันภัยไว้ก่อนตน กรณีจึงเป็นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไป ทั้งๆ ที่ผู้ร้องไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 870 วรรคสามบัญญัติไว้ ถือได้ว่าการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนของผู้ร้องนั้น เป็นการสมประโยชน์ของผู้คัดค้านซึ่งเป็นตัวการและต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือความประสงค์ตามที่พึงสันนิษฐานได้ กรณีตามคำร้องจึงเข้าเกณฑ์เป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งซึ่งก่อให้เกิดหนี้ที่ผูกพันผู้คัดค้านให้ต้องรับผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ร้องได้ออกทดรองจัดการงานให้ผู้คัดค้านไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 401
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)
การที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนแรกได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไป ยังไม่คุ้มกับจำนวนวินาศภัย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยคนถัดไปไม่รอเพื่อจ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ถ้าหากมีแต่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งสิ้นไปทีเดียว จึงต้องถือว่าผู้ร้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยไม่มีหน้าที่ เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติถึงกรณีนี้ในอันจะให้ผู้ร้องเรียกร้องให้ผู้คัดค้านคืนเงินตามที่ได้จ่ายไปนั้นได้ การที่ผู้ร้องจ่ายไปนั้นจึงตกเป็นพับแก่ผู้ร้อง และมีคำชี้ขาดให้ยกคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้องมานั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและเข้าเกณฑ์เป็นกรณีที่การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนซึ่งศาลชอบที่จะเพิกถอนคำชี้ขาดนั้นเสียได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสาม (2)(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9693/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยประมาทเล็งเห็นผลถึงอันตรายถึงแก่ชีวิตของเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่
เมื่อสายลับล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนได้แล้ว ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำเลยทั้งสาม โดยใช้รถยนต์ 2 คัน คันหนึ่งขับไปขวางหน้ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เป็นคนขับ และรถยนต์อีกคันหนึ่งที่มีผู้เสียหายนั่งมาด้วยขับไปขวางทางด้านหลัง ผู้เสียหายลงจากรถยนต์มายืนด้านหลังรถยนต์ของจำเลยที่ 1 พร้อมพูดแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุมด้วยเสียงดัง จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ถอยหลังพุ่งตรงไปทางผู้เสียหาย ผู้เสียหายกระโดดหลบ รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนทางด้านหน้าของรถยนต์ พันตำรวจโท ฉ. ที่ขวางอยู่ด้านหลังได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ถอยหลังดังกล่าวย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าหากผู้เสียหายไม่กระโดดหลบรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับอาจชนผู้เสียหายซึ่งยืนอยู่ทางด้านหลังในระยะห่างเพียง 5 เมตร ถึงแก่ความตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 289 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9046/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเรียกค่าไถ่ต้องชัดเจน การเรียกร้องเงินและทองคำเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดฐานเรียกค่าไถ่
การที่จำเลยพาเด็กหญิง ฟ. ไปจากผู้เสียหาย จำเลยมิได้มีเจตนาที่จะเรียกร้องเอาทรัพย์สินจากผู้เสียหายและ อ. เพื่อเป็นค่าไถ่มาตั้งแต่แรก จำเลยเรียกร้องเอาทองคำเท่ากับที่มอบให้ผู้เสียหายไปจำนำ ส่วนเงินที่เรียกร้องเอาจาก อ. ได้ความว่าเป็นค่าที่ดินที่ อ. จะต้องคืนให้จำเลย ทั้งไม่ได้ความว่า อ. เป็นญาติหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เสียหายหรือเด็กหญิง ฟ. ที่จำเลยจะใช้เป็นเงื่อนไขในการเรียกร้องเงินจาก อ. จำเลยมีเจตนาที่จะเรียกร้องเอาทองคำและเงินที่จำเลยเชื่อว่าจำเลยควรจะได้ ดังนั้น ทองคำและเงินที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายและ อ. จึงมิใช่ค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 1 (13) การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 313 (1) (3) วรรคแรก
การที่จำเลยพาเด็กหญิง ฟ. ไป และไม่ยอมคืนให้แก่ผู้เสียหาย เป็นการหน่วงเหนี่ยวเด็กหญิง ฟ. เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 313 (3) วรรคแรก ที่โจทก์ฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
การที่จำเลยพาเด็กหญิง ฟ. ไป และไม่ยอมคืนให้แก่ผู้เสียหาย เป็นการหน่วงเหนี่ยวเด็กหญิง ฟ. เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานเรียกค่าไถ่ตาม ป.อ. มาตรา 313 (3) วรรคแรก ที่โจทก์ฟ้อง ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 310 วรรคแรก ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7724/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์ และการบังคับคดีเอาคืนการครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทบริเวณที่ระบายด้วยสีเขียวตามแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าหน้าที่ศาลได้ทำขึ้นตามคำสั่งศาลชั้นต้น เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 1/24 ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ที่โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง จำเลยได้เข้าไปยึดถือแย่งการครอบครอง แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเอาคืนภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีเอาคืนการครอบครอง โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดเวลาปีหนึ่ง จึงมีสิทธิฟ้องคดี จำเลยไม่ได้แก้อุทธรณ์ตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย