พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ เป็นที่ดินมือเปล่าไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน ต่อมา สำนักงานที่ดินอำเภอกันตังได้ประกาศและออกสำรวจที่ดินเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน แต่มีระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ซึ่งออกโดยอาศัยประมวลกฎหมายที่ดินได้กำหนดหลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ผู้ครอบครองทำประโยชน์ได้ไม่เกิน 50 ไร่ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด โจทก์จึงขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็น 2 แปลง แปลงแรกจำนวน 50 ไร่ ให้สามีโจทก์มีชื่อถือแทน และอีกแปลงหนึ่งคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนที่เกินจาก 50 ไร่ ให้มีชื่อบิดาสามีโจทก์ถือแทน ดังนี้ ขณะโจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โจทก์รู้อยู่ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิจะขอออก เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด การที่โจทก์ให้บุคคลอื่นมีชื่อถือแทน และต่อมาโจทก์ฟ้องร้องขอให้โอนที่ดินคืนแก่โจทก์ จึงเป็นการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงหลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของทางราชการ ถือเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้แม้จำเลยไม่โต้แย้ง
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องต้องลงลายมือชื่อไว้ตามที่แบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาได้กำหนดไว้แต่ตามแบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาของโจทก์เป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับคำขอท้ายคำฟ้องอาญาที่โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องได้ลงชื่อไว้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเกิดเพราะความผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยจากเหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องอาญาของโจทก์เป็นสำเนาเอกสารดังที่โจทก์ฎีกาหรือไม่ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องที่ไม่ชอบนั้นได้ แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและบทลงโทษในคดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และกรรโชกทรัพย์ ศาลจำกัดการเพิ่มโทษ
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือมีโทษสถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ต่อเมื่อพยานโจทก์ตามที่นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดและพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิด และขอให้กำหนดโทษให้เบาลงและรอการลงโทษได้กรณีมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพ หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด ม.143, การรับเงินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน, และการเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงละ 4 ปี รวม 3 กระทง จำคุก 12 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง จำคุก 4 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ว่าพยานโจทก์ขัดแย้งกันไม่เพียงพอฟังเพื่อลงโทษจำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกา
จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ โดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องคดีแก่บุคคลที่ถูกดำเนินคดีอาญา แม้พนักงานอัยการจะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินก็ตาม ก็ถือว่าพนักงานอัยการนั้นเป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่บุคคลที่จำเลยจะให้ช่วยเหลือแล้ว การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว และเป็นความผิดต่อรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ โดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องคดีแก่บุคคลที่ถูกดำเนินคดีอาญา แม้พนักงานอัยการจะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินก็ตาม ก็ถือว่าพนักงานอัยการนั้นเป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่บุคคลที่จำเลยจะให้ช่วยเหลือแล้ว การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว และเป็นความผิดต่อรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงาน – ผู้เสียหาย – การเข้าร่วมเป็นโจทก์
การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจากผู้เสียหายเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายเพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องในคดีที่ ร. ถูกดำเนินคดีอาญาแม้อัยการ ธ. จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินกันก็ตามก็ถือว่า ธ. เป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ร. แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว
ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำการตาม ป.อ. มาตรา 143 ไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำการตาม ป.อ. มาตรา 143 ไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง โจทก์ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วมและประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่ กรณีรถชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและผู้ตายต่างขับรถมาด้วยความประมาท ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าผู้ตายมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287-288/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ตายประมาทเองไม่มีอำนาจฟ้อง – ประเมินความประมาทของผู้ขับขี่และผู้เสียหาย
เมื่อพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบกับรอยห้ามล้อยาวถึง 20.30 เมตร และความเสียหายของรถยนต์ที่จำเลยขับซึ่งได้รับความเสียหายตรงบริเวณกันชนด้านขวามือผู้ขับยุบไปค่อนข้างมากแล้ว เชื่อว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงเกินสมควรซึ่งการขับรถด้วยความเร็วสูงมาถึงทางร่วมทางแยกก็มิได้ลดหรือชะลอความเร็วของรถให้ช้าลง เป็นการขับรถโดยประมาทอย่างหนึ่ง แต่เหตุที่จำเลยห้ามล้อไม่น่าจะเกิดจากการที่จำเลยหักหลบหลุมตรงบริเวณปากทางแยกเป็นสำคัญ เพราะตามภาพถ่ายหมาย จ.5 สำนวนหลัง เห็นได้ชัดว่าหลุมดังกล่าวล้ำเข้ามาในผิวจราจรของช่องเดินรถที่จำเลยขับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหลบหลุมถึงขนาดล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวน เชื่อว่าเหตุที่จำเลยขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถสวนเพราะหักหลบรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตัดหน้า จุดชนอยู่ตรง ๆ กับปากทางแยก ชนถูกรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตรงฝาครอบแบตเตอรี่ขวามือผู้ตาย น่าเชื่อว่าผู้ตายยังมิได้ตั้งลำรถจักรยานยนต์ในช่องเดินรถที่ตนจะเข้าไป ทั้งตามคำเบิกความของ อ. ก็ได้ความว่า เมื่อ อ. และผู้ตายขับรถมาถึงปากทางแยก อ. เห็นรถยนต์ที่จำเลยขับแล่นมาอยู่ห่างรถที่ อ. ขับ 30 ถึง 40 เมตร อ. จึงหยุดตรงปากทางแยก ไม่ขับออกไปในถนนที่เกิดเหตุ แต่ผู้ตายขับออกไปจึงถูกรถยนต์ที่จำเลยขับมาชน เห็นได้ว่าถ้าผู้ตายระมัดระวังโดยยังไม่ขับออกไปเหมือน อ. ก็จะไม่ถูกจำเลยขับรถยนต์ชน ยิ่งกว่านั้นตามคำเบิกความของ ถ. จ. และ ท. พยานโจทก์ทั้งสองที่เบิกความว่าผู้ตายขับในลักษณะพุ่งออกไปอันเป็นลักษณะของการขับรถออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อจำเลยเห็นจึงห้ามล้อตั้งแต่อยู่ห่าง 20 ถึง 30 เมตร พฤติการณ์เช่นนี้ แม้จุดชนอยู่ห่างจากเส้นแบ่งช่องเดินรถประมาณ 1.40 เมตร ดังที่โจทก์ทั้งสองฎีกา ก็ไม่เป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ตายมิได้ประมาทที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าทั้งผู้ตายและจำเลยต่างขับรถโดยประมาท ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย เมื่อผู้ตายก็เป็นผู้ขับรถโดยประมาท ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งรวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4), 5 (2) และ 3 (2) เมื่อไม่มีอำนาจฟ้องฎีกา ก็ไม่อาจขอให้ไม่รอการลงโทษดังที่ฎีกาขึ้นมาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวต่อเนื่อง: กระทำชำเราโทรมเด็กหญิงหลายครั้ง ความผิดต่อเนื่องในวาระเดียวกัน
หลังจากจำเลยกับพวกกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงที่ขนำที่เกิดเหตุครั้งแรกแล้ว จำเลยกับพวกยังคงควบคุมหรือหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้โดยพาผู้เสียหายไปที่ขนำอีกแห่งหนึ่งแล้วร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงในครั้งต่อไปถือว่าผู้เสียหายยังไม่หลุดพ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยกับพวก ดังนั้น การกระทำชำเราของจำเลยกับพวกอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิงทั้งสองครั้งจึงต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอยู่ในวาระเดียวกัน โดยเจตนาเดิมไม่ขาดตอนจากกันจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15551/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ดินมือเปล่า สิทธิครอบครองเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับรังวัด
ที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันเป็นที่ดินมือเปล่า (ภ.บ.ท.5) เจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง เมื่อตามสัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองแล้วในวันทำสัญญา โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่ใดๆ ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาอีก ดังนั้น การที่โจทก์จะเข้าทำการรังวัดแนวเขตที่ดินเพื่อครอบครองทำประโยชน์ จึงไม่ใช่ข้อผูกพันอันเกี่ยวเนื่องจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท การที่จำเลยทั้งสองคัดค้านและขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์ทำการรังวัด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองไปทำการวัดแนวเขตที่ดินพิพาท หรือให้คืนเงินค่าซื้อที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15442/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันพยายามฆ่า: การพิสูจน์เจตนาและบทบาทของจำเลยที่ 2 รวมถึงการแก้ไขโทษที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด
แม้จำเลยที่ 2 จะมีส่วนร่วมรู้เห็นที่จำเลยที่ 1 พาอาวุธปืนไปที่บ้าน ก. และเดินทางไปที่บ้าน ก. พร้อมกัน แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมคบคิดที่จะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสี่มาตั้งแต่แรก การที่จำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืน จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองและพาอาวุธปืน