พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12368/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน, ค่าฤชาธรรมเนียม, และการคืนค่าขึ้นศาลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้
โจทก์และจำเลยที่ 3 ตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 เป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยมิได้กำหนดว่าให้หน่วยงานใดเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ เมื่อศาลชั้นต้นมีหนังสือให้ส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน ทำการตรวจพิสูจน์โจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับโจทก์และจำเลยที่ 3 ตกลงยินยอมให้กองพิสูจน์หลักฐานทำการตรวจพิสูจน์ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ท้ากัน อันเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของคำท้า ระหว่างรอผลการตรวจพิสูจน์อยู่เป็นเวลานานมาก จำเลยที่ 3 เพียงฝ่ายเดียวยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารคืนจากกองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อส่งไปให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทำการตรวจพิสูจน์ การที่ศาลชั้นต้นสอบถามผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์แล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นมีหนังสือเรียกเอกสารคืนจากกองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์นั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากมีการดำเนินกระบวนพิจารณาตามคำท้าแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าและโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของคำท้าเป็นให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์เป็นผู้ตรวจพิสูจน์ เพราะคำท้าของคู่ความนั้นจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ก็โดยคู่ความตกลงกันเท่านั้น จำเลยที่ 3 หาอาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกคำท้าแต่ฝ่ายเดียวได้ไม่
แม้ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์แถลงไม่คัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 3 ที่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารคืนจากกองพิสูจน์หลักฐานแล้วส่งไปให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทำการตรวจพิสูจน์ ก็หามีผลผูกพันถึงโจทก์ไม่ เพราะทนายโจทก์มอบฉันทะให้ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์มารับทราบการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเพื่อฟังผลการตรวจพิสูจน์เท่านั้น และกรณีตามคำแถลงของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นกิจการที่สำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายโจทก์จะต้องกระทำด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจแถลงต่อศาลว่าจะคัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 3 หรือไม่ คำแถลงของผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนทุนทรัพย์ 4,828,975.63 บาท ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ให้รับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายไปเป็นจำนวนมาก เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 3 จึงควรรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
การที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ให้รับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายไปเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ต้องอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในจำนวนทุนทรัพย์ 4,709,472.66 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีอยู่เพียง 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น จำนวนทุนทรัพย์ 4,209,472.66 บาท ที่จำเลยที่ 3 ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์จึงเกิดจากการดำเนินคดีของโจทก์เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้โจทก์รับผิดใช้ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์
จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องในส่วนของคำท้าและหากศาลฎีกาเห็นว่า คำท้าของคู่ความเป็นไปโดยถูกต้องตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายชนะคดีหรือยกฟ้องโจทก์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ (2)
แม้ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์แถลงไม่คัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 3 ที่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารคืนจากกองพิสูจน์หลักฐานแล้วส่งไปให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ทำการตรวจพิสูจน์ ก็หามีผลผูกพันถึงโจทก์ไม่ เพราะทนายโจทก์มอบฉันทะให้ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์มารับทราบการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันนัดพร้อมเพื่อฟังผลการตรวจพิสูจน์เท่านั้น และกรณีตามคำแถลงของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นกิจการที่สำคัญเกี่ยวกับคดีซึ่งโดยสภาพเป็นที่เห็นได้ว่าทนายโจทก์จะต้องกระทำด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงไม่มีอำนาจแถลงต่อศาลว่าจะคัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 3 หรือไม่ คำแถลงของผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนทุนทรัพย์ 4,828,975.63 บาท ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 3 ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ให้รับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายไปเป็นจำนวนมาก เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย จำเลยที่ 3 จึงควรรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์เท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
การที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 3 ให้รับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมายไปเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 ต้องอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในจำนวนทุนทรัพย์ 4,709,472.66 บาท เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีอยู่เพียง 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนั้น จำนวนทุนทรัพย์ 4,209,472.66 บาท ที่จำเลยที่ 3 ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์จึงเกิดจากการดำเนินคดีของโจทก์เกินกว่าความรับผิดของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว จึงเห็นสมควรให้โจทก์รับผิดใช้ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้แก่จำเลยที่ 3 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์
จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องในส่วนของคำท้าและหากศาลฎีกาเห็นว่า คำท้าของคู่ความเป็นไปโดยถูกต้องตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นฝ่ายชนะคดีหรือยกฟ้องโจทก์ ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10525/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่ความตาย และการตั้งผู้ชำระบัญชี
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1055 (5) ประกอบมาตรา 1080 ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ถึงแก่ความตายลงย่อมเป็นเหตุให้ห้างดังกล่าวเลิกกัน อันเป็นไปตามผลของกฎหมาย โดยมิจำต้องพิจารณาว่ามีข้อขัดแย้งกันระหว่างทายาทผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายกับหุ้นส่วนที่เหลือหรือไม่ และแม้มาตรา 1060 จะบัญญัติว่าในกรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเพราะเหตุตามมาตรา 1055 (4) หรือ (5) ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่รับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไป สัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังคงอยู่ด้วยกัน แต่ก็ได้ความว่าหุ้นของ อ. ยังไม่มีการดำเนินการโอนไปยังทายาทหรือหุ้นส่วนอื่นแต่อย่างใด เหตุที่ทายาทยังไม่อาจรับโอนหุ้นของ อ. และห้างไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้เพราะค้างชำระค่าภาษีนั้นก็มิใช่เหตุอันจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันย่อมต้องมีการชำระบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ตลอดจนเจ้าหนี้ รวมทั้งบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างหุ้นส่วนภายหลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดพ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วน จัดการใช้หนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้น โดยมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการห้างย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่สัญญาของห้างจะมีกำหนดไว้เป็นสถานอื่น แต่ถ้าไม่มีผู้ชำระบัญชีดังว่ามานี้ เมื่อพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้ร้องขอ ศาลย่อมตั้งผู้ชำระบัญชีให้ได้ ตามมาตรา 1251 ซึ่งในกรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นี้ เมื่อเลิกกันเพราะ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อบังคับของห้างกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ชำระบัญชี ทั้งไม่มีผู้ใดเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของห้าง พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียย่อมร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลือ ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายแล้ว ย่อมหมายรวมถึงบรรดาเจ้าหนี้ของห้างด้วยเพราะการชำระบัญชีย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ หรือบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างเป็นสำคัญ หากไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อสะสางทรัพย์สินหนี้สินของห้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้หรือติดต่อค้าขายกับห้างอาจได้รับความเสียหายได้ เมื่อได้ความจากคำเบิกความผู้ร้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องได้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี อันเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของห้าง เช่นนี้ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างได้
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันย่อมต้องมีการชำระบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วน ตลอดจนเจ้าหนี้ รวมทั้งบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างหุ้นส่วนภายหลังจากห้างหุ้นส่วนจำกัดพ้นสภาพนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยผู้ชำระบัญชีจะเป็นผู้ชำระสะสางการงานของห้างหุ้นส่วน จัดการใช้หนี้ และแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนนั้น โดยมาตรา 1249 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และเมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย หุ้นส่วนผู้จัดการห้างย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่สัญญาของห้างจะมีกำหนดไว้เป็นสถานอื่น แต่ถ้าไม่มีผู้ชำระบัญชีดังว่ามานี้ เมื่อพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นผู้มีส่วนได้เสียในการนี้ร้องขอ ศาลย่อมตั้งผู้ชำระบัญชีให้ได้ ตามมาตรา 1251 ซึ่งในกรณีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นี้ เมื่อเลิกกันเพราะ อ. หุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่ความตายและไม่ปรากฏว่ามีสัญญาหรือข้อบังคับของห้างกำหนดให้บุคคลใดเป็นผู้ชำระบัญชี ทั้งไม่มีผู้ใดเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของห้าง พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียย่อมร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียตามบทบัญญัติดังกล่าว นอกจากจะเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลือ ทายาท หรือผู้จัดการมรดกของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ถึงแก่ความตายแล้ว ย่อมหมายรวมถึงบรรดาเจ้าหนี้ของห้างด้วยเพราะการชำระบัญชีย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ หรือบรรดาผู้ติดต่อค้าขายกับห้างเป็นสำคัญ หากไม่มีการตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อสะสางทรัพย์สินหนี้สินของห้าง ผู้เป็นเจ้าหนี้หรือติดต่อค้าขายกับห้างอาจได้รับความเสียหายได้ เมื่อได้ความจากคำเบิกความผู้ร้องว่า ก่อน อ. ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องได้เป็นโจทก์ฟ้องเรียกให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของต่อศาลจังหวัดอุทัยธานี อันเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของห้าง เช่นนี้ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีห้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10258/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยสำคัญผิดในวัตถุ และการปลอมแปลงเอกสารมัดจำ การเพิกถอนนิติกรรม
โจทก์เพียงต้องการจำนองที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทจึงลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจ โดยยังไม่ได้กรอกข้อความให้ อ. นำไปจำนอง จำเลยที่ 1 ไปกรอกข้อความเป็นขาย แล้วดำเนินการจดทะเบียนเป็นว่าโจทก์ขายแก่จำเลยที่ 1 โดยที่โจทก์และ อ. ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินในวันจดทะเบียนซื้อขาย ไม่รู้เห็นยินยอมให้ขายและไม่ได้รับเงินค่าขายแต่อย่างใด หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ต้องถือว่านิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 ต้องคืนที่ดินพิพาทและบ้านพิพาทแก่โจทก์ และศาลต้องพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมนี้เสีย จริงอยู่แม้การที่โจทก์ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่ได้กรอกข้อความเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 รู้เห็นเกี่ยวกับการปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว และเป็นผู้ใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ผู้รับโอนโดยสุจริต ส่วนจำเลยที่ 2 มีเจตนาซื้อขายทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งการซื้อขายคือที่ดินและบ้านที่ ธ. กับ ก. และจำเลยที่ 1 ชี้ให้ดู อันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งการซื้อขาย ไม่ได้มีเจตนาซื้อที่ดินพิพาทและบ้านพิพาทแต่อย่างใด การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำนิติกรรมซื้อที่ดินพิพาทพร้อมบ้านพิพาทเนื่องจากถูก ธ. กับ ก. และจำเลยที่ 1 หลอกลวงจึงเป็นไปโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จำเลยที่ 2 ต้องคืนที่ดินพิพาทและบ้านพิพาทแก่โจทก์และศาลต้องพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมนี้เสียเช่นกัน ในกรณีเช่นนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 2 สุจริตหรือไม่ จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีทางได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้เสียค่าตอบแทนอันอาจได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวเอาจาก ธ. ก. และจำเลยที่ 1 ไม่เป็นเหตุผลให้จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10181/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้ประเมินราคาและผู้รายงานผลการประเมินต่อความเสียหายจากการประเมินราคาผิดพลาด
ตามฟ้องของโจทก์ นอกจากโจทก์ฟ้องให้รับผิดตามสัญญารับจ้างสำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินแล้ว ถือได้ว่า โจทก์ยังฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิดด้วย ดังจะเห็นได้จากที่โจทก์บรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยที่ 1 และผู้ประเมินซึ่งก็คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีความบกพร่อง มีความประมาทเลินเล่อ ไม่ละเอียดรอบคอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ โดยไม่ตรวจสอบระวางที่ดิน ทำให้ไม่ทราบว่ามีการปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินแปลงข้างเคียง และประเมินที่ดินผิดแปลง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ทั้งตามรายงานต่อโจทก์ตามแบบสรุปผลการประเมินราคาหลักประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ประเมิน จำเลยที่ 1 ลงชื่อในช่องผู้จัดการ อันเป็นการร่วมกันรายงานต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10082/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัย: การปฏิบัติหน้าที่พนักงานประจำเรือหลังส่งผู้โดยสาร
แม้ว่าขณะ ส. เสียชีวิต ส. ไม่ได้อยู่ในเรือโดยสารหรือขณะกำลังขึ้นหรือลงเรือโดยสารโดยตรงเสียทีเดียว แต่เป็นการเสียชีวิตขณะที่ ส. นำเรือโดยสารไปเก็บหลังจากส่งผู้โดยสารเรียบร้อยจึงอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานประจำเรือ ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยได้ขยายความคุ้มครองพนักงานประจำเรือ กรณีประสบอุบัติเหตุดังกล่าวด้วย ตามตารางกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10004/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่ และขอบเขตการฟ้องร้องนอกคำฟ้อง
แม้จำเลยที่ 3 ไม่อาจถูกฟ้องให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่เพราะจำเลยที่ 3 มิใช่ "หน่วยงานของรัฐ" ตามความหมายในมาตรา 4 ประกอบมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาท เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ "เจ้าหน้าที่" ตามความหมายมาตรา 4 ของกฎหมายดังกล่าวซึ่งไม่อาจถูกฟ้องได้ แต่จำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลและฟังได้ว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้
สำหรับจำเลยที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 12 กำหนดว่า กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ โดยจำเลยที่ 4 เป็นส่วนราชการหนึ่งของจำเลยที่ 5 มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของส่วนราชการและข้าราชการในสำนักงานโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการครูของโรงเรียนจำเลยที่ 3 ซึ่งสังกัดและอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 4 โดยข้าราชการครูรับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 ก็รับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 จึงเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 4 และเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 5 ด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ นอกจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็น "หน่วยงานของรัฐ" เช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 กระทำด้วย ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ด้วย
แต่ในส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยนั้น ตามสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำต่อโจทก์ มิใช่บรรยายฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ทำละเมิดเอง จึงเป็นฎีกานอกคำฟ้องนอกประเด็นแห่งคดี และศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทสำหรับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 มาตรา 12 กำหนดว่า กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ โดยจำเลยที่ 4 เป็นส่วนราชการหนึ่งของจำเลยที่ 5 มีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชา รับผิดชอบในการปฏิบัติงานของส่วนราชการและข้าราชการในสำนักงานโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการครูของโรงเรียนจำเลยที่ 3 ซึ่งสังกัดและอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 4 โดยข้าราชการครูรับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 ก็รับเงินเดือนจากจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 2 จึงเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 4 และเป็นเจ้าหน้าที่ (ข้าราชการ) ของจำเลยที่ 5 ด้วย เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดต่อโจทก์ นอกจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็น "หน่วยงานของรัฐ" เช่นเดียวกับจำเลยที่ 4 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 กระทำด้วย ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ได้ด้วย
แต่ในส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยนั้น ตามสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำต่อโจทก์ มิใช่บรรยายฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 รับผิดในฐานะเป็นผู้ทำละเมิดเอง จึงเป็นฎีกานอกคำฟ้องนอกประเด็นแห่งคดี และศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นพิพาทสำหรับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9688/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเลยต้องพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ก่อนจึงจะรับผิดชอบได้
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2543 จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกสิบล้อ เฉี่ยวชนกับรถแท็กซี่ ซึ่งมีนาย ส. เป็นผู้ขับและถึงแก่ความตายหลังเกิดเหตุ จำเลยที่ 5 เป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่จำเลยที่ 1 ขับ อุบัติเหตุดังกล่าวทำให้รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1 ขับชนท่อประปาของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์เสียค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเป็นเงิน 92,347 บาท การที่จำเลยทั้งห้าจะรับผิดต่อโจทก์ ข้อเท็จจริงต้องรับฟังได้ว่า เหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 หรือนาย ส. แม้โจทก์จะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ยังคงต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าว เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าเหตุที่รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเป็นเหตุในลักษณะคดีจึงให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9489/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทำละเมิดต่อรถเช่าซื้อ แม้จะขายซากรถแล้ว ก็ยังฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อขับรถบรรทุกชนท้ายรถโดยสาร ทำให้รถโดยสารที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น และเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง ข้อ ก. เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ต้องนำรถโดยสารไปซ่อมเป็นจำนวนเงินตามบัญชีใบประเมินราคาการซ่อม ค่าเสียหายส่วนที่โจทก์ฟ้องมาตามฟ้องข้อ ก. โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นค่าซ่อมรถโดยตรง เพียงแต่โจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้โดยอิงกับใบประเมินราคา ซึ่งหากมีการซ่อมรถก็มีรายการและราคาตามใบประเมินราคานี้ ดังนั้น แม้รถโดยสารจะถูกผู้ให้เช่าซื้อขายไปในลักษณะขายซากรถโดยไม่ได้รับการซ่อมหรือไม่ หรือโจทก์ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ให้เช่าซื้อขายซากรถไปโดยที่ยังไม่ได้รับการซ่อมหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าซ่อมรถโดยตรง แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยกระทำละเมิดทำให้รถโดยสารที่โจทก์ครอบครองและใช้ประโยชน์อยู่ได้รับความเสียหาย โจทก์ผู้เช่าซื้อย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องข้อ ก. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9487/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ, ประกันภัย, ล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายยังคงอยู่แม้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นเพียงการปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตาม มาตรา 107 การถือเอาประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อได้ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าขาดราคาเช่าซื้อ: เริ่มนับจากวันเลิกสัญญา ไม่ใช่วันประมูล
เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมอาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อชดใช้ราคารถที่เช่าซื้อส่วนที่ขาดหรือค่าขาดราคาได้นับแต่วันเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ มิใช่นับแต่วันที่ประมูลขายทอดตลาดรถที่เช่าซื้อ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2539 และโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 ฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าขาดราคาจึงขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30