พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลือกตั้งซ่อม กรณีผู้สมัครทำละเมิด ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม รวมทั้งอำนาจหน้าที่อื่นอีกหลายกรณี มาตรา 30 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาตรา 38 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนองบประมาณรายจ่าย เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้ไม่เพียงพอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการกิจการพิจารณางบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรได้โดยตรง ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาหรือการจัดทำประชามติมากกว่างบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ ให้รัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่ออุดหนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพียงพอกับการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ แต่การนำเงินงบประมาณไปใช้ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มิได้หมายความว่าโจทก์สามารถจะนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายอย่างไรก็ได้ โดยเฉพาะแล้วการนำเงินงบประมาณที่ได้จากการจัดสรรมาก็ต้องเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่รัฐอย่างสูงสุด ขณะเดียวกันจำเลยซึ่งสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและส่วนรวม รวมทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่อการใช้เงินงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเงินงบประมาณก็คือเงินภาษีของประชาชน ดังนี้ การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งเมื่อเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว จำเลยยังมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ผู้เข้ารับตำแหน่งดังกล่าวจะต้องปฏิบัติด้วยความถูกต้องเช่นนั้นทุกคน เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบจนเป็นเหตุให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 119 ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้โจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยต้องใช้งบประมาณหรือเงินอุดหนุนที่ได้รับจากการจัดสรรจากรัฐบาลที่มาจากภาษีของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่ากับโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในหนี้มูลละเมิด โดยโจทก์เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิด ศาลชั้นต้นย่อมนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมารับฟังประกอบการพิจารณาคดีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่เป็นคู่ความและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินและเอกสารของผู้ที่จะเข้าทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหน้าที่สำคัญ จำเลยย่อมรู้ดีว่าหากจำเลยจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ย่อมมีผลทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อจำเลยพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยไม่อาจว่างเว้นการเลือกตั้งไว้ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยจงใจโดยจำเลยรู้สึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จำเลยจึงอ้างความผิดหลงหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ และการที่จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจำเลยกลับมาสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นการสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ จำเลยก็ย่อมจะทราบดีว่าการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวอาจทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งและเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหายโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างนับได้ว่าการกระทำของจำเลยล้วนเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายที่ต่อเนื่องกันอันเป็นผลโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
เมื่อคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิด ศาลชั้นต้นย่อมนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมารับฟังประกอบการพิจารณาคดีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่เป็นคู่ความและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินและเอกสารของผู้ที่จะเข้าทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหน้าที่สำคัญ จำเลยย่อมรู้ดีว่าหากจำเลยจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ย่อมมีผลทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อจำเลยพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยไม่อาจว่างเว้นการเลือกตั้งไว้ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยจงใจโดยจำเลยรู้สึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จำเลยจึงอ้างความผิดหลงหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ และการที่จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจำเลยกลับมาสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นการสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ จำเลยก็ย่อมจะทราบดีว่าการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวอาจทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งและเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหายโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างนับได้ว่าการกระทำของจำเลยล้วนเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายที่ต่อเนื่องกันอันเป็นผลโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะทางกฎหมายของจำเลยในคดีละเมิดและการฟ้องหน่วยงานตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นเท่านั้น ดังนั้น คณะบุคคลหรือหน่วยงานใด หากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรับรองสถานะว่ามีฐานะเป็นนิติบุคคล ย่อมไม่อาจมีสภาพเป็นนิติบุคคลได้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กร อยู่ในหมวดที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด" ส่วนบทบัญญัติในหมวด 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง หาได้มีบทมาตราใดบัญญัติรับรองให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ได้นิยามความหมายของ "เจ้าหน้าที่" ว่า หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใดซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 ที่กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 10 (1) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ในอันที่จะควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง หรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กับมีอำนาจหน้าที่วางระเบียบและดำเนินการหรือสั่งการเพื่อกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 (2) ถึง (17) และมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 ถึงมาตรา 25 แล้ว และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 236 (9) บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติได้ โดยมีความในวรรคสองและวรรคสามให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์การเอกชนให้ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่การสืบสวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดได้ การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 334/2551 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนเพื่อแต่งตั้งจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานประกอบ การพิจารณาก่อนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคสาม จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 จึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะทำการไต่สวน แสวงหา และรวบรวมพยานหลักฐาน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีฐานะเป็น "เจ้าหน้าที่" สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 และการกระทำที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้น แม้หากเป็นความจริงก็เป็นการฟ้องกล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเข้าเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานคือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยตรง จะฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็น "เจ้าหน้าที่" ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ได้
ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ได้นิยามความหมายของ "เจ้าหน้าที่" ว่า หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใดซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 ที่กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานของรัฐด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 10 (1) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ในอันที่จะควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง หรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กับมีอำนาจหน้าที่วางระเบียบและดำเนินการหรือสั่งการเพื่อกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 (2) ถึง (17) และมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 ถึงมาตรา 25 แล้ว และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 236 (9) บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติได้ โดยมีความในวรรคสองและวรรคสามให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทนองค์การเอกชนให้ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่การสืบสวนสอบสวนเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดได้ การที่คณะกรรมการการเลือกตั้งออกคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 334/2551 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวนเพื่อแต่งตั้งจำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 เป็นกรรมการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานประกอบ การพิจารณาก่อนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคสาม จำเลยที่ 5 ถึงที่ 9 จึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะทำการไต่สวน แสวงหา และรวบรวมพยานหลักฐาน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีฐานะเป็น "เจ้าหน้าที่" สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พ.ศ.2540 และการกระทำที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดต่อโจทก์นั้น แม้หากเป็นความจริงก็เป็นการฟ้องกล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเข้าเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานคือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยตรง จะฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็น "เจ้าหน้าที่" ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้งใหม่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง: การใช้อำนาจตามกฎหมายและหนังสือมอบอำนาจ
ตามมาตรา 235 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10 แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าประสงค์ให้โจทก์ดำเนินการเกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งทั้งหมด สอดคล้องกับมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ที่กำหนดให้โจทก์จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้ง ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง กำหนดให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลทั้งในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง โดยให้ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. และกฎหมายอื่น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระเงินค่าเสียหายในการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนที่ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 10 บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั้งหมด และมาตรา 99 วรรคสอง บัญญัติให้ค่าเสียหายที่ได้รับชดใช้จากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้ตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เป็นเพียงวิธีการเพื่อให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว และกำหนดหน่วยงานที่จะได้รับจัดสรรเงินในกรณีที่ได้รับชดใช้จากผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจในการฟ้องร้องดำเนินคดี