พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยดุลพินิจของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับสิทธิผู้ต้องหาและการรับฟังพยานหลักฐาน
ในการวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่นั้น ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เนื่องจากเป็นการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 และมาตรา 241 หรือไม่ ศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม จำเลยไม่ได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจทราบในโอกาสแรกหรือไม่ และขณะที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยไม่ได้รับสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งจำเลยไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนด้วยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 3 ปี 4 เดือนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีอาญาที่ล่าช้า: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 วรรคแรก จะบัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 กำหนดให้เริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาให้ได้รับผลกระทบจากการเป็นผู้ต้องหาน้อยที่สุด แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้าแล้ว การสอบสวนนั้นจะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าพนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มสอบสวนเกี่ยวกับความผิดของจำเลยในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองในระหว่างที่จำเลยต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถึง 1 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด และสิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความในชั้นสอบสวน
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด น้ำหนักรวม 0.43 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 200 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ตามมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนการที่เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4529/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความร่วมฟังการสอบสวน: พนักงานสอบสวนไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งสิทธิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 241 วรรคสองบัญญัติแต่เพียงว่า ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสอบถามผู้ต้องหาก่อนเริ่มการสอบสวน ดังนั้น แม้หากพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนจำเลยโดยไม่ได้ถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวก่อนดังที่จำเลยอ้างก็ตามก็ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย