พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีถึงที่สุดแล้ว ศาลไม่ต้องส่งความเห็นขัดรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลจะส่งความเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัด หรือแย้ง กับรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาล จึงให้รอการพิจารณา พิพากษาคดีไว้ชั่วคราวหาใช่กรณีถึงที่สุดแล้วแต่อย่างใดไม่ เพราะหากคดีถึงที่สุด แล้วย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะแม้ส่งไปและศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ ก็ไม่อาจกระทบกระเทือนถึง คำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้วตามมาตรา 264 วรรคท้าย
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 แม้จำเลยจะร้องขอและอุทธรณ์ต่อศาลให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยขึ้นมาพิจารณาใหม่ตามมาตรา 247 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุดแต่แท้ที่จริงคดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องของจำเลยหามีผลให้คดีที่ถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคสอง จะระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้แย้งใดของคู่ความว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ แต่การที่จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับและตีความบทกฎหมายอันเป็นการทั่วไปในเบื้องต้นที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการได้ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลล่างจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวเพื่อส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปได้
คดีนี้ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 แม้จำเลยจะร้องขอและอุทธรณ์ต่อศาลให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยขึ้นมาพิจารณาใหม่ตามมาตรา 247 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุดแต่แท้ที่จริงคดีของจำเลยถึงที่สุดแล้วเหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามแดนเท่านั้น การยื่นคำร้องของจำเลยหามีผลให้คดีที่ถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 264 วรรคสอง จะระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้แย้งใดของคู่ความว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ แต่การที่จะพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับและตีความบทกฎหมายอันเป็นการทั่วไปในเบื้องต้นที่ไม่เกี่ยวกับการวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ กับกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการได้ตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลล่างจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับคำร้องดังกล่าวเพื่อส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปได้