คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน: ศาลต้องไต่สวนเหตุจำเป็นที่จำเลยไม่สามารถมาศาลได้ก่อนตัดสิน
คดีแรงงาน จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่อ้างว่า ในวันนัดพิจารณาทนายจำเลยติดว่าความที่ศาลอื่นที่ได้นัดไว้ก่อนแล้ว จึงทำคำให้การคำร้องขอเลื่อนการพิจารณา และใบแต่งทนายความมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นต่อศาลแรงงานระหว่างเดินทางเสมียนทนายจำเลยประสบปัญหาการจราจรติดขัดจึงเปลี่ยนเส้นทางไปใช้ทางด่วน แต่รถแท็กซี่เสมียนจำเลยโดยสารมาเครื่องยนต์เสียอยู่บนทางด่วนเสมียนทนายจำเลยมาถึงศาลแรงงานเลยกำหนดนัดเพียง 15 นาที เสมียนทนายจำเลยเข้าไปนั่งรอในห้องพิจารณา แต่ผู้พิพากษาไม่ออกนั่งพิจารณาเมื่อไปตรวจสอบที่ศูนย์หน้าบัลลังก์จึงทราบว่าได้ย้ายห้องพิจารณาไปที่ห้องพิจารณาอื่น เสมียนทนายจำเลยตามไปห้องพิจารณานั้น แต่ปรากฏว่า ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีนี้ และเสร็จการพิจารณาก่อนเสมียนทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาต่อผู้พิพากษาให้ห้องพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าเจ้าหน้าที่งานรับฟ้องของศาลแรงงานประทับตรารับในคำให้การ คำร้องขอเลื่อนการพิจารณา และใบแต่งทนายความของจำเลยระบุว่า ได้ร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนเวลาที่ผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีตามที่ระบุไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นตามคำร้องจำเลยดังกล่าวก็แสดงว่า มีเหตุจำเป็น ซึ่งศาลแรงงานควรไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นก่อนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนก่อนจึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าในการขอพิจารณาใหม่ให้โจทก์หรือจำเลยแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ และศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้น ไม่ได้บัญญัติให้โจทก์หรือจำเลยต้องกล่าวโดยละเอียดถึงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลแรงงานด้วย จึงไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง มาอนุโลมใช้ในคดีแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่ในคดีแรงงานและการทุเลาการบังคับคดี: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงาน และเปิดโอกาสคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้วถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้วเมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดิน หลักประกันของจำเลยและให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานเกี่ยวกับการพิจารณาใหม่และการวางหลักประกันต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะและให้โอกาสคู่ความคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงต้องบังคับไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้ว เมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนด เจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการ ไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดินหลักประกันของจำเลยและ ให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการจ่ายโบนัส กรณีที่ลูกจ้างพ้นสภาพก่อนรับโบนัส
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ศาลจำต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อนก็ตาม แต่หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่ากิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์ เรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 มาตรา 122และมาตรา 123
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้ เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ31 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5076/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้และการพิจารณาใหม่คดีแรงงาน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ของศาลแรงงานกลางจำเลยมอบอำนาจให้ พ. มาชี้แจงข้อเท็จจริงแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ แต่ พ. มีความจำเป็นต้องไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจำเลยจึงมอบให้ ส.ถือหนังสือมอบอำนาจและหนังสือของพ.ที่ขอเลื่อนการให้การมายื่นต่อศาลแรงงานกลาง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยได้แถลงให้ศาลทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่ดำเนินการไต่สวนเพื่อจะได้ทราบว่าจำเลยมีเหตุจำเป็นจริงหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงาน vs. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การขาดนัดที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วได้สั่งให้โจทก์ มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ทำการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันตาม มาตรา 38 เท่านั้น เมื่อศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณา และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ซึ่งต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 2 ก็ได้มาศาลตามวันเวลานัด ดังกล่าวและศาลได้ทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกัน ไม่ได้ จึงได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 และได้นัดวัน สืบพยานโจทก์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่าง ๆ ตามมาตรา 37,38 และ 39 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ภายหลังจากนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้ โดยเฉพาะ จึงต้องนำเอาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับเมื่อ พ.ร.บ.แรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้
กรณีขาดนัดที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานมาตรา 40,41 เป็นกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้วสั่งให้คู่ความมาศาลในวันนัดตามมาตรา 37 เพื่อศาลจะได้ไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 หากตกลงกันไม่ได้จึงจะจดประเด็นข้อพิพาทตามมาตรา 39 และนัดสืบพยานโจทก์แต่กรณีที่คู่ความไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานภายหลังจากนั้นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ไม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะต้องนำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: เหตุสุดวิสัย-การไต่สวน-สิทธิในการให้การ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้อ้างถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุและความจำเป็นที่มิได้ยื่นคำให้การและมาศาลในวันนัดพิจารณาว่า เนื่องจากไม่ทราบว่าถูกฟ้องและไม่ทราบวันนัดเนื่องจากจำเลยไปรักษาพยาบาลมารดาอยู่ต่างจังหวัด ในระหว่างวันที่ถูกฟ้องถึงวันที่ศาลชี้ขาดตัดสินคดีและมีการส่งคำบังคับ เพิ่งมาทราบเรื่องที่ถูกฟ้องและบังคับคดีหลังจากจำเลยออกโรงพยาบาลและกลับมาพักฟื้นอยู่ที่บ้าน ดังนี้ ถ้าข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยอ้างแล้วจำเลยก็ย่อมไม่สามารถมาแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 ได้กรณีเช่นนี้ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีโดย อนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยและมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่มาศาลตามนัดสืบพยาน ไม่ถือเป็นการขาดนัดพิจารณา สิทธิขอพิจารณาใหม่จึงไม่เกิด
วันที่ 11 เมษายน 2531 อันเป็นวันนัดพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่งโจทก์จำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วกำหนดนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 22 เมษายน 2531 เวลา 9 นาฬิกา วันเวลาดังกล่าวจึงเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ไม่ใช่วันนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้มีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแต่มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานนำเข้าสืบ และสั่งงดสืบพยานจำเลยพิพากษายกฟ้องโจทก์กระบวนพิจารณาที่ศาลแรงงานกลางดำเนินคดีมาไม่ใช่เป็นการ ิพิจารณาเลยขาดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 207 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไปใหม่ได้ตามมาตรา41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.
of 8