คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีแรงงานหลังศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ และการคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โจทก์เคยฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง แล้วโจทก์มิได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จำเลย เช่นนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนั้นต่อไป ใหม่ได้ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากโจทก์มิได้ร้องขอดังกล่าวโจทก์ก็มีสิทธิเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแรงงานกลางใหม่ได้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์วันที่ 13 เดือนสิงหาคม โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไปเป็นเวลา 23 วันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงานใหม่หลังขาดนัด - เงื่อนไขและข้อยกเว้นตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้วขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยที่ 1 ได้เดินทางออกไปจากประเทศไทยไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีและมิได้เดินทางกลับมาประเทศไทยอีกเลยเมื่อเจ้าพนักงานศาลไปปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่บ้านพักของจำเลยที่ 1 บุตรสาวของจำเลยที่ 1 ได้พยายามที่จะส่งสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยที่ 1 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอเลื่อนการพิจารณาไปก่อน แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้จงใจที่จะขาดนัด ศาลแรงงานกลางเชื่อ ตามทางไต่สวนของจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด โจทก์จะอุทธรณ์โต้เถียง ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวไม่ได้ เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน: เหตุผลความจำเป็น, การขาดนัด, และข้อจำกัดการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้ว ขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิจารณาใหม่คดีแรงงาน: การขาดนัด-เหตุจำเป็น-การอุทธรณ์คำสั่ง
คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่สั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่เกิดขึ้นภายหลังคำพิพากษา จึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้
ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 ว่า เป็นคำขอที่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความขาดนัดและข้อคัดค้านคำชี้ขาดตัดสินของศาลแรงงานกลางแล้วโจทก์จะยกปัญหาที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นที่ยุติไปดังกล่าวแล้ว ขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เดินทางไปต่างประเทศก่อนถูกฟ้องและไม่เคยกลับเข้ามาประเทศไทยอีกเลย จำเลยที่ 1 ย่อมไม่สามารถแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายในกำหนดเจ็ดวันตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจขาดนัด ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจที่จะให้จำเลยที่ 1 ได้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 และ 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865-875/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาคดีหลังเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ แม้มีเหตุขัดข้องก่อนหน้า ศาลฎีกายกอุทธรณ์
จำเลยได้รับหมายเรียกและทราบกำหนดนัดพิจารณาของศาลแล้วแต่ไม่แต่งทนายความเข้ามาดำเนินคดีเพราะขณะนั้นจำเลยมีกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนไม่ครบ ต่อมาจำเลยได้ดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการให้ ส. คนเดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนจำเลยได้ ซึ่งหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการของจำเลยแล้วยังอยู่ในระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการแจ้งข้อขัดข้องให้ศาลทราบ ย่อมถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา ไม่มีเหตุที่จะขอพิจารณาใหม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258-259/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีแรงงาน หากจำเลยไม่ทราบวันนัดเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยในคดีแรงงานยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่อ้างว่าเจ้าพนักงานศาลปิดสำเนาฟ้องและหมายเรียกจำเลยณที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยและในช่วงวันนัดถึงวันชี้ขาดตัดสินคดีผู้แทนของจำเลยเดินทางไปต่างจังหวัดหากข้อเท็จจริงเป็นดังจำเลยอ้างจำเลยย่อมไม่สามารถจะแถลงขอให้ศาลพิจารณาใหม่ภายใน7วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯมาตรา41ได้เพื่อยังความยุติธรรมให้เกิดขึ้นโดยแท้จริงสมควรนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208มาใช้บังคับโดยอนุโลมกล่าวคือศาลแรงงานกลางต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้วมีคำสั่งใหม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัด การยื่นคำให้การช้า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของนิติบุคคล และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด ให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานและยื่นคำร้องว่าไม่จงใจขาดนัดขอให้ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การแม้จะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดซึ่งไม่อาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 41 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ หากได้ความว่าจำเลยขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและนัดพิจารณาคดีใหม่
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงาน การย้ายภูมิลำเนาของจำเลย และสิทธิในการยื่นคำให้การ
ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด ให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานและยื่นคำร้องว่าไม่จงใจขาดนัดขอให้ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การแม้จะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดซึ่งไม่อาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 41 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ หากได้ความว่าจำเลยขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและนัดพิจารณาคดีใหม่
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการพิจารณาคำร้องใหม่เมื่อจำเลยไม่ทราบกำหนดนัด
บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น เป็นกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกและกำหนดนัดพิจารณาแล้ว หากจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาเพราะสถานที่ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไม่ใช่ภูมิลำเนาแท้จริงของจำเลยกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการพิจารณาคำร้องใหม่เมื่อจำเลยไม่ทราบกำหนดนัด
บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น เป็นกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกและกำหนดนัดพิจารณาแล้ว หากจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาเพราะสถานที่ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไม่ใช่ภูมิลำเนาแท้จริงของจำเลยกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
of 8