พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042-3043/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยทำให้ทนายจำเลยไม่สามารถมาศาลได้ทันตามกำหนด ศาลฎีกาเพิกถอนคำสั่งขาดนัดและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ข้อเท็จจริงยุติว่าก่อนเวลานัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย รถยนต์ที่ทนายความจำเลยที่ 1 ขับมาศาลเครื่องยนต์ไม่ทำงานเนื่องจากสายพานระบบไฟฟ้าขาด ไม่สามารถเดินทางมาทันกำหนด ทนายจำเลยที่ 1 โทรศัพท์แจ้งเหตุขัดข้องให้เจ้าหน้าที่ศาล โจทก์และทนายโจทก์ทราบแล้ว แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ตามกำหนด เป็นการสมควรให้เพิกถอนคำสั่งศาลแรงงานภาค 2 ที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด อันมีผลให้ศาลแรงงานภาค 2 ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำหลังจากที่มีคำสั่งนั้นใหม่เสมือนหนึ่งมิเคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41
เมื่อเพิกถอนคำสั่งที่ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้ว ข้อโต้แย้งตามคำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 2 จึงหมดไป ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป
เมื่อเพิกถอนคำสั่งที่ว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้ว ข้อโต้แย้งตามคำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 2 จึงหมดไป ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13165/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแรงงาน: การส่งหมายเรียกโดยชอบ และกรอบเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
กรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรต้องบังคับไปตามนั้น จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ประเด็นแห่งคดีนี้ในการขอพิจารณาคดีใหม่คือจำเลยมีความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้วมีผลทางกฎหมายว่าจำเลยรู้ว่าตนถูกฟ้องคดี เท่ากับศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าถูกฟ้องคดีแล้วนั่นเอง
เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดพร้อมส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบ ถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 41 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เกินระยะเวลาดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ประเด็นแห่งคดีนี้ในการขอพิจารณาคดีใหม่คือจำเลยมีความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้วมีผลทางกฎหมายว่าจำเลยรู้ว่าตนถูกฟ้องคดี เท่ากับศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าถูกฟ้องคดีแล้วนั่นเอง
เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดพร้อมส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบ ถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 41 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เกินระยะเวลาดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13531/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกล่าช้าจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการของจำเลย ไม่เป็นเหตุให้พิจารณาคดีใหม่ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ ศาลแรงงานกลางพิจารณาคำร้องของจำเลยเฉพาะเหตุในเนื้อหาแห่งคดีตามที่โจทก์จำเลยแถลงรับกัน โดยไม่ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยมาศาลไม่ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงไม่ชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยชอบแล้วและโจทก์ไม่ได้คัดค้านข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว
พนักงานรักษาความปลอดภัยลงชื่อรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ตามปกติพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานเป็นกะจึงต้องมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นผลัดเปลี่ยนปฏิบัติหน้าที่แทนคนที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นเห็นซองเอกสารบรรจุหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจ่าหน้าถึงจำเลยแล้วเพิ่งนำส่งจำเลยในวันที่ 14 กันยายน 2554 ซึ่งล่วงเลยไปเป็นเวลาถึง 21 วัน จึงเป็นเรื่องผิดปกติ ความผิดพลาดที่ทำให้จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องล่าช้าเกิดจากการบริหารจัดการของจำเลยเอง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จึงไม่ใช่เหตุแห่งความจำเป็นที่เป็นการสมควรยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยชอบแล้วและโจทก์ไม่ได้คัดค้านข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียว
พนักงานรักษาความปลอดภัยลงชื่อรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2554 ตามปกติพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานเป็นกะจึงต้องมีพนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นผลัดเปลี่ยนปฏิบัติหน้าที่แทนคนที่รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยคนอื่นเห็นซองเอกสารบรรจุหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจ่าหน้าถึงจำเลยแล้วเพิ่งนำส่งจำเลยในวันที่ 14 กันยายน 2554 ซึ่งล่วงเลยไปเป็นเวลาถึง 21 วัน จึงเป็นเรื่องผิดปกติ ความผิดพลาดที่ทำให้จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องล่าช้าเกิดจากการบริหารจัดการของจำเลยเอง การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ จึงไม่ใช่เหตุแห่งความจำเป็นที่เป็นการสมควรยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแรงงานและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเมื่อขาดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
การพิจารณาคดีแรงงานมีวิธีพิจารณาต่างกับคดีแพ่งทั่วๆ ไป โดยมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ บัญญัติไว้เป็นพิเศษ กรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรก็ต้องบังคับไปตามนั้น จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ เท่านั้น
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเวลานัดพิจารณาและสืบพยาน โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดเมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการถูกต้องแล้ว
คดีนี้เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเวลานัดพิจารณาและสืบพยาน โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในเวลานัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนด โดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 คือต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดเมื่อจำเลยยื่นคำร้องพ้นกำหนด กรณีจึงต้องยกคำร้อง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงเป็นการถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาเหตุจำเป็นที่จำเลย/ทนายขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด หากไม่พิจารณาคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสามแล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
หลังจากวันนัดพิจารณา จำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยแจ้ง แต่หาได้กระทำไม่ กลับมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล จำเลยขาดนัดโดยจงใจให้ยกคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8247/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีแรงงานและการขาดนัดโดยจงใจ ศาลต้องพิจารณาเหตุผลก่อนมีคำสั่ง
คำร้องของทนายจำเลยซึ่งทนายจำเลยได้ยื่นขอเลื่อนคดีไว้ก่อนถึงวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เป็นการแจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงเหตุที่ทนายจำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดนัดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 40 วรรคสาม แล้ว ไม่ว่าเหตุตามคำร้องนั้นจะมีเหตุสมควรหรือไม่ก็ตาม ศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยเสียก่อน แต่ศาลแรงงานกลางมิได้สั่ง กลับสั่งว่าทนายจำเลยและจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมิชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องแถลงให้ศาลแรงงานกลางทราบถึงความจำเป็นที่จำเลยไม่อาจมาศาลตามกำหนดได้ จึงเป็นการยื่นคำแถลงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 ศาลแรงงานกลางชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความจำเป็นที่จำเลยอ้าง กลับมีคำสั่งว่า เนื่องจากทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยที่ศาลสั่งให้รอสั่งในวันนัด ถึงกำหนดนัดฝ่ายจำเลยไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาศาล ซึ่งจำเลยได้ทราบนัดโดยชอบ จำเลยจึงขาดนัดโดยจงใจ ให้ยกคำร้อง อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน จึงถือได้ว่าเป็นการที่ศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงานและการขอพิจารณาคดีใหม่ การยื่นคำร้องล่าช้าทำให้คำร้องไม่เป็นผล
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มาศาล และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง การที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งขอศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 จำเลยยื่นคำร้องเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงาน และกรอบเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.แรงงาน
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานดังกล่าว และขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด จึงล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดในคดีแรงงานและการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน กำหนดเวลา 7 วัน
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา โดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยที่ 1 มาศาลในวันนัด พร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัดโดยไม่แจ้งเหตุให้ศาลแรงงานกลางทราบ และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามมาตรา 40 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ แต่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ซึ่งมีบทบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 คดีนี้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อขอพิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2547 ซึ่งเกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัด ย่อมล่วงเลยเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ได้ ศาลแรงงานกลางจึงชอบจะมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดในคดีแรงงาน การขอพิจารณาใหม่ต้องทำภายใน 7 วันตามกฎหมายเฉพาะ
ศาลแรงงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เกินเวลา 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดแล้วตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 41 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 วรรคสองดังกล่าวซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงานบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.วิ.พ. มารา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับมิได้