คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความในคดีละเมิดเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ ศาลพิจารณาว่าวันเริ่มต้นทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายของอายุความ
เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 เมื่อนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ศาลหยุดทำการ ซึ่งตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันสุดท้ายของกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 บัญญัติว่า"ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาอุทธรณ์และการนับระยะเวลา - วันหยุดราชการ
ป.พ.พ.มาตรา 193/8 บัญญัติว่า "ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการ จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดวันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/8 มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายฎีกา: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม ไม่ใช่วันยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8735/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องนับต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิม ไม่ใช่วันที่ยื่นคำร้อง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2542 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 17 เมษายน 2542 เป็นวันเสาร์หยุดราชการ แม้โจทก์จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 19 เมษายน2542 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ก็ตาม แต่การนับระยะเวลาที่ขอขยายออกไปก็ต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 18เมษายน 2542 หาใช่นับตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2542 อันเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาไม่ เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา 3 วัน และศาลชั้นต้นอนุญาตตามที่โจทก์ขอ จึงครบกำหนดในวันที่ 20 เมษายน 2542 โจทก์ยื่นฎีกาในวันที่ 21 เมษายน 2542 จึงล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้วต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 23ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาที่ศาลอนุญาตโดยเริ่มนับวันจากวันหยุดราชการ ทำให้การยื่นฎีกาเกินกำหนด
คดีอาญาเรื่องนี้ครบกำหนดฎีกาในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน 2542 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอ ระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงให้เริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกาคือวันที่ 12 มิถุนายน 2542โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2542 แม้ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 12กรกฎาคม 2542 แต่ปรากฏว่าจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาและยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลา แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีอาญาเรื่องนี้ครบกำหนดฎีกาในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน 2542 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงให้เริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกาคือวันที่ 12 มิถุนายน 2542 โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2542 แม้ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2542 แต่ปรากฏว่าจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาและยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดวันเริ่มค่าเสียหายจากการบุกรุกที่ดิน ต้องสอดคล้องกับวันทำละเมิด
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่ปี2536 เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์เมื่อเดือนมิถุนายน 2536 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่ปี 2536 ซึ่งมีความหมายว่านับแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป จึงไม่ชอบเพราะเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายก่อนวันทำละเมิด ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เนื่องจากตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปไถที่ดินวันใดแน่ จึงกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2536 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7599/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายเริ่มนับแต่เวลาที่เกิดละเมิด การกำหนดวันเริ่มผิดพลาดต้องแก้ไข
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่ปี 2536เป็นต้นไปก็ตาม แต่ตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์เมื่อเดือนมิถุนายน2536 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับแต่ปี2536 ซึ่งมีความหมายว่านับแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 เป็นต้นไป จึงไม่ชอบเพราะเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายก่อนวันทำละเมิด ปัญหานี้แม้คู่ความมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เนื่องจากตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปไถที่ดินวันใดแน่ จึงกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2536 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มจากวันครบกำหนดเดิม แม้โจทก์เข้าใจผิด
คดีนี้ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 แต่โจทก์ระบุในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่าครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 มิถุนายน2539 อันเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์เอง ดังนี้เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน2539 จึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่11 กรกฎาคม 2539 เป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว
of 5