คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 193/3

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณระยะเวลาขยายการยื่นอุทธรณ์: นับจากวันครบกำหนดเดิม ไม่ใช่จากวันที่เข้าใจผิด
คดีนี้ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 9 มิถุนายน 2539แต่โจทก์ระบุในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ว่าครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 มิถุนายน 2539 อันเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์เอง ดังนี้เมื่อโจทก์ขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ จึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายที่ครบกำหนดระยะเวลาเดิม คือเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน2539 จึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2539โจทก์ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2539 เป็นการ ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ขอขยาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณดอกเบี้ย: นับแต่วันรุ่งขึ้นจากวันฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องระบุเจาะจง
การคำนวณนับระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ยนั้นอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย จึงเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นโดยไม่นับวันฟ้องรวมคำนวณเข้าด้วยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ถ้อยคำเจาะจงว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาบังคับคดี: ผลของวันหยุดราชการต่อการออกหมายบังคับคดีตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำว่า "ลักษณะนี้" ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 ว่าด้วย การนับระยะเวลาคือลักษณะ 5 ของบรรพ 1 ซึ่งว่าด้วยหลักทั่วไป มิได้ใช้บังคับเฉพาะเรื่องนิติกรรม แต่ใช้บังคับในการออกหมายบังคับคดีด้วย แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 273 วรรคสามจะได้บัญญัติว่า ระยะเวลาในคำบังคับให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับหรือข้อความท้ายคำบังคับที่ระบุให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับคำบังคับก็ไม่อาจถือว่าเป็นข้อยกเว้นที่จะต้องนับระยะเวลาในวันแรกรวมเข้าด้วย ต้องนับระยะเวลาตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันปิดคำบังคับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 วรรคหนึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อให้เวลาแก่ลูกหนี้ที่จะปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หากยังอยู่ในระยะเวลาดังกล่าวศาลก็จะยังไม่ออกหมายบังคับคดี แม้วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาจะเป็นวันหยุดราชการซึ่งตามปกติธนาคารโจทก์จะหยุดทำการ ทำให้จำเลยไม่สามารถติดต่อกับโจทก์ได้ แต่วันเปิดทำการในวันจันทร์และหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ดังนี้ ที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันเปิดทำการดังกล่าวแม้จะออกเร็วไป 1 วัน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มิได้ไปดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในวันที่ออกหมายบังคับคดีแต่ไปดำเนินการบังคับคดีเมื่อกำหนดเวลาตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาชำระหนี้ตามหนังสือแจ้งหนี้ และผลของการผิดนัดชำระ
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม2535 และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 แห่งป.พ.พ.ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาผิดนัดชำระค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย การกำหนดวันเริ่มต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องชำระค่าปรับตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยนำมาชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยจำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันเป็นการกระทำฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย ต้องเริ่มนับ 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม 2535 ตามมาตรา 193/3 วรรคสาม และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาผิดนัดชำระค่าปรับ: การกำหนดวันเริ่มต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสองซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา 15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่1 ธันวาคม 2535 และครบกำหนด 15 วัน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2535จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายใน 15 ธันวาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาชำระค่าปรับตามหนังสือแจ้งหนี้ การเริ่มนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้นโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่30พฤศจิกายน2535ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/1การนับระยะเวลา15วันในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา193/3วรรคสองซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใดจึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่30พฤศจิกายน2535นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วยการนับระยะเวลา15วันตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่1ธันวาคม2535และครบกำหนด15วันในวันที่15ธันวาคม2535จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายใน15ธันวาคม2535เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามมาตรา224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตั้งแต่วันที่16ธันวาคม2535เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: การกำหนดวันเริ่มต้นและผลของการขยายต่อเนื่อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา229 ซึ่งการนับเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/3 โดยอุทธรณ์ของโจทก์จะครบกำหนดวันที่ 29 มกราคม 2537โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มีกำหนด 15 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์คือวันที่ 31 มกราคม 2537 เนื่องจากวันที่ 29 และ 30 มกราคม 2537 เป็นวันหยุดราชการ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นระบุในคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ 31 มกราคม 2537 จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปว่าจะต้องเริ่มนับจากวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2537 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/7 โจทก์จึงสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2537 อันเป็นวันครบกำหนดที่ได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกครั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด โดยมิได้กำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป กรณีดังกล่าวนี้จึงต้องนับกำหนดระยะเวลาเดิมกับระยะเวลาที่ขยายออกไปติดต่อกันซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์2537 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลต้องรับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่านายหน้าจากการชี้ช่องทำสัญญา แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความก็ยังมีผล
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างม.กับจำเลยเกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาและ ม.ฟ้องจำเลยแต่จำเลยก็ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมโอนที่ดินพิพาทให้นายม.หรือบุคคลที่ ม.ประสงค์ ศาลพิพากษาตามยอม ภายหลังจำเลยได้ปฏิบัติตามโดยโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บริษัทช.ที่ม.ประสงค์ ซึ่งตรงกับราคาที่ระบุในสัญญาจะซื้อจะขายดังนี้สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงมีผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายมีผลสืบเนื่องมาจากการชี้ช่องของโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมก็ย่อมมีผลสืบเนื่องมาจากการชี้ช่องของโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำเหน็จค่านายหน้าจากจำเลย สัญญานายหน้าเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจะซื้อจะขายแม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะบันทึกเรื่องที่จำเลยตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ไว้ก็หาทำให้สัญญาค่าบำเหน็จนายหน้าเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจะซื้อจะขายไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเอาบำเหน็จนายหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสะดุดหยุดเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วน แม้โจทก์อ้างวันที่ชำระไม่ตรงกับเอกสาร
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526ถือว่าจำเลยที่1รับสภาพหนี้ต่อโจทก์เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้ววินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ทั้งยังแก้อุทธรณ์ว่าเห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ฟังว่าจำเลยที่1ชำระเงินบางส่วนให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526โจทก์จะฎีกาว่าจำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่14กรกฎาคม2526หาได้ไม่เพราะเป็นข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่าในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่1ชำระเงินครั้งสุดท้ายให้โจทก์เมื่อวันที่11กรกฎาคม2526ถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยชำระหนี้ให้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา181การนับระยะเวลาจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่12กรกฎาคม2526และครบ2ปีในวันที่11กรกฎาคม2528โจทก์ฟ้องคดีวันที่12กรกฎาคม2528จึงขาดอายุความ
of 5