คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,298 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8337/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหายทางอาญา: การมีส่วนประมาทของผู้ตายทำให้ภริยาไม่มีอำนาจเรียกร้อง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า น. มีส่วนประมาท จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาของ น. ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทน น. ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 กับยื่นคำร้องขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 ด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...คำขอของผู้เสียหายขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมิให้เรียกค่าธรรมเนียม" ให้หมายรวมถึงกรณีจำเลยยื่นฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7832/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายจากการยักยอกทรัพย์ และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา
จำเลยกับพวกร่วมกันยักยอกรถยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ ขณะอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อ เมื่อในขณะกระทำความผิดผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อดังกล่าว การกระทำของจำเลยกับพวกย่อมทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับความเสียหายโดยตรง แม้ผู้เสียหายที่ 2 จะไปแจ้งความร้องทุกข์ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหายที่ 1 แต่ก็ถือว่าได้ร้องทุกข์ในฐานะที่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นผู้เสียหายด้วยเช่นกัน ผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ และย่อมมีอำนาจในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อความผิดฐานยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัวและคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อปรากฏว่าก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกา ผู้เสียหายที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ความผิดฐานแจ้งความเท็จ, ยักยอกทรัพย์, ทำให้เสียทรัพย์, และการพิพากษาลงโทษกรรมเดียว
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความแก่เจ้าพนักงานตำรวจว่า โฉนดที่ดินที่ตนเองมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ได้สูญหายไป แล้วนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน ทำให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งจะเป็นความเท็จ เพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่โจทก์ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าพนักงาน มิได้กล่าวพาดพิงไปถึงโจทก์ อันจะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง สิทธิของโจทก์หากจะพึงมีพึงเป็นอย่างไรในที่ดินแปลงนั้นในฐานะหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็คงมีอยู่ตามเดิมมิได้ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะโจทก์ยังคงมีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในฐานะหุ้นส่วนและมีสิทธิว่ากล่าวแก่จำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนได้เช่นเดิม โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งความเท็จและแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ
จำเลยที่ 1 ฎีกาโดยยกคำฟ้องของโจทก์ขึ้นกล่าวเพียงว่า โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ร่วมกันซื้อที่ดินพิพาท หลังจากนั้นก็กล่าวอ้างถึง ป.พ.พ. มาตรา 1012 และ มาตรา 1363 และทางนำสืบของโจทก์เท่านั้น โดยมิได้ฎีกาคัดค้านว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 อย่างไรฎีกาของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
ฟ้องโจทก์บรรยายการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์และฐานร่วมกันยักยอกรวมกันมาในข้อเดียวกันคือ ข้อ ค. โดยมิได้บรรยายฟ้องแยกแยะการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดแจ้งพอที่จะเห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฟ้องข้อ ค. ในแต่ละข้อหาเป็นแต่ละกรรมแยกต่างหากจากกัน ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานยักยอกเป็นสองกรรมเกินจากที่กล่าวในฟ้องหาได้ไม่ ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นสองกรรมจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6641-6642/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำให้เอกชนเสียประโยชน์
โจทก์ที่ 1 มีวัตถุประสงค์รับเหมาก่อสร้างทุกชนิด ยื่นใบเสนอราคางานรับจ้างในราคาต่ำสุดทุกโครงการ แต่ไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติงานจ้าง โดยจำเลยในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุมัติกลับอนุมัติให้ร้าน ซ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ซึ่งเสนอราคาสูงกว่าโจทก์ที่ 1 เข้าเป็นคู่สัญญากับเทศบาลตำบลบึงโขงหลง หากได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเสนอราคาตามเงื่อนไขของเทศบาลตำบลบึงโขงหลงได้รับความเสียหายไม่ได้รับงานจ้างซึ่งเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ ทั้งที่เป็นการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 ซึ่งนับเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว นอกจากนี้การเสนอราคาเพื่อเข้าเป็นคู่สัญญาในการรับจ้างเหมาทุกชนิด ตามวิสัยของวิญญูชนย่อมเห็นได้ชัดว่าหากงานจ้างเหมามีแต่การขาดทุน ย่อมไม่มีผู้ใดเสนอราคาเพื่อเข้าเป็นคู่สัญญาอย่างแน่นอน ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 เสียโอกาสไม่ได้เข้ารับเหมาทำงาน ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียรายได้จากงานจ้างซึ่งเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ โจทก์ที่ 1 ย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องในส่วนที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ได้ แต่ไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนที่มีการกระทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6478/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ผู้ถูกหลอกลวงทราบว่าไม่มีใบอนุญาต ก็ยังเป็นผู้เสียหายและมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวง แม้โจทก์ร่วมจะรู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีใบอนุญาตจัดหางานก็ไม่มีผลที่จะทำให้โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี
จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงโจทก์ร่วมว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งเงินจำนวน 400,000 บาท จากโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์ร่วมจึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองอันเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) แม้หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 จะชดใช้เงินคืนให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 60,000 บาท ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองแล้วไม่เป็นผู้เสียหายอีกต่อไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5612/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้ถูกหลอกลวงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341, 83 โดยโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหาย ให้ผู้เสียหายนำเงินมาร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 และพวกเล่นการพนันเพื่อเอาเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเงินเป็นจำนวนมาก ผู้เสียหายถูกหลอกนำเงิน 3,000,000 บาท มาร่วมลงทุนเล่นการพนันโดยจำเลยทั้งสองกับพวกมิได้มีเจตนาที่จะเล่นการพนันเอาทรัพย์สินกัน แต่การพนันเป็นเพียงแผนการที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเอาเงินของผู้เสียหายให้แนบเนียน ทั้งผู้เสียหายก็ไม่มีเจตนาที่จะร่วมเล่นการพนันกับพวกจำเลยทั้งสองมาตั้งแต่ต้น การที่ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสองกับพวกเพื่อเล่นการพนันดังกล่าวเป็นการตกหลุมพรางที่วางไว้ ถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายเข้าร่วมเล่นการพนันกับพวกจำเลยทั้งสอง ทั้งถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง จึงถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายร่วมเล่นการพนันกับจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้รับอนุญาต อันจะเป็นการร่วมกับจำเลยทั้งสองกระทำผิด ผู้เสียหายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5232/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ และอำนาจในการฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ก่อเหตุ
เมื่อโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยด่าว่ามารดาจำเลยด้วยถ้อยคำรุนแรงและพูดท้าทายจำเลยเป็นทำนองให้ไปต่อสู้กันในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกโจทก์ร่วมข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ดังนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด และไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ม. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการกับยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และ มาตรา 44/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทมีหน้าที่จัดทำงบดุล หากปฏิเสธการร่วมงาน อาจไม่เป็นผู้เสียหาย
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยทั้งสามไม่จัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติภายในกำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1196, 1197 ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 18, 25 แต่ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเชิญพิจารณารับรองงบดุล - งบการเงินแล้วแจ้งเหตุขัดข้องปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมกรรมการ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่สามารถจัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตามที่กฎหมายกำหนดได้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นจึงมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2416/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดทางอาญา ถือเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
บริษัท ร. ประกอบธุรกิจส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับอนุญาต พ. ทราบว่าตนในฐานะผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท จะต้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมาย จึงโอนหุ้นของตนให้แก่จำเลยและจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้จำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท เพื่อหลีกเลี่ยงให้ตนเองพ้นความรับผิดทางอาญาโดยให้จำเลยเป็นผู้รับโทษในทางอาญาแทนตน ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องบริษัท ร. และจำเลยเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น ฐานร่วมกันส่งวิทยุโทรทัศน์เพื่อให้บริการแก่สาธารณะหรือชุมชนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย คดีถึงที่สุด นิติกรรมการโอนหุ้นระหว่าง พ. กับจำเลยจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พ. ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานยักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานะผู้เสียหาย
ป. ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2 ) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
of 130