พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางกาย แม้ไม่มีเจตนาทำร้าย แต่ผลที่เกิดขึ้นย่อมคาดการณ์ได้ และความผิดฐานพาอาวุธมีอายุความ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายที่อยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปและเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายเป็นผลให้จำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้จำเลยจะฎีกาว่า ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายซึ่งสอดคล้องกับที่ผู้เสียหายเบิกความ ผู้เสียหายไม่ทราบว่าไปโดนคมมีดตอนไหน เข้าใจว่าคงจะโดนตอนที่กลับตัวมาไขกุญแจรถ บาดแผลจึงไม่ได้เกิดจากจำเลยมีเจตนาใช้มีดทำร้ายผู้เสียหายก็ตามก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อการที่จำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้น จึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กาย
อนึ่ง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 เมื่อนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
อนึ่ง ความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความ 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2545 เมื่อนับแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำผิดแล้วเป็นเวลาเกิน 1 ปี ความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วยจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์ทำให้ผู้เสียหายได้รับอันตราย ผลของการกระทำเป็นเหตุให้เกิดอันตรายตามธรรมชาติ และอายุความความผิดพาอาวุธ
จำเลยใช้อาวุธมีดปลายแหลมจี้ขู่ผู้เสียหายและเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายและรถยนต์ของบิดาของผู้เสียหายไป เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจำเลยก็ต้องรับโทษหนักขึ้น แม้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่ต้นแขนซ้ายจากมีดของจำเลยเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเลยไม่มีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะการที่จำเลยจะรับโทษหนักขึ้นด้วยเหตุที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น จำเลยไม่จำต้องกระทำโดยมีเจตนา เพียงแต่พิจารณาว่าผลที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายนั้น เป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ตาม ป.อ. มาตรา 63 หรือไม่ เมื่อจำเลยใช้มีดปลายแหลมจี้ผู้เสียหายการที่ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายจากมีดนั้นจึงย่อมเป็นผลธรรมดาที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยแล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายตามมาตรา 339 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดร่วมกันพยายามฆ่าและมีอาวุธปืน ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ปืนถือเป็นเจตนาเข้าร่วม
แม้พยานโจทก์ยืนยันว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ในคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยอมให้ ม. เอาอาวุธปืนซึ่งเป็นของบิดาจำเลยที่ 1 ไปเหน็บไว้ที่เอวก่อนพากันออกจากบ้านจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมพร้อมใจให้ ม. ใช้อาวุธดังกล่าวกระทำความผิดขณะเดินทางไปด้วยกัน ถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะมีส่วนร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ต้น และในขณะ ม. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวกนั้น รถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 อยู่ห่างจากรถจักรยานยนต์ของ ม. ประมาณ 1 ถึง 2 เมตร ซึ่งเป็นระยะใกล้กันพอที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ และก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 กับพวกได้พากันขับรถจักรยานยนต์ผ่านผู้เสียหายกับพวกไปแล้ว จึงได้พากันขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับมาและหลังจาก ม. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวก จำเลยที่ 1 กับพวกได้ยกมือขึ้นแสดงความดีใจ แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรู้เห็นและพร้อมใจกันมากระทำความผิด มิใช่เป็นเหตุการณ์ที่ ม. ตัดสินใจกระทำความผิดเฉพาะหน้าเพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่ามีการปล้นทรัพย์ ศาลยกฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ แต่ลงโทษทำร้ายร่างกาย
ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์ไม่ได้อันเป็นเหตุในลักษณะคดีแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในข้อหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยไม่มีฝ่ายใดฎีกาว่าจำเลยทั้งสามกับพวกรุมชกต่อยใช้ไม้และขวดเบียร์ตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสอง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสองได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนได้รับอันตรายแก่กายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเกินขนาด: การกระทำเกินสมควรหลังจากภัยอันตรายหมดไปแล้ว
พฤติการณ์ที่ผู้ตายทำร้าย ส. ล้มลงแล้วจะตามไปทำร้าย ส. อีก เมื่อจำเลยเข้าห้ามปราม ผู้ตายก็ใช้มีดแทงจำเลย ถือว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ส. และจำเลยแล้ว การที่จำเลยใช้ด้ามพร้าตีผู้ตายจนล้มลงนั้น เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อผู้ตายพยายามจะลุกขึ้นอีก แต่จำเลยใช้เท้าขวาเหยียบมือผู้ตายที่กำลังถือมีดอยู่แสดงว่าภยันตรายที่เกิดจากการกระทำของผู้ตายนั้นถูกจำเลยควบคุมมิให้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นอีกได้ ถือว่าภยันตรายที่จะเกิดแก่ ส. และจำเลยหมดไปแล้ว จำเลยไม่จำเป็นต้องทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก ดังนั้น การที่จำเลยใช้มือซ้ายจับคางผู้ตายใช้มือขวาซึ่งถือมีดเชือดคอผู้ตาย 1 ครั้ง และเมื่อผู้ตายยังดิ้นรนอยู่จำเลยยังเอามีดพกส่วนตัวของจำเลยอีกเล่มหนึ่งมาแทงผู้ตายถึง 2 แผลอีก นับเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 เพราะหากจำเลยไม่เชือดคอผู้ตาย ผู้ตายก็คงไม่ถึงแก่ความตาย คดีจึงฟังไม่ได้ว่าการที่จำเลยฆ่าผู้ตายเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษให้จำคุกจำเลย 6 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติการณ์ที่จำเลยฆ่าผู้ตายโดยวิธีเชือดคอซึ่งเป็นวิธีการที่สยดสยองอย่างยิ่ง กับจำเลยยังเอามีดพกส่วนตัวของจำเลยมาแทงผู้ตายอีก 2 แผลแล้ว นับเป็นกำหนดโทษที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการกระทำแล้ว คดีไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะกำหนดโทษให้ต่ำไปกว่านี้อีก และเมื่อจำเลยต้องโทษจำคุกเกินสามปี คดีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะรอการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้
การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษให้จำคุกจำเลย 6 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติการณ์ที่จำเลยฆ่าผู้ตายโดยวิธีเชือดคอซึ่งเป็นวิธีการที่สยดสยองอย่างยิ่ง กับจำเลยยังเอามีดพกส่วนตัวของจำเลยมาแทงผู้ตายอีก 2 แผลแล้ว นับเป็นกำหนดโทษที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งการกระทำแล้ว คดีไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะกำหนดโทษให้ต่ำไปกว่านี้อีก และเมื่อจำเลยต้องโทษจำคุกเกินสามปี คดีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ศาลจะรอการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56 ได้