พบผลลัพธ์ทั้งหมด 400 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9384/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ห้ามหักค่าใช้จ่ายสวัสดิการลูกจ้างจากค่าจ้าง หากไม่ใช่การชำระภาษีหรือหนี้ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างโดยตรง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ (3) หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง ตามหนังสือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดตากขอความร่วมมือไปยังนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าว ให้จัดหาที่พักให้แก่แรงงานต่างด้าวเพื่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของชุมชนและเป็นไปเพื่อให้ความสะดวกแก่ลูกจ้างในการที่จะทำงานให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ทั้งโจทก์ก็ได้รับประโยชน์เป็นตัวเงินได้เพราะมีผลทำให้จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดน้อยลงด้วย หนังสือดังกล่าวมิใช่กฎหมายแต่เป็นเพียงหนังสือขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการไปยังผู้ประกอบกิจการเอกชนเท่านั้น ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าอาหาร ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันสุขภาพ และค่าใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวจึงมิใช่เงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ลูกจ้างต้องชำระและนายจ้างชำระแทนลูกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1) หากแต่เป็นสวัสดิการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจัดหาให้แก่ลูกจ้าง เพื่อให้ความสะดวกแก่โจทก์สามารถจ้างงานลูกจ้าง ซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกต้องตามที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดตากมีหนังสือขอความร่วมมือโดยโจทก์ได้รับประโยชน์จากการออกค่าใช้จ่ายนั้นด้วย เงินดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (3) โจทก์จึงไม่สามารถหักเงินค่าใช้จ่ายนั้นออกจากค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดได้
การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ย่อมหมายความว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลแรงงานพิจารณาทบทวนคำสั่งของจำเลยว่าถูกต้องหรือไม่ หากจำเลยมีคำสั่งไม่ถูกต้องศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของจำเลยได้ โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องเพราะหนี้ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องบางส่วนขาดอายุความและโจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายหักจากหนี้ดังกล่าวโจทก์จะไม่มีเงินค้างจ่ายแก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยและขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความและโจทก์ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่าย แม้ศาลแรงงานภาค 6 จะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุที่ต้องแก้ไขคำสั่งของจำเลยหรือไม่ แต่การที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามที่อ้างมาหักจากเงินที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างได้ แต่ที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินแก่ลูกจ้างโดยนำเอาหนี้ตามสิทธิเรียกร้องบางส่วนที่ขาดอายุความมาคิดคำนวณด้วยไม่ถูกต้องนั้น ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังคำฟ้องหรือคำให้การว่าคำสั่งของจำเลยถูกต้องหรือไม่ เมื่อเห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องบางส่วน ศาลแรงงานภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำสั่งของจำเลยในส่วนที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวโดยมิต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งหมดได้ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ย่อมหมายความว่าโจทก์ประสงค์จะให้ศาลแรงงานพิจารณาทบทวนคำสั่งของจำเลยว่าถูกต้องหรือไม่ หากจำเลยมีคำสั่งไม่ถูกต้องศาลแรงงานย่อมมีอำนาจเพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของจำเลยได้ โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องเพราะหนี้ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องบางส่วนขาดอายุความและโจทก์มีสิทธินำค่าใช้จ่ายหักจากหนี้ดังกล่าวโจทก์จะไม่มีเงินค้างจ่ายแก่ลูกจ้างตามคำสั่งของจำเลยและขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย จำเลยให้การว่าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความและโจทก์ไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่าย แม้ศาลแรงงานภาค 6 จะมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุที่ต้องแก้ไขคำสั่งของจำเลยหรือไม่ แต่การที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามที่อ้างมาหักจากเงินที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างได้ แต่ที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินแก่ลูกจ้างโดยนำเอาหนี้ตามสิทธิเรียกร้องบางส่วนที่ขาดอายุความมาคิดคำนวณด้วยไม่ถูกต้องนั้น ก็เกี่ยวเนื่องโดยตรงที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังคำฟ้องหรือคำให้การว่าคำสั่งของจำเลยถูกต้องหรือไม่ เมื่อเห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องบางส่วน ศาลแรงงานภาค 6 ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำสั่งของจำเลยในส่วนที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวโดยมิต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยทั้งหมดได้ กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13581/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลูกจ้างในการเลือกฟ้องคดีแรงงาน หรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน และการถอนคำร้องก่อนฟ้องคดี
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึง 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ แม้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว ก็ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้โจทก์ต้องดำเนินการให้สิ้นสุดกระบวนการโดยจะถอนคำร้องแล้วมาใช้สิทธิทางศาลอีกไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วถอนคำร้องดังกล่าวก่อนยื่นคำฟ้องคดีนี้ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11683-11703/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าจ้างและค่าชดเชยจากคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน: ศาลรับฟ้องได้แม้ยังไม่ถึงที่สุด
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 บัญญัติให้นายจ้าง ลูกจ้าง ซึ่งไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตามมาตรา 124 นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง หาได้บัญญัติให้ลูกจ้างต้องรอจนกว่าคำสั่งเป็นที่สุดแล้วจึงจะฟ้องเรียกเงินตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานได้
เมื่อตามบัญชีค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 2 น้อยกว่าคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่อาจได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยเกินกว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จึงเห็นควรกำหนดจำนวนค่าจ้างและค่าชดเชยที่โจทก์แต่ละสำนวนมีสิทธิได้รับตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้ชัดเจน
แม้โจทก์แต่ละสำนวนมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน แต่ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อความเป็นธรรมจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน
เมื่อตามบัญชีค่าจ้างและค่าชดเชยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้โจทก์ที่ 2 น้อยกว่าคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ที่ 2 ย่อมไม่อาจได้รับค่าจ้างและค่าชดเชยเกินกว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จึงเห็นควรกำหนดจำนวนค่าจ้างและค่าชดเชยที่โจทก์แต่ละสำนวนมีสิทธิได้รับตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานให้ชัดเจน
แม้โจทก์แต่ละสำนวนมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน แต่ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อความเป็นธรรมจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดร่วมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างต้องวางเงินตามคำสั่งก่อนจึงจะมีอำนาจฟ้อง
การวางเงินต่อศาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นการฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่มีหน้าที่ต้องสั่งหรือเตือนให้นายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลวางเงินดังกล่าว
โจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ออกตามมาตรา 124 โดยไม่วางเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้
โจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ออกตามมาตรา 124 โดยไม่วางเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10406/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดหากนายจ้างไม่ฟ้องคัดค้านภายใน 30 วัน
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยค้างจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดแก่โจทก์ โจทก์จึงร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานกลุ่มสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ 8 พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวันหยุดแก่โจทก์และได้ส่งคำสั่งให้จำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จำเลยได้รับทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2548 แล้ว จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้โจทก์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคำสั่งตามมาตรา 124 วรรคสาม โดยไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ตามคำให้การซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานตรวจแรงงานมากล่าวอ้างในชั้นที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8793/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องค่าจ้างต้องอาศัยข้อตกลงสภาพการจ้าง ไม่ใช่แค่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 ที่บัญญัติให้นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 ต้องนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง มิฉะนั้น คำสั่งนั้นเป็นที่สุด คำสั่งที่จะเป็นที่สุดตามมาตรานี้ต้องเป็นคำสั่งในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 เท่านั้น
ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่จะต้องได้รับเพิ่มขึ้นจากการที่จำเลยต้องปรับค่าจ้างเพิ่มตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 โจทก์ที่ 2 จึงหาจำต้องฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นการฟ้องเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่จะต้องได้รับเพิ่มขึ้นจากการที่จำเลยต้องปรับค่าจ้างเพิ่มตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19 โจทก์ที่ 2 จึงหาจำต้องฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ในคดีแรงงานอุทธรณ์คำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างต้องเป็นคู่ความในคดี
โจทก์ในฐานะนายจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 อันเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 8 (4) ซึ่งการพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ วิธีพิจารณาคดีแรงงานในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ การนำพยานหลักฐานเข้าสืบของคู่ความ หลักในการพิจารณาคดีในศาลแรงงานและการรับฟังข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาในศาลแรงงานไว้แล้วหาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 แล้ว ในการพิจารณาคดีศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้นไม่ เพราะการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานมิได้มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการสอบสวนไว้โดยเฉพาะ ทั้งกระทำการสอบสวนและใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเพียงลำพังคนเดียว การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงอาจมีข้อบกพร่องได้ ฉะนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น
ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิจากลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วยศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วยเพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป
ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิจากลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วยศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วยเพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8792/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องพิจารณาพยานหลักฐานใหม่จากคู่ความ ไม่จำกัดเฉพาะสำนวนพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์ในฐานะนายจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานกลางตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 อันเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (4) ซึ่งการพิจารณาคดีแรงงานต้องอยู่ภายใต้บังคับตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ วิธีพิจารณาคดีแรงงานในศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการอ้างและการยื่นบัญชีระบุพยาน การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ การนำพยานหลักฐานเข้าสืบของคู่ความ หลักในการพิจารณาคดีในศาลแรงงานและการรับฟังข้อเท็จจริงของผู้พิพากษาในศาลแรงงานไว้แล้ว หาได้มีบทบัญญัติใดกำหนดไว้ว่าหากเป็นคดีที่นายจ้างหรือลูกจ้างนำคดีมาสู่ศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 แล้ว ในการพิจารณาคดีศาลแรงงานต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามที่พนักงานตรวจแรงงานรับฟังยุติไว้ในสำนวนหรือต้องพิจารณาพยานหลักฐานเฉพาะที่ปรากฏจากการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้นไม่ เพราะการสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานมิได้มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดวิธีการสอบสวนไว้โดยเฉพาะ ทั้งกระทำการสอบสวนและใช้ดุลพินิจออกคำสั่งเพียงลำพังคนเดียว การสอบสวนหาข้อเท็จจริงในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงอาจมีข้อบกพร่องได้ ฉะนั้น ในการพิจารณาคดีแรงงานคู่ความย่อมมีสิทธิอ้างพยานหลักฐานใด ๆ เพิ่มเติมต่อศาลแรงงานได้ ส่วนพยานหลักฐานที่คู่ความอ้างเพิ่มเติมจะรับฟังได้เพียงใดขึ้นอยู่กับน้ำหนักของพยานหลักฐานนั้น คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งโดยการสอบสวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว และจำเลยที่ 2 ละทิ้งงานที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนและต่อเนื่องที่โจทก์สามารถออกคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ทำงานล่วงเวลาได้เป็นการจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย ศาลแรงงานกลางจึงต้องพิจารณาให้ได้ความจริง รวมทั้งพิจารณาว่ากระบวนการสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นไปโดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ข้อเท็จจริงคดีนี้ในประเด็นที่ว่าโจทก์ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ โดยพิจารณาแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ฟังพยานหลักฐานหรือสอบสวนตามคำร้องของจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว แต่ได้พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ด้วยแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีคำสั่งไปโดยมิชอบ โดยศาลแรงงานกลางมิได้นำพยานหลักฐานใดที่โจทก์สืบเพิ่มเติมไว้ในชั้นพิจารณาคดีมาพิจารณาประกอบด้วย จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เพื่อให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในการพิจารณาคดีต่อไป
อนึ่ง ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิของลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วย ศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วย เพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป
อนึ่ง ผลของคดีที่นายจ้างฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอาจกระทบถึงสิทธิของลูกจ้าง หากนายจ้างมิได้ฟ้องลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยในคดีด้วย ศาลแรงงานก็ควรที่จะเรียกลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยร่วมอยู่แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้อง ณ. ลูกจ้างเข้ามาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในชั้นตรวจรับคำฟ้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ชอบที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสียด้วย เพื่อให้ ณ. ลูกจ้างยังคงเป็นคู่ความในคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8631/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลยืนตามคำพิพากษาให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิลูกจ้างเลือกที่จะนำคดีเสนอต่อศาลแรงงานหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ทางใดทางหนึ่ง หากลูกจ้างเลือกที่จะใช้สิทธิทางใดแล้วก็จะต้องดำเนินการในทางนั้นจนสิ้นกระบวนการ ไม่อาจจะใช้สิทธิในอีกทางหนึ่งควบคู่ไปด้วยได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 โดยระบุในคำร้องว่า ประสงค์จะเรียกร้องเพียงค่าจ้างและค่าชดเชย จำเลยที่ 1 จึงต้องสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าจ้างและค่าชดเชยตามความประสงค์ของโจทก์ แต่ในส่วนของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการ จำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยมาตรา 124 แล้ว
โจทก์มิได้ฟ้องเพียงแต่ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 เท่านั้น แต่ยังได้ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยที่ 2 และมีคำขอให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่สิทธิได้รับเงินที่โจทก์เลือกดำเนินการต่อพนักงานตรวจแรงงานที่จะต้องดำเนินการจนสุดสิ้นกระบวนการแต่เป็นการฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 โดยตรง เมื่อศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและดอกเบี้ยได้
ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 มานานกว่า 10 ปี โดยโจทก์มีความสัมพันธ์เป็นญาติใกล้ชิดกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 การจ่ายเงินเดือนก็ทำเพียงนำเงินสดใส่ซองมอบให้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินเดือนประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ให้โจทก์ตามกำหนดและโจทก์กับพี่ชายของจำเลยที่ 2 มีสาเหตุโกรธเคืองกันและมีเหตุการณ์ยกเลิกหนังสือมอบอำนาจ การไม่อนุญาตให้ใช้รถยนต์กระบะ การไม่ชำระค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ตลอดจนการเปลี่ยนกุญแจทางขึ้นห้องพักที่สอดรับกับการไม่จ่ายเงินเดือน แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างอีกต่อไป จึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ยกเอาบางส่วนของคำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค 8 มาแปลความว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ จึงถือว่าเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 8 เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์มิได้ฟ้องเพียงแต่ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 เท่านั้น แต่ยังได้ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยที่ 2 และมีคำขอให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่สิทธิได้รับเงินที่โจทก์เลือกดำเนินการต่อพนักงานตรวจแรงงานที่จะต้องดำเนินการจนสุดสิ้นกระบวนการแต่เป็นการฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 โดยตรง เมื่อศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและดอกเบี้ยได้
ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 มานานกว่า 10 ปี โดยโจทก์มีความสัมพันธ์เป็นญาติใกล้ชิดกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 การจ่ายเงินเดือนก็ทำเพียงนำเงินสดใส่ซองมอบให้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินเดือนประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ให้โจทก์ตามกำหนดและโจทก์กับพี่ชายของจำเลยที่ 2 มีสาเหตุโกรธเคืองกันและมีเหตุการณ์ยกเลิกหนังสือมอบอำนาจ การไม่อนุญาตให้ใช้รถยนต์กระบะ การไม่ชำระค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ตลอดจนการเปลี่ยนกุญแจทางขึ้นห้องพักที่สอดรับกับการไม่จ่ายเงินเดือน แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างอีกต่อไป จึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 2 ยกเอาบางส่วนของคำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค 8 มาแปลความว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ จึงถือว่าเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 8 เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7097/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดหากไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน จำเลยหมดสิทธิต่อสู้คดี
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จ่ายเงินค่าจ้างเป็นเงิน 50,000 บาท แก่โจทก์ แล้วจำเลยทั้งสองไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงเป็นที่สุด ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสอง บทบัญญัติดังกล่าวยังถือเป็นขั้นตอนและวิธีการนำคดีไปสู่ศาลตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย ดังนั้นจำเลยทั้งสองจึงจะดำเนินการใดในเรื่องเดียวกันนี้ในศาลแรงงานกลางอีกไม่ได้ ซึ่งรวมตลอดถึงการให้การต่อสู้คดี จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยทั้งสองไม่เคยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยทั้งสอง แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายค่าจ้างที่ค้างชำระแก่โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จึงชอบแล้ว