พบผลลัพธ์ทั้งหมด 735 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้มิได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่าจำเลยเป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์สามารถทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างตลอดมาแต่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
แม้คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อต้องการทำลายและกำจัดกรรมการลูกจ้างและคณะกรรมการสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วยคนหนึ่ง อีกทั้งได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อน
แม้คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อต้องการทำลายและกำจัดกรรมการลูกจ้างและคณะกรรมการสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วยคนหนึ่ง อีกทั้งได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนภาษีซื้อของผู้ประกอบการขายมันสำปะหลังที่ไม่จดทะเบียนขายภายในประเทศ
การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดที่มิใช่การส่งออก เป็นกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่มาตรา 81/3 (1) ให้ผู้ประกอบการดังกล่าวขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่เดือนภาษีได้ ตามมาตรา 82/3 ดังนั้น หากผู้ประกอบการ มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักรย่อมไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการดังกล่าวตามมาตรา 82/3
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะประเภทการค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดเท่านั้น มิได้จดทะเบียนขายภายในประเทศ และจำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลย เพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นการขายที่มิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์หลงเชื่อคืนภาษีคืนให้แก่จำเลย โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ยอมคืน เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักร แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและขอคืนภาษีซื้อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์คืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน จึงต้องคืนเงินภาษีดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะประเภทการค้าส่งออก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดเท่านั้น มิได้จดทะเบียนขายภายในประเทศ และจำเลยไม่เคยส่งออกผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังอัดเม็ดด้วยตนเองเลย เพียงแต่ขายให้แก่ผู้ส่งออกอีกทอดหนึ่ง จึงเป็นการขายที่มิได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 81 (1) (ก) จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยการสำแดงภาษีซื้อที่เป็นเท็จเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์หลงเชื่อคืนภาษีคืนให้แก่จำเลย โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ยอมคืน เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยมิใช่ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การขายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอัดเม็ดในราชอาณาจักร แต่จำเลยกลับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและขอคืนภาษีซื้อเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของโจทก์คืนภาษีซื้อให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิขอภาษีซื้อคืน จึงต้องคืนเงินภาษีดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าภาษีซื้อที่จำเลยนำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 คำฟ้องของโจทก์จึงมีมูลหนี้ที่แน่ชัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความเสียหายจากรถยนต์: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่า ป. ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุในฐานะส่วนตัว มิได้ซื้อแทนห้างโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ ซึ่งย่อมเป็นสิทธิที่ ป. จะจัดการทรัพย์สินของตนเองได้ หาใช่ว่าหาก ป. ลงนามในนิติกรรมหรือสัญญาใด ๆ ทั้งที่มิได้ระบุว่าทำแทนโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์แล้วจะต้องถูกผูกพันว่าเป็นการกระทำการแทนโจทก์แต่อย่างใดไม่ และการที่ ป. นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปประกันวินาศภัยไว้กับบริษัท ส. หรือนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าแล่นในเส้นทางสายเชียงใหม่ - ขอนแก่นนั้น อาจเป็นวิธีจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของ ป. ก็เป็นได้ ประกอบกับคำบรรยายฟ้องโจทก์ยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาโดยตรง โดยมิได้บรรยายว่าโจทก์ซื้อรถดังกล่าวโดยให้ ป. เป็นคู่สัญญาแทนแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญา และการคิดค่าเสียหาย
จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เป็นผู้ติดต่อหาลูกค้า เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้า โจทก์จะส่งคำสั่งซื้อของลูกค้ามายังจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองก็จะแจ้งกลับไปยังโจทก์ว่าจะส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เมื่อใด โจทก์จึงแจ้งให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อชำระราคาสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสองจัดส่งสินค้าแล้วก็จะเรียกเก็บเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ลูกค้าเปิดไว้เห็นได้ว่าลูกค้ามิได้สั่งซื้อและรับสินค้ากับชำระราคาสินค้าแก่โจทก์โดยตรง ราคาสินค้าที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้าก็คือราคาที่จำเลยทั้งสองขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยทั้งสองจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ 3 ถึง ร้อยละ 7 ของจำนวนสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อ โจทก์มิได้ขายสินค้าของจำเลยที่ 2 ในนามของตนเองจึงไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของจำเลยทั้งสอง แต่การที่จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนขายสินค้าในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกงและโจทก์ตกลงทำการดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะของสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นจึงตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทน จำเลยทั้งสองในฐานะตัวการย่อมมีสิทธิถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนเสียเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคแรก ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ขอให้เลิกสัญญาโดยไม่ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนอีกต่อไปย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและมีผลตามกฎหมายทันที ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาได้ส่วนความเสียหายอันเกิดจากการบอกเลิกสัญญาตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์นั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งไม่อาจถือว่าการที่จำเลยทั้งสองถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์เป็นข้อต่อสู้คดีร้องขัดทรัพย์ ต้องแสดงเหตุโต้แย้งสิทธิชัดเจนในคำร้อง
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 อยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 55 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ได้นั้น ผู้ร้องต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามข้ออ้างได้ การที่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริตจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวและกรณีมิใช่เรื่องที่คู่ความสามารถนำพยานเข้ามาสืบประกอบได้เองโดยไม่จำต้องกล่าวบรรยายมาในคำร้องดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่ทำการไต่สวนจึงชอบแล้ว
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอไว้ไต่สวนต่อไปนั้น เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอไว้ไต่สวนต่อไปนั้น เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คโดยชอบ ผู้มีหน้าที่ชำระหนี้ และการเล่นแชร์ที่ไม่ผิดกฎหมาย
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาด้วยมูลหนี้ใด ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะพึงนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ไม่เป็นเหตุให้คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุม ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนโดยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ หรือสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่ ป. หัวหน้าวงแชร์เพื่อมอบแก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ ซึ่งถือว่าเช็คพิพาทนั้นมีมูลหนี้ต่อกันแล้วเมื่อโจทก์ได้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือไว้ในครอบครองไม่ว่าจะเป็นโดย ป. ส่งมอบให้เพื่อชำระค่าแชร์ หรือโจทก์รับมาจากจำเลยโดยตรงก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 การที่ต่อมานายวงแชร์หนีและแชร์วงนี้ล้ม โจทก์ย่อมหมดโอกาสที่จะประมูลแชร์ได้ต่อไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ที่ต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ได้ทันทีเมื่อวงแชร์ล้ม ดังนั้น ตั้งแต่วันที่แชร์วงนี้ล้ม โจทก์ชอบที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทและนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เพราะโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คพิพาทถือว่าเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989
การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงกันระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์จึงหาใช่มีมูลหนี้ที่ขัดต่อกฎหมายไม่ ส่วนการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้นมีการรับเงินและผู้กู้ยืมเงินตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการประมูลจ่ายผลตอบแทนดังเช่นการเล่นแชร์ ทั้งการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนก็เป็นกรณีที่กำหนดดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนไว้แน่นอน ซึ่งอาจมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ เมื่อการเล่นแชร์วงนี้เป็นการประมูลผลประโยชน์ที่จะให้แก่สมาชิกลูกวงแชร์ด้วยกันที่มีจำนวนมากหรือน้อยตามความต้องการของผู้ประมูลจึงไม่อยู่ในข่ายเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ทั้งในทางนำสืบของจำเลยก็รับว่าเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ก็จะสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่ ป. นายวงแชร์ซึ่งมิใช่นิติบุคคลการเล่นแชร์วงนี้จึงหาขัดต่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ ไม่
จำเลยซึ่งเป็นผู้ประมูลแชร์ไปได้แล้วมีหน้าที่ผูกพันตามข้อตกลงต้องส่งเงินคืนโดยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ หรือสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่ ป. หัวหน้าวงแชร์เพื่อมอบแก่ผู้ที่ยังประมูลไม่ได้ ซึ่งถือว่าเช็คพิพาทนั้นมีมูลหนี้ต่อกันแล้วเมื่อโจทก์ได้เช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือไว้ในครอบครองไม่ว่าจะเป็นโดย ป. ส่งมอบให้เพื่อชำระค่าแชร์ หรือโจทก์รับมาจากจำเลยโดยตรงก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 การที่ต่อมานายวงแชร์หนีและแชร์วงนี้ล้ม โจทก์ย่อมหมดโอกาสที่จะประมูลแชร์ได้ต่อไป โจทก์จึงชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ที่ต้องส่งคืนให้แก่โจทก์ได้ทันทีเมื่อวงแชร์ล้ม ดังนั้น ตั้งแต่วันที่แชร์วงนี้ล้ม โจทก์ชอบที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทและนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ เพราะโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คพิพาทถือว่าเป็นวันที่ถูกต้องแท้จริง เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้จำเลยผู้สั่งจ่ายจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989
การเล่นแชร์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งอันเกิดจากการตกลงกันระหว่างสมาชิกผู้เล่นซึ่งมีผลผูกพันและบังคับได้ตามกฎหมาย การชำระหนี้ค่าแชร์จึงหาใช่มีมูลหนี้ที่ขัดต่อกฎหมายไม่ ส่วนการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้นมีการรับเงินและผู้กู้ยืมเงินตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีการประมูลจ่ายผลตอบแทนดังเช่นการเล่นแชร์ ทั้งการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนก็เป็นกรณีที่กำหนดดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนไว้แน่นอน ซึ่งอาจมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ เมื่อการเล่นแชร์วงนี้เป็นการประมูลผลประโยชน์ที่จะให้แก่สมาชิกลูกวงแชร์ด้วยกันที่มีจำนวนมากหรือน้อยตามความต้องการของผู้ประมูลจึงไม่อยู่ในข่ายเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ทั้งในทางนำสืบของจำเลยก็รับว่าเมื่อจำเลยประมูลแชร์ได้ก็จะสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่ ป. นายวงแชร์ซึ่งมิใช่นิติบุคคลการเล่นแชร์วงนี้จึงหาขัดต่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญาเช่าและภารจำยอม: ศาลฎีกาชี้ว่าการถูกโต้แย้งสิทธิจากคดีภารจำยอมทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
จำเลยรับรองต่อโจทก์ที่ 1 ผู้เช่าที่ดินว่า ที่ดินที่ให้เช่าไม่มีภาระผูกพัน แต่ต่อมาโจทก์ที่ 1 และจำเลยถูกฟ้องให้เปิดทางภารจำยอม และศาลมีคำสั่งให้รื้อรั้วที่ปิดทางผ่านเข้าออก ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้ที่ดินที่เช่าถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องนำสืบต่อไปในชั้นพิจารณา โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้อง
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะที่ดินที่เช่าถูกบุคคลภายนอกฟ้องว่าตกอยู่ในภารจำยอม ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ซึ่งผิดจากคำรับรองของจำเลย ปัญหาที่ว่าที่ดินที่เช่าตกอยู่ในภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงไปสู่การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีอื่นให้รื้อรั้วกั้นทางเดินออกจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น นับว่าทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดว่าที่ดินที่เช่ามีภาระผูกพันจริง ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า กรณีต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อของศาลในคดีดังกล่าวนั้นเอง จึงมีเหตุสมควรที่ต้องเลื่อนการพิจารณาต่อไปจนกว่าจะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 วรรคหนึ่ง
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะที่ดินที่เช่าถูกบุคคลภายนอกฟ้องว่าตกอยู่ในภารจำยอม ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ซึ่งผิดจากคำรับรองของจำเลย ปัญหาที่ว่าที่ดินที่เช่าตกอยู่ในภารจำยอมหรือไม่จึงเป็นประเด็นโดยตรงไปสู่การวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ และการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีอื่นให้รื้อรั้วกั้นทางเดินออกจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นนั้น นับว่าทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่อาจใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งยังไม่ถึงที่สุดว่าที่ดินที่เช่ามีภาระผูกพันจริง ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า กรณีต้องอาศัยทั้งหมดหรือแต่บางส่วนซึ่งคำชี้ขาดตัดสินบางข้อของศาลในคดีดังกล่าวนั้นเอง จึงมีเหตุสมควรที่ต้องเลื่อนการพิจารณาต่อไปจนกว่าจะได้มีการพิพากษาหรือชี้ขาดในข้อนั้น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 39 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทการขนส่งทางทะเล: หน้าที่การออก/ส่งมอบใบตราส่ง และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปส่งให้แก่ผู้ซื้อสินค้าที่ท่าเรือเมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงเป็นการว่าจ้างให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งแห่งใดในราชอาณาจักรไปยังที่อีก แห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องนำ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาทคดีนี้มาใช้บังคับตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว ทั้ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้บัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ส่งของและผู้ขนส่งไว้ โดยเฉพาะ มาตรา 12 ได้บัญญัติไว้ว่า เมื่อผู้ขนส่งได้รับของไว้ในความดูแลแล้ว ถ้าผู้ส่งของเรียกเอาใบตราส่งผู้ขนส่งต้องออกให้ ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมส่งมอบใบตราส่งหรือโจทก์ไม่ยอมมารับใบตราส่งจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับหน้าที่ระหว่างผู้ขนส่งกับผู้ส่งของว่าผู้ใดเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่ พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 บัญญัติไว้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าของโจทก์ทางเรือจากท่าเรือกรุงเทพไปยังท่าเรือเมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมมอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถรับสินค้าหรือโอนสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ ต้องเสียค่าเก็บของในคลังสินค้า จนต่อมารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ค่าเก็บของในคลังสินค้านั้น เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งและเกิดความเสียหายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลได้ ส่วนการนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วหรือไม่ หรือขายแล้วได้เงินเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดที่จะนำมาพิจารณาต่อไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าของโจทก์ทางเรือจากท่าเรือกรุงเทพไปยังท่าเรือเมืองนิวเจอร์ซี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมมอบใบตราส่งให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยไม่สามารถรับสินค้าหรือโอนสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ ต้องเสียค่าเก็บของในคลังสินค้า จนต่อมารัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ค่าเก็บของในคลังสินค้านั้น เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งและเกิดความเสียหายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลได้ ส่วนการนำสินค้าของโจทก์ออกขายทอดตลาดแล้วหรือไม่ หรือขายแล้วได้เงินเท่าใด เป็นข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดที่จะนำมาพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้มีการระบุชื่อโจทก์ผิดในคำขอท้ายฟ้อง หากจำเลยยังเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้
คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุถึงตัวบุคคลซึ่งเป็นโจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องไว้โดยแจ้งชัดว่า คือ ธ. มิใช่ธนาคารและบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาว่า เป็นเรื่องกู้ยืมเงินโดยโจทก์เป็นผู้ให้จำเลยกู้เงินไปและกล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นว่า จำเลยไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนโจทก์จึงมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง และจำเลยทราบดีอยู่ว่าโจทก์มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดามิใช่เป็นนิติบุคคลมาแต่ต้น การที่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีคำว่าธนาคารโจทก์อยู่ด้วยเป็นเพียงการพิมพ์ผิดพลาดไป ไม่ทำให้จำเลยถึงกับไม่เข้าใจคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8382/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุด ฟ้องบังคับได้แม้พ้น 30 วัน ไม่ใช่การเพิกถอนคำสั่ง
พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จำเลยทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว โจทก์และจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานจึงถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานแก่โจทก์ เมื่อจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้แม้จะเกินระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเพราะ มิใช่เป็นการฟ้องเพื่อเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แต่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งไม่อยู่ในกำหนดเวลาที่จะต้องฟ้องภายใน 30 วัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย เงินประกัน ค่าชดเชย และค่าจ้างที่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตาม คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ถึงที่สุด ทั้งโจทก์ได้แนบสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานมาท้ายคำฟ้องด้วยแล้ว สภาพแห่งข้อหาของโจทก์มีว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทั้งสี่ประเภทนั้นตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานถึงที่สุดแล้วตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสอง เพราะจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงต้อง จ่ายเงินทั้งสี่ประเภทให้โจทก์ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยจ่ายเงินทั้งสี่ประเภทพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โจทก์ไม่จำต้องบรรยายถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละเท่าใด ตั้งแต่ช่วงเวลาใดถึงช่วงเวลาใดมาในฟ้อง