คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 735 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัทเอกชนจำกัดเป็นมหาชนจำกัด, อายุความ, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อโจทก์แปรสภาพจากบริษัทเอกชนจำกัดเดิมมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โจทก์ย่อมต้องรับโอนไปซึ่งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ และความรับผิดต่าง ๆ จากบริษัทเอกชนเดิมทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 185 จึงเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย มิใช่การโอนสิทธิเรียกร้องโดยนิติกรรมระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนในอันที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
เมื่อสำเนาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต เลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความปรากฏชัดว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชนิดเพิกถอนไม่ได้ภายในประเทศเพื่อประโยชน์แก่บริษัท ย. ในการซื้อสินค้าจากบริษัท ย. พอเข้าใจได้ว่า บริษัท บ. ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตต่อธนาคารโจทก์เพื่อซื้อสินค้าใด โจทก์จ่ายสินค้าใด ให้ผู้ใด และเป็นเงินจำนวนเท่าใด และที่จำเลยที่ 2 สามารถให้การต่อสู้คดีได้นั้น แสดงว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งพอให้จำเลยที่ 2 ได้เข้าใจข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หนังสือชำระหนี้แทน ที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนบริษัท บ. ไม่มีข้อความตอนใดอาจแปลไปได้เลยว่าจะให้หนี้เดิมของบริษัท บ. ระงับไป จึงเป็นเพียงสัญญาที่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ซึ่งยอมชำระหนี้แทนบริษัท บ. เท่านั้น มิใช่การแปลงหนี้ใหม่ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัท บ. ย่อมไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ส่วนในเรื่องอายุความ หากจำเลยไม่ได้ตั้งประเด็นในเรื่องอายุความไว้ โจทก์ย่อมไม่จำเป็นต้องนำสืบ และการที่อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้เช่นนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้สำหรับการใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ยังไม่เกินกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสินค้าที่สำแดงต่ำกว่าราคาตลาดและมีการประเมินราคาใหม่โดยใช้ดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดีตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาดจึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่นน้ำหนัก 17,847 กิโลกรัม สำแดงราคา ซีแอนด์เอฟ47,959ดอลลาร์สหรัฐซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคาหรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัมจึงคิดเป็นเงิน 0.91 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล. นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อสำแดงน้ำหนักและราคาต่ำกว่าความเป็นจริง และคดีไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดี ตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาด จึงมีอายุความ10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่า สินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่น น้ำหนัก 17,847 กิโลกรัมสำแดงราคา ซี แอนด์ เอฟ 47,959 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคา หรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัมเมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา 2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัม จึงคิดเป็นเงิน 0.91ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล.นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7206/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: พิจารณาผลกำไรที่สูญเสียไป ไม่ใช่ราคาขายรวมต้นทุน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยการทำซ้ำ โฆษณาและนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายทางการค้า จึงเท่ากับโจทก์อ้างว่า การกระทำของจำเลยซึ่งทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายนั้นประกอบด้วยการทำซ้ำและการนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแต่เพียงในปัญหาว่าการกระทำซ้ำของจำเลยต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายหรือไม่ จึงยังไม่ถูกต้อง ต้องวินิจฉัยด้วยว่าการที่จำเลยนำออกจำหน่ายเพื่อการค้าซึ่งเทปเพลงของกลางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายทางการค้าหรือไม่
ความเสียหายจากการขาดรายได้ที่โจทก์จะได้รับเมื่อจำเลยกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการนำเทปเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์โจทก์ออกจำหน่าย ย่อมเป็นความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียโอกาสที่จะได้รับผลกำไรจากการนำงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนออกจำหน่ายเท่านั้น หาใช่ความเสียหายที่คิดคำนวณจากราคาจำหน่ายเทปเพลงแต่ละม้วนซึ่งได้รวมต้นทุนการผลิตเอาไว้ด้วยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความดอกเบี้ย, การฟ้องเคลือบคลุม, และการหักล้างหนี้: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องดอกเบี้ยไม่ขาดอายุความหากมีการชำระเงินต้น
โจทก์บรรยายฟ้องระบุหนี้เงินต้นและหนี้ดอกเบี้ยตามสัญญากู้ 2 ฉบับรวมกันมาและเอกสารท้ายฟ้องก็ไม่ได้แยกหนี้ตามสัญญากู้แต่ละฉบับออกจากกัน จำเลยที่ 5 ผู้ค้ำประกันสัญญากู้ฉบับเดียวย่อมไม่ทราบว่าหนี้ที่ตนต้องรับผิดมีเพียงใด ฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 5 จึงเคลือบคลุม โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินบัญชีเงินฝากกระแสรายวันโดยใช้เช็คเมื่อใด เป็นเงินเท่าใด มีการชำระเงินเข้าบัญชีเมื่อใด คิดดอกเบี้ยในอัตราใดและมิได้แนบบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องมาด้วย เพียงบรรยายว่ายอดหนี้ถึงวันสิ้นสุดบัญชีจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม เป็นเพียงรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ หนี้เงินต้นกับหนี้ดอกเบี้ยตามสัญญาฉบับเดียวกันถือเป็นหนี้รายเดียวกัน หากมีการฟ้องร้องก็ต้องฟ้องรวมกันมา ไม่อาจแยกเป็นหนี้เงินต้นคดีหนึ่งและหนี้ดอกเบี้ยอีกคดีหนึ่งการที่ลูกหนี้ชำระหนี้โดยระบุว่าเป็นการชำระเงินต้นย่อมมีผลให้สิทธิเรียกร้องในหนี้ดอกเบี้ยยังไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ดอกเบี้ยตามที่โจทก์ฟ้องจึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องภารจำยอมได้ และสิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภารจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ส. กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภารจำยอมไปแล้ว แม้ ส. กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภารจำยอมของ ส. กับโจทก์ได้ โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส. ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วย ย่อม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนด เลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง 10 ปี แม้ยังมิได้จดทะเบียน ผู้ซื้อที่ดินต้องยอมรับสิทธิเดิม
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภาระจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4133/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรมธรรม์ประกันภัยไม่สิ้นผลแม้โอนสิทธิเช่าซื้อรถยนต์, การฟ้องต้องอาศัยเหตุตามที่กล่าวอ้าง
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น จำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยรถยนต์กับจำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. ผู้ให้เช่าซื้อ บริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ การที่จำเลยที่ 1 เพียงโอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แก่ ส.กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังคงเป็นของบริษัทง. ผู้ให้เช่าซื้อ กรณีมิใช่เป็นการที่ผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้บุคคลอื่น กรมธรรม์ประกันภัย จึงไม่สิ้นผลบังคับ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้กับจำเลยที่ 3 ส.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยส. เป็นหุ้นส่วนประกอบการค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 ส. และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์ และ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดของ ส. และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยแต่คำฟ้องมิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเพราะเหตุที่ ส. ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัย คำฟ้องของโจทก์จึงอ้างเหตุที่จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในเหตุละเมิดด้วยเท่านั้น ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 3 ก็ย่อมไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1ผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่โจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบแต่อย่างใดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์สินขณะทำสัญญา ฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตามแต่ผู้ให้เช่าซื้อก็อาจปฏิบัติการชำระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อได้ หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งจะต้องรับผิดต่อไปดังนั้น ในขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่นั้นไม่ทำให้ความสมบูรณ์แห่งสัญญาเช่าซื้อเสียไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกันไม่อาจเข้าใจได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59(1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฟ้องเคลือบคลุมทำให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็ตาม แต่ผู้ให้เช่าซื้อก็อาจปฏิบัติการชำระหนี้ในส่วนที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อชำระเงินค่าเช่าซื้อครบแล้วอันเป็นส่วนสำคัญของสัญญาเช่าซื้อให้เป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อได้ หรือหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาซึ่งจะต้องรับผิดต่อไป ดังนั้นในขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่ ไม่ทำให้ความสมบูรณ์แห่งสัญญาเช่าซื้อเสียไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 4 เป็นต้นมา ตามคำฟ้องดังกล่าวสาระสำคัญอยู่ที่ว่าทำสัญญากันเมื่อใด และจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด อันเป็นมูลเหตุที่ทำให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยทั้งสองรับผิด เมื่อโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในระหว่างที่สัญญายังไม่เกิด จึงเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมขัดกัน ไม่อาจเข้าใจได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดในมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ แต่จำเลยที่ 2 ได้ให้การในเรื่องนี้ไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าทำโดยจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะมิใช่เป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความร่วมคนหนึ่งกระทำไปเป็นที่เสื่อมเสียแก่คู่ความร่วมคนอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงต้องถือว่าฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เคลือบคลุมด้วย
of 74